#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2564 สำหรับความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนหลายพื้นที่และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น (ตามรายละเอียดประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 3 (59/2564) ) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 2 เม.ย. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเป็นบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า โดยจะเริ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 ? 3 เม.ย. 64 ภาคใต้ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 02 เมษายน 2564 ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 3 เมษายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ในช่วงวันที่ 4 - 6 เมษายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวัน อนึ่ง ในวันที่ 2 เมษายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฟิลิปปินส์โวย พบสิ่งปลูกสร้างผิดกฎหมาย บนเกาะพิพาทในทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์ไม่พอใจอย่างหนัก หลังเจอสิ่งปลูกสร้างปริศนาที่กลุ่มแนวปะการังในทะเลจีนใต้ ระบุเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ชี้เป้าว่าเป็นฝีมือใคร สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า กองทัพของประเทศฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดีที่ 1 เม.ย. 2564 ระบุว่า พวกเขาพบสิ่งปลูกสร้างผิดกฎหมายที่ "ยูเนียน แบงก์" (Union Bank) ซึ่งเป็นกลุ่มแนวปะการังในทะเลจีนใต้ และอยู่ใกล้กับจุดที่ฟิลิปปินส์ระบุว่า พบเรือของกองทัพจีนเดินทางผ่านในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถูกพบระหว่างการออกลาดตระเวนทางทะเลของกองทัพฟิลิปปินส์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยที่ฟิลิปปินส์ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่พบที่แน่ชัด และไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าใครเป็นผู้สร้างสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ บอกเพียงว่าการมีอยู่ของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ "สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย" พลโท ซิริลิโต โซเบชานา เสนาธิการกองทัพฟิลิปปินส์ระบุในแถลงการณ์ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (Law of the Sea) มอบสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวอย่างไม่อาจโต้แย้งเหนือพื้นที่ดังกล่าวแก่ฟิลิปปินส์ การก่อสร้างเหล่านี้และกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นการสร้างความเสียหายต่อความสงบ, ความเรียบร้อย และความมั่นคงในน่านน้ำของเรา" ทั้งนี้ ในกลุ่มแนวปะการัง ยูเนียน แบงก์ มีแนวปะการังหนึ่งชื่อว่า 'วิตซัน รีฟ' หรือชาวฟิลิปปินส์เรียกว่า 'จูเลียน เฟลิเป รีฟ' เป็นพื้นที่พิพาทที่แดนตากาล็อกแย่งสิทธิ์ความเป็นเจ้าของกับจีน โดยในปัจจุบันแนวปะการังนี้ถูกยอมรับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของฟิลิปปินส์ และในปี 2559 ศาลสหประชาชาติเคยปฏิเสธคำกล่าวอ้างของจีน ที่อ้างเป็นเจ้าของพื้นที่เกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ แม้ว่าจีนจะไม่ยอมรับคำตัดสินก็ตาม วิตซัน รีฟ ยังเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสแปรตลี โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนเคยถมแนวปะการังหลายแห่งในหมู่เกาะแห่งนี้เพื่อสร้างเกาะเทียม รวมทั้งแนวปะการัง มิสชีฟ ที่อยู่ใกล้เคียงกันด้วย https://www.thairath.co.th/news/foreign/2061885
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
กรมประมงประกาศปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน คุ้มครองปลามีไข่ กระบี่ - คุ้มครองปลามีไข่ กรมประมงประกาศปิดทะเลอันดามัน คืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ประจำปี 2564 ดีเดย์ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2564 เวลา 09.30 น.วันนี้ (1 เม.ย.) ที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ นายเกียรติศักดิ์ เกษมพันธุ์กุล รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีประกาศปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน และปล่อยเรือตรวจการณ์ออกลาดตระเวนกวดขันการทำประมงผิดกฎหมาย ตามมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนฝั่งทะเลอันดามันประจำปี 2564 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนที่กรมประมงได้มีการประกาศใช้มาอย่างยาวนานกว่า 36 ปี (เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2528) โดยมีการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยจากผลการศึกษาทางวิชาการยืนยันว่า มาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามันในปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกันที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์สูงและพบสัตว์น้ำวัยอ่อนมีความชุกชุมและแพร่กระจายหนาแน่น โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคมที่มีความหนาแน่นสัตว์น้ำสูงสุด (690 ตัว/10 ตร.ม.) และยังพบสัตว์น้ำ วัยอ่อนขนาดเล็กมากขึ้นด้วย จากสถิติผลจับสัตว์น้ำทั้งหมดจากฝั่งทะเลอันดามัน สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 207,236 ตันใน ปี 2560 เป็น 290,035 ตันใน ปี 2563 และจากการติดตามเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่อนุญาตให้ทำประมงในพื้นที่มาตรการฯ ได้ เช่น อวนกุ้ง และอวนปู พบว่ามีการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในขนาดที่เหมาะสม สำหรับการปิดอ่าวดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตามประกาศ นอกจากนี้ ยังกำหนดชนิดของเครื่องมือประมง วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขที่สามารถทำการประมงในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ ดังนี้ 1.เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และต้องทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง 2.เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ทำการประมงเฉพาะในเวลากลางวัน และต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 3.เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวน ตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวน ไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 4.เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก 5.เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 6.ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 7.ลอบหมึกทุกชนิด 8.ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง 9.คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน (หน่วย) ต่อเรือกล 1 ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2560 10.อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 11.จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น 12.เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง 13.การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงอื่นใด โดยเครื่องมือที่ใช้ประกอบต้องไม่เป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ.2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และต้องไม่เป็นเครื่องอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) และต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ถูกห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมงและพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ.2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 https://mgronline.com/south/detail/9640000031171
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
"เขาตะปู" แลนด์มาร์กพังงาเสี่ยงถล่ม ลงสำรวจ เม.ย.-พ.ค.นี้ ครั้งแรก! กรมทรัพยากรธรณี เตรียมเข้าสำรวจความเสี่ยงเขาตะปู หรือเกาะเจมบอนส์ จ.พังงา แหล่งท่องเที่ยวดังเสี่ยงถล่ม ชี้ต้องการหาคำตอบอัตราเร่งจากการกัดเซาะ และโครงสร้างธรณีวิทยาเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ ห่วงซ้ำรอยเกาะทะลุ จ.กระบี่ที่เพิ่งถล่ม ต.ค.63 วันนี้ (1 เม.ย.2564) นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ กรณีการเตรียมเข้าสำรวจข้อมูลทางธรณีวิทยาเขาตะปู หรือเกาะเจมบอนส์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพังงา จ.