#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (21 มี.ค. 64) และจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่รวมถึงฟ้าผ่า โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนตามลำดับ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 22 - 25 มี.ค. 64 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 - 22 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิจะลดลง โดยอากาศจะช่วยคลายความร้อนลงได้ ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. 64 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอุณภูมิสูงขึ้น สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. 64 ข้อควรระวัง ในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมทั้งฟ้าผ่าไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร สำหรับชาวเรือในบริเวณอ่าวไทยขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. 64 ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 21 - 22 มีนาคม 2564)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า โดยจะมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ตามลำดับ จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 21 มีนาคม 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 22 มีนาคม 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 21-03-2021 เมื่อ 03:15 |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
จุดความร้อน กลับมาแล้ว คราวนี้ พีคขึ้นเท่าตัว จาก600 พรวดเดียวเป็นพันกว่าจุดทั่วประเทศ วันที่ 20 มีนาคม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เปิดเผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 พบจุดความร้อนทั้งประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,001 จุด และภาคเหนือยังเป็นพื้นที่ที่มีจุดความร้อนมากที่สุด วานนี้สูงมากถึง จำนวน 624 จุด ซึ่งมี 3 จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ได้แก่ #แม่ฮ่องสอน 196 จุด #เชียงใหม่ 86 จุด และ #เพชรบูรณ์ 63 จุด ตามลำดับ ภาพรวมทั้งประเทศของจุดความร้อนที่เกิดขึ้นยังคงเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตร ตามลำดับ สำหรับจุดความร้อนประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา แชมป์ยังคงเป็นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ที่มีจุดความร้อนสูงมาก สูงถึง 8,153 จุด รองลงมาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2,902 จุด และประเทศไทยตามลำดับ ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดใกล้เคียงที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองและหมอกควัน ที่ลอยข้ามแดนเข้ามาได้ โดยเฉพาะทางพื้นที่ทางภาคเหนือ ที่พบเห็นกลุ่มของจุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างหนาแน่น ประกอบกับทิศทางลมที่พัดมาจากทางฝั่งตะวันตกและทางใต้ อาจส่งผลให้ฝุ่นละอองสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_2632387
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
"วราวุธ" สั่งลุยจัดการเดินท่องเที่ยวใต้ทะเลพัทยา จับปะการัง สัตว์ทะเลเล่น "วราวุธ" สั่งลุยจัดการเดินท่องเที่ยวใต้ทะเลพัทยา จับปะการัง สัตว์ทะเลเล่น กำชับ"กรมทะเล" เร่งหารือเมืองพัทยาสร้างมาตรการ Sea walker 20 มี.ค.64 กรณีมีการโพสต์ข้อความผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีนักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมเดินใต้ทะเล หรือ Sea Walker โดยมีไกด์นำเที่ยวใต้ทะเล บริเวณเกาะล้าน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และได้จับปะการังและสัตว์ทะเลขึ้นมาเล่น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งเร่งติดตามและดำเนินการตามกฎหมายทันที เนื่องจาก กิจกรรมเดินใต้ทะเลจะต้องขอใบอนุญาตก่อน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการรายใด นอกจากนี้ ได้มอบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หารือแนวทางร่วมกับเมืองพัทยาในการกำหนดพื้นที่ตลอดจนมาตรการและเงื่อนไขการออกใบอนุญาตสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเดินใต้ทะเล และไกด์นำเที่ยว เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก อีกทั้งจะได้เป็นมาตรฐานในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ต่อไป นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตนได้เห็นภาพนักท่องเที่ยวทำกิจกรรมการเดินใต้ทะเล หรือ Sea Walker โดยมีไกด์นำเที่ยวใต้ทะเล บริเวณเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี และได้จับปะการังและสัตว์ทะเลขึ้นมาเล่นโชว์ต่อหน้ากล้อง โดยมีไกด์นำเที่ยวเป็นคนชี้นำและหยิบยื่นให้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ทั้งไม่มีใบอนุญาตดำเนินการทำกิจกรรมเดินใต้ทะเล และการจับปะการัง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง นอกจากนี้ การจับสัตว์ทะเลขึ้นมาเล่น บางชนิดเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหวและอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้จับหรือสัมผัสได้ สำหรับเรื่องนี้ ตนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ซึ่งได้มอบให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการหาแนวทางการจัดระบบการอนุญาตและจัดการให้เป็นมาตรฐาน และให้หารือกับนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ในการกำหนดแนวทางการจัดการเรื่องนี้ และหากพ้นวิกฤติการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 เริ่มมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น อาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะถูกทำลายจนไม่อาจจะฟื้นคืนได้ "การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ พื้นฐานในการอนุรักษ์อย่าอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพราะอย่างน้อย เราต้องรู้จักเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หากท่องเที่ยวกันอย่างขาดจิตสำนึกเช่นนี้ ในไม่ช้าเมืองพัทยา จะไม่เหลืออะไรให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชม และนั่นคือหายนะที่จะมาเยือนกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน" นายวราวุธ กล่าวยืนยัน ในกรณีนี้ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (19 มีนาคม 2564) ตนได้มอบหมายให้นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 สนธิกำลังร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (จ.ชลบุรี) ปฏิบัติการตรวจจับกุมเรือนำเที่ยวทางทะเลชื่อ ธ.ป๊อบอาย นำนักท่องเที่ยวจำนวน 20 ราย เดินท่องเที่ยวใต้ทะเลบริเวณอ่าวทองหลาง เกาะล้าน เมืองพัทยา จ. ชลบุรี โดยไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการกิจกรรมเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล ซึ่งมีความผิดตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563ในการห้ามกระทำการประกอบกิจการเรือภัตตาคาร เรือสถานบริการ หรือการเดินท่องเที่ยวใต้ทะเลโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงนำผู้ต้องหาจำนวน 4 คน พร้อมของกลางเรือชื่อ ธ.ป๊อบอาย โดยมีนายเรืองชัย วงค์จำปา เป็นผู้ควบคุมเรือ และอุปกรณ์เดินเที่ยวใต้ทะเล จำนวน 8 ชุด ส่งพนักงานสอบสวน สภ. เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป นอกจากนี้ ตนจะได้เข้าพบหารือกับนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรฐานของบริษัทนำเที่ยวใต้ทะเลและไกด์นำเที่ยว ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็น กรมฯ จะใช้อำนาจแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันในเบื้องต้น ก่อนจะมีมาตรการทางกฎหมายอื่นๆรองรับ อธิบดีกรมฯ ทช.กล่าว https://www.komchadluek.net/news/regional/461608
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
พายุทรายที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเกี่ยวข้องกับวิกฤตสภาพูมิอากาศหรือไม่ ช่วงเช้าของวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงปักกิ่งตื่นมาพร้อมกับท้องฟ้าที่กลายเป็นสีส้มอันเนื่องมาจากกระแสลมแรงพัดพาพายุทรายขนาดใหญ่ที่มาจากมองโกเลีย พายุทรายได้ทำให้ระดับมลพิษทางอากาศพุ่งสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตอนเหนือของจีน เกาหลี และบางพื้นที่ของญี่ปุ่น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนบอกว่าพายุทรายนี้เป็น "พายุทรายที่ใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ" พายุฝุ่น (หรือพายุทราย) ปกคลุมทั่วปักกิ่งและทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก 6 ชีวิตที่มลายและอีกร้อยที่สูญหาย หน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของมองโกเลียรายงานว่าพายุทรายได้คร่าชีวิตคนไป 6 คน ส่วนในจีนสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ณ วันที่ 15 มีนาคม มีผู้สูญหายอย่างน้อย 341 คน พายุทรายในปักกิ่งได้ก่อให้เกิดทัศนวิสัยต่ำ ยอดตึกระฟ้าซ่อนอยู่ในหมอกควัน ผู้คนที่สัญจรไปมาตามท้องถนน