#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดเป็นบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17 - 20 มี.ค. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย หลังจากนั้นในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและจะมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 17 ? 20 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูและสุขภาพเนื่องจากอากาศที่ร้อนไว้ด้วย ส่วนในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
หนุ่มเตือนสายแคมป์! ห้ามนำเก้าอี้-สิ่งแปลกปลอมลงไปในลำน้ำ เหตุผิดกฎอุทยานแห่งชาติ ชายหนุ่มโพสต์เตือนเหล่าสายแคมป์ ที่รักการท่องเที่ยวธรรมชาติ และอุทยานแห่งชาติต่างๆ ที่มักนิยมนำเก้าอี้-สิ่งแปลกปลอมลงไปในลำน้ำเพื่อถ่ายภาพ โดยเผยว่าตนเองได้ถูกตักเตือนจากเจ้าหน้าที่เนื่องจากเป็นการผิดกฎของอุทยานแห่งชาติ วันนี้ (16 มี.ค.) เฟซบุ๊ก "Atip Thamniyom" ได้โพสต์เหล่าสายแคมป์ปิ้ง ลงกลุ่ม ?จุดกางเต็นท์? โดยตนเองนั้นได้เดินทางไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และได้ถ่ายภาพที่เป็นกระแสนิยมของนักกางเต็นท์ ที่มักนำเก้าอี้ลงไปวางกลางลำน้ำและถ่ายภาพ ซึ่งระบุว่ามีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ โดยเผยว่า "แจ้งเตือน โดนมากับตัว ต่อไปจะถ่ายรูปแบบนี้ที่เขาใหญ่ไม่ได้และเอามาโพสต์ลงโซเชียลฯ" โดยทางอุทยานฯ ได้ตักเตือนมาเป็นข้อความว่า "เรียนชี้แจง หากบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ 62 มาตรา 19(5) หรือวงเล็บอื่นๆ การกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอุทยานก็ผิดหมดครับ ไม่ว่าจะเป็นเล่นน้ำ จอดรถถ่ายรูปในทาง หรือกิจกรรมอื่นๆ แต่ก็มีมาตรา 20 ที่หากเจ้าหน้าที่อนุญาติหรือเป็นคำสั่งเจ้าหน้าที่ ก็จะสามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ลานกางเต็นท์ลำตะคอง ทางอุทยานเห็นว่าพื้นที่สายน้ำลำตะคลองตื้นสามาตรที่จะเล่นน้ำได้ จึงอนุโลมให้ลงเล่นน้ำได้ อาศัยตามมาตรา 20 แต่มิอนุญาตให้นำสิ่งแปลกปลอมลงไปในลำน้ำ ตามภาพที่ท่านโพสต์มา มีการนำสิ่งของลงไปวางในลำน้ำ และเผยแพร่สาธารณะ อันนี้ผิด เพราะหากมีพฤติกรรมการเรียนแบบจากความเข้าใจผิดก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียกำลังมาควบคุมดูแลอีก การตักเตือน หรือท้วงติงเพียงแค่อยากให้นักท่องเที่ยวร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎอุทยาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย หากท่านเห็นนักท่องเที่ยวทำผิดกฎอุทยาน ตามที่ท่านโพสต์มาหลายๆภาพสามารถแจ้ง เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวได้ทางเขาใหญ่ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านช่วยเป็นหูเป็นตาครับ จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อแลกเปลี่ยน" https://mgronline.com/onlinesection/.../9640000025417
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
กรุงนิวเดลีครองแชมป์เมืองหลวงอากาศแย่สุดในโลกปี63 ไอคิวแอร์เผยรายงานคุณภาพอากาศทั่วโลก พบหลายสิบประเทศมีระดับค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่อันตรายถึงชีวิตในปี 2563 สูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แม้มีการล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ก็ตาม กรุงนิวเดลีของอินเดียครองอันดับ 1 เมืองหลวงมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก ส่วน กทม.ติดอันดับ 35 หมอกควันปกคลุมกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2563 (Photo by Sanjeev Verma/Hindustan Times via Getty Images) ไอคิวแอร์ กลุ่มวัดคุณภาพอากาศจากสวิตเซอร์แลนด์ เผยรายงานคุณภาพอากาศในเมืองต่างๆ ทั่วโลกในปี 2563 ว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกล็อกดาวน์เต็มรูปแบบหรือบางส่วน ส่งผลให้ระดับเฉลี่ยของค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดลง โดยในกรุงปักกิ่งค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลดลง 11%, นครชิคาโกลดลง 13%, กรุงนิวเดลีลดลง 15%, กรุงลอนดอนและกรุงโซลลดลงเท่ากัน 16% รายงานคุณภาพอากาศโลก 2563 ของไอคิวแอร์ที่รวบรวมข้อมูลจากเมืองใหญ่ใน 106 ประเทศทั่วโลก ชี้ด้วยว่า อันดับเมืองที่มีมลภาวะสูงสุด 50 อันดับนั้น มีเมืองจากอินเดียติดอยู่ถึง 35 เมืองในปีที่่ผ่านมา แต่อย่างน้อย 60% ของเมืองต่างๆ ทั่วอินเดียมีสภาพอากาศที่หายใจได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 และทุกเมืองมีสภาพอากาศที่สะอาดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 แต่รายงานฉบับนี้ระบุว่า มีเพียง 24 ประเทศ จาก 106 ประเทศ ที่จากการตรวจสอบคุณภาพอากาศพบว่ามีคุณภาพอากาศปลอดภัยตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ในปี 2563 จีนและหลายชาติในเอเชียใต้เผชิญกับฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ในบางภูมิภาคของประเทศเหล่านี้มีค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 สูงกว่าคำแนะนำ 6-8 เท่า บังกลาเทศ, ปากีสถาน, อินเดีย, มองโกเลีย และอัฟกานิสถาน เป็นประเทศที่ติดอันดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ปี 2563 สูงสุด โดยมีค่าพีเอ็ม 2.5 ระหว่าง 77-47 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับอันดับของเมืองหลวง กรุงนิวเดลีครองอันดับ 1 เมืองหลวงที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุด มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ทั้งปีสูงถึง 84.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยใน 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 2.กรุงธากาของบังกลาเทศ (77.1), อันดับ 3. กรุงอูลานบาตอร์ของมองโกเลีย (46.6), อันดับ 4. กรุงคาบูลของอัฟกานิสถาน (46.5) และอันดับ 5. กรุงโดฮาของกาตาร์ (44.3) ส่วนกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของไทยติดอันดับ 35 มีค่าเฉลี่ยพีเอ็ม 2.5 ที่ 20.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยทั้งปีไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร. https://www.thaipost.net/main/detail/96276
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|