พังงา ว่า หลังเกิดเหตุการณ์หินถล่มเกาะหินปูนทางภาคใต้ ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และอันดามันหลายจุด ทำให้นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณีติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเกาะแก่งส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นเขาหินปูน ซึ่งเป็นหินตะกอนเนื้อประสาน จึงผุกร่อนง่าย ประกอบกับเขาหินปูนในทะเลมีเรื่องการกัดเซาะคลื่นเป็นปัจจัยสำคัญอาจจะผุสลายง่ายนอกจากนี้มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกสูง ทำให้หินแตกเยอะ และอิทธิพลทางใต้มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนระนอง และคลองมะรุ่ย ซึ่งการเคลื่อนตัวส่งผลให้หินมีรอยแตก จึงมีรอยแตกเยอะ "ช่วงปลายปีหลังจากมีมรสุมเข้า หินปูนแถวภาคใต้แตกเยอะ และบริเวณรอยแตกรับน้ำหนักไมไหว และพังถล่มลงมา จึงเสี่ยงภัยดินถล่มเพราะมีประชาชน นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยว" ลงสำรวจความเสี่ยงถล่มเขาตะปู ช่วงเม.ย-พ.ค.นี้ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า โดยหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายสำคัญคือ เขาตะปู หรือเกาะเจมบอนส์ ซึ่งเป็นแลนมาร์กของการท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งพบว่าตัวเขาตะปู จะมีขนาดใหญ่ แต่ฐานรากที่อยู่ในทะเลจะกิ่วลง พบมีโอกาสได้รับผลกระทบสูงที่อาจจะถล่มลงมาได้ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นกรมทรัพยากรธรณี จะร่วมกับนักวิชาการลงพื้นที่สำรวจในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงปิดการท่องเที่ยวช่วงมรสุมของภาคใต้ เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟู "เขาตะปู มีความชันเป็นหน้าผาสูง ส่วนฐานรากที่ติดกับน้ำทะเล ถูกกัดกร่อนโดยคลื่นลม ถือเป็นจุดเสี่ยงภัยดินถล่ม อาจมีผลกระทบต่อชีวิตประชาชนและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ " นายมนตรี กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่เตรียมเข้าไปสำรวจและศึกษาเขาตะปูอย่างเป็นทางการ โดยจะดูโครงสร้างรอยแตกรอยแยก และศึกษาอัตราเร่งการกัดกร่อนว่าใช้เวลานานแค่ไหน โดยจะใช้ข้อมูลปัจจัยน้ำทะเลกัดเซาะ เช่น หากกัดเซาะเฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรต่อปี ก็จะคำนวณเรื่องการรับน้ำหนักของฐานรากของเขาตะปูว่ารับน้ำหนักสูงสุดเท่าไหร่ รวมทั้งจะเข้าเก็บหินปูนมาทดสอบทางธรณีวิทยาด้วย "จะเข้าเก็บข้อมูลพื้นฐาน เพื่อจะมีคำตอบกับทางสาธารณะเรื่องปัจจัยเสี่ยงถล่ม เพื่อวางแผนการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งตอนนี้ยังคงบอกว่าเป็นการเฝ้าระวังและเป็นห่วง แต่ยังไม่ถึงขั้นห้ามการท่องเที่ยว เพราะตัวเขาตะปูอยู่ในทะเล ส่วนนักท่องเที่ยวถ่ายรูปอยู่บนบกไมได้เข้าไปใกล้" เมื่อถามว่าความเสี่ยงของเขาพิงกันในบริเวณใกล้กัน รองธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า เขาพิงกันไม่น่าห่วง เพราะตัวเขาอีกฝั่งหนึ่งพัง และมาเกยกันอยู่ ต่างกับกรณีที่เกาะทะลุ ที่ถล่มลงมาต้องกันพื้นที่เพราะยังยังไม่รู้ว่ามีการเคลื่อนตัวอีกหรือไม่ ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี ที่ไหนเคยเกิดเหตุเขาหินปูนถล่มบ้าง? ในช่วงปี 2563-2564 พบการพังถล่มของเขาหินปูนในหลายพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล จากอิทธิของพายุ การผุกร่อน เช่น วันที่ 19 ก.ย.2563 พายุโนอึลสร้างความเสียหาย "หินปูน" เกาะหินแตกถล่มลงในทะเลเป็นบริเวณกว้าง ร้อยละ 15-20 ของพื้นที่เกาะ? เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี ได้แจ้งเตือนประชาชนห้ามเข้าใกล้พื้นที่ การตรวจสอบคาดว่า เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินและชั้นดินที่ถูกกัดเซาะจากสถานการณ์ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง วันที่ 18 ต.ค.2563 หินขนาดใหญ่พังถล่มลงมาบริเวณเกาะทะลุ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ห่างจากฝั่งตะวันตกของเกาะไก่ ประมาณ 1 กิโลเมตร โดยหินที่ถล่มลงมาแตกเป็น 2 ก้อน น้ำหนักประมาณ 30,000-50,000 ตัน หลังเกิดคลื่นลมแรง วันที่ 21 ก.พ.2564 เกิดเหตุหินถล่มบริเวณปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล จนต้องปิดแหล่งท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าวเป็นการชั่วคราว https://news.thaipbs.or.th/content/302971
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|