และคนที่ขี่จักรยานต้องสวมหน้ากากและอุปกรณ์สวมศีรษะชั่วคราวเพื่อป้องกันใบหน้าของพวกเขาจากทรายที่กระโชกแรง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ความเข้มข้นของฝุ่น PM10 ในปักกิ่งมีค่าสูงกว่า 8,100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (สำหรับบริบทแนวปฏิบัติด้านคุณภาพอากาศของสหรัฐอเมริกาถือว่าระดับระหว่าง 0 ถึง 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอยู่ในระดับ" ดี" และ 55 ถึง 154 อยู่ในระดับ "ปานกลาง" การสัมผัสมลพิษทางอากาศไม่มีในระดับที่ปลอดภัย) ไกลออกไปทางตะวันตก ณ เมือง เจี่ยยู่กวน มณฑลกานซู ค่า PM10 มีค่าสูงถึง 9,985 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือเกือบ 40 เท่าซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ ?มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก? หลายเที่ยวบินต้องถูกยกเลิกและถูกสั่งห้ามบินเนื่องจากทัศนวิสัยต่ำ โรงเรียนถูกสั่งให้ยกเลิกกิจกรรมกลางแจ้งทั้งหมด และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้รับคำแนะนำว่าให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย พายุทรายเกิดขึ้นได้อย่างไร? 3 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดพายุทรายคือ 1) ขนาดความใหญ่ของพื้นที่ทราย 2) ระดับความแรงของลม และ 3) สภาพบรรยากาศที่สามารถพัดพาทรายไปในอากาศ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งกว่าเดิม กอปรกับอุณหภูมิที่พุ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ถึง 8 องศาเซลเซียสในมองโกเลีย ทำให้ฝุ่นและทรายสามารถฟุ้งกระจายได้แรงกว่าเดิม นอกจากนี้ พายุไซโคลนที่เกิดขึ้นในมองโกเลียได้นำแรงลมระดับ 6 ถึง 8 ไปยังพื้นที่ทางตอนเหนือของจีนซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การเกิดพายุทราย ยิ่งไปกว่านั้นการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานและการกดกร่อนของดินทางตอนใต้ของมองโกเลียทำให้มลพิษทางอากาศมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงพายุทรายที่เกิดในมองโกเลียถูกลมพัดพาไปบริเวณเอเชียตะวันออกและตก พายุทรายเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่? ดร. Liu Junyan นักรณรงค์ด้านสภาพอากาศและพลังงานของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก กล่าวว่า "แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ความถี่ของพายุทรายในมองโกเลียก็เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ระหว่างปีพ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ.2558 อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในมองโกเลียเพิ่มขึ้น 2.24 องศาเซลเซียสซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2558 ทุ่งหญ้าในมองโกเลียประสบกับความแห้งแล้งมากขึ้นเมื่อเทียบกับสองทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและปริมาณน้ำฝนที่ลดลง การแทะเล็มหญ้าของสัตว์ที่มากเกินไปยิ่งซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นของทุ่งหญ้า เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น สภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การก่อตัวของพายุทรายจึงเกิดขึ้นบ่อยขึ้น ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังพายุทรายพัดถล่มในปักกิ่ง เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนทางที่ดีและยั่งยืนที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือเราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับโลกลงให้มากที่สุด จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ปล่อยก๊าซคาร์บอนถึงหนึ่งในสามของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกในปี พ.ศ. 2561 ในฐานะผู้ปล่อยก๊าซที่ใหญ่ที่สุดสามแห่งในเอเชียตะวันออก ล่าสุดเมื่อปี 2563 ทั้งสามประเทศให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ มุ่งไปสู่ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Nuetral) 100% แต่ ณ ปัจจุบัน แผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของทั้งสามประเทศยังไม่มีออกมาให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง กรีนพีซจึงเรียกร้องให้ทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีพัฒนาแผนงานรูปธรรมในระยะยาวขึ้นมา ว่าทำอย่างไรที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ รวมถึงกรอบเวลาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100% กิจกรรมฉายแสงข้อความรณรงค์ยุติถ่านหินในกรุงโซล เกาหลี กรีนพีซในปักกิ่งได้รณรงค์ประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานมานานกว่าทศวรรษ ล่าสุดเราได้ป้องกันไม่ให้พันธบัตร "การเงินสีเขียว" หลายล้านดอลลาร์ไปลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนกรีนพีซ เกาหลีมีการพูดคุย เสนอแนวทาง และทางออกอย่างยั่งยืนกับนักการเมืองคนสำคัญ และท้ายสุดกรีนพีซ ญี่ปุ่น ได้รณรงค์ต่อต้านการแสดงจุดยืนสนับสนุนถ่านหินของรัฐบาลที่งาน World Economic Forum ในเมืองดาวอสเพื่อเรียกร้องให้สถาบันการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่นยุติการระดมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ คุณคือพลังอันสำคัญที่สามารถร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ กรีนพีซได้สร้างความตระหนักแก่สาธารณชนเกี่ยวกับวิกฤตสภาพอากาศผ่านโซเชียลมีเดียและกิจกรรมต่าง ๆ เสียงของประชาชนสามารถผลักดันให้รัฐบาลและองค์กรที่ก่อมลพิษได้รับรู้ความจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้พลังของเราสามารถผลักดันให้รัฐบาลเลิกสนับสนุนถ่านหิน และพร้อมเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ปลอดภัย https://www.greenpeace.org/thailand/...oss-east-asia/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
ซากฟอสซิลยืนยัน "ฉลามมีปีก" บินร่อนในทะเลได้เหมือนกระเบนราหู เมื่อ 93 ล้านปีก่อน ภาพจำลอง "ฉลามมีปีก" Aquilolamna milarcae ที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ ทีมนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติจากฝรั่งเศส เยอรมนี และเม็กซิโก เผยผลวิเคราะห์ซากฟอสซิลของ "ฉลามมีปีก" อายุเก่าแก่ 93 ล้านปี ในวารสาร Science โดยชี้ว่าเป็นฉลามรูปร่างประหลาดที่ไร้กระโดงหรือครีบหลัง แต่กลับมีครีบด้านข้างลำตัวที่ยาวและกว้างคล้ายปีกเครื่องบิน สามารถใช้ร่อนเหมือนกับบินในน้ำทะเลเช่นเดียวกับกระเบนราหูได้ ฉลามโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วดังกล่าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aquilolamna milarcae มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสที่ไดโนเสาร์ครองโลก ก่อนที่กระเบนราหูซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดของฉลามจะถือกำเนิดขึ้นมาหลายสิบล้านปี ฉลามมีปีกชนิดนี้เป็นฉลามที่กรองกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนกับฉลามวาฬ อาศัยอยู่ในบริเวณ Western Interior Seaway ซึ่งเป็นช่องที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นทางน้ำเชื่อมต่ออ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรอาร์กติกในยุคโบราณ มีการค้นพบฟอสซิลนี้เมื่อปี 2012 ในเหมืองหินทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก โดยพบว่าครีบด้านข้างที่คล้ายปีกนกนั้น เมื่อกางออกเต็มที่จะมีความยาวจากปลายข้างหนึ่งไปจรดอีกข้างหนึ่งเกือบ 2 เมตร ในขณะที่ลำตัวมีความยาว 1.65 เมตร ทำให้มันเป็นสัตว์ที่มีความกว้างของลำตัวมากกว่าความยาว นอกจากนี้มันยังมีส่วนหัวสั้น จมูกสั้น แต่มีปากกว้างอีกด้วย ซากฟอสซิลเก่าแก่ 93 ล้านปี ซึ่งจะนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศเม็กซิโก ฉลามและกระเบนราหูจัดเป็นสัตว์จำพวก Elasmobranch หรือปลากระดูกอ่อนเหมือนกัน ทั้งยังกรองกินแพลงก์ตอนเช่นเดียวกันอีกด้วย แต่การที่ฉลามมีปีกมีอายุเก่าแก่กว่าและมีครีบด้านข้างขนาดใหญ่เหมือนกระเบนราหูนั้น ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นบรรพบุรุษของกระเบนราหูแต่อย่างใด แต่เป็นวิวัฒนาการแบบเบี่ยงเบนเข้าหากัน (Convergent evolution) หรือการที่สัตว์ต่างชนิดพัฒนาโครงสร้างแบบเดียวกันขึ้นมาโดยแยกกันมีวิวัฒนาการแบบเป็นอิสระจากกัน ทีมผู้วิจัยคาดว่าฉลามมีปีกน่าจะว่ายน้ำได้ค่อนข้างช้าและไม่ใช่นักล่าที่น่ากลัว โดยมันจะใช้ครีบด้านข้างที่ทั้งกว้างและยาวช่วยทรงตัวขณะร่อนไปในน้ำเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยครีบหางที่แข็งแกร่งตวัดไปมาทางซ้ายและขวา รวมทั้งใช้ลำตัวรูปทรงตอร์ปิโดช่วยในการว่ายไปข้างหน้ามากกว่า แม้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าฉลามมีปีกสูญพันธุ์ไปเนื่องจากสาเหตุใด แต่ทีมผู้วิจัยคาดว่าอาจเป็นสาเหตุเดียวกับที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ซึ่งก็คือหายนะจากอุกกาบาตขนาดยักษ์ที่พุ่งชนโลก โดยผลพวงจากการชนปะทะที่ทำให้เกิดแรงระเบิดมหาศาลและอุณหภูมิสูง เปลี่ยนผิวหน้าของน้ำทะเลให้เป็นกรดอย่างแรง จนแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารของฉลามมีปีกตายไปจนหมด https://www.bbc.com/thai/international-56452643
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|