#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวัน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง (ตามรายละเอียดประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดุร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 11 (67/2564)) สำหรับทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 6 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่มีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า โดยจะเริ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้ลมตะวันออกพัดปกคลุมทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบถึงวันที่ 3-6 เมษายน 2564)" ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 04 เมษายน 2564 ในช่วงวันที่ 4-6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งระวังอันตรายจากฟ้าผ่าในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อนไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 4 เมษายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 5 เมษายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 6 เมษายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาตตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
พบแม่เต่าตนุ รีบคลานขึ้นวางไข่ชายหาดศูนย์ฝึกทร. คาดปวดท้องทนไม่ไหว พบแม่เต่าตนุ ตัวใหญ่ คลานขึ้นขุดหลุมวางไข่ ปลายหาดแหลมขาม ศูนย์ฝึกทหารใหม่ของทร. ที่บางเสร่ ชลบุรี คาดปวดท้องมากทนไม่ไหว รีบไข่รีบกลบแล้วคลานลงทะเล นับได้ 116 ฟอง นำไปเพาะฟักที่ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล คาด 1-2 สัปดาห์ แม่เต่าตัวเดิมจะขึ้นวางไข่อีก วันที่ 3 เม.ย. น.อ.ไพบูลย์ ม้วนทอง ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล กองทัพเรือ (ศอพต.ทร.) ได้รับแจ้งว่าพบแม่เต่าตนุขนาดใหญ่กำลังวางไข่ บริเวณปลายหาดแหลมขาม ชายหาดศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จึงมอบหมายให้ ร.อ.มโนมัย ทุมมณี เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล กองทัพเรือ นำเจ้าหน้าที่เดินทางมายังพื้นที่ที่ได้รับแจ้ง พบแม่เต่าตนุ น้ำหนักประมาณ 200 กก. ยาวประมาณ 1 เมตร กำลังวางไข่อยู่บริเวณชายหาด หลังวางไข่เสร็จ แม่เต่าได้ใช้เท้าทั้งสองข้างด้านหน้าคุ้ยทรายเพื่อฝังกลบไข่เต่าและใช้หน้าอกตบทรายให้แน่น ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก่อนคลานลงสู่ท้องทะเล ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง หลังจากแม่เต่าตนุคลานลงสู่ท้องทะเลแล้ว เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล กองทัพเรือ (ศอพต.ทร.) ที่มีความเชี่ยวชาญ ได้เข้าเก็บไข่เต่านับได้จำนวน 116 ฟอง นำมาเพาะฟัก ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธ์ุเต่าทะเล กองทัพเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ต่อไป จากการสอบถาม ร.อ.มโนมัย ทุมมณี เผยว่า แม่เต่าคงอั้นไม่ไหวจึงคลานขึ้นมาเพื่อวางไข่ ซึ่งตามหลักวิชาการแล้ว แม่เต่าจะขึ้นวางไข่นั้น จะต้องอยู่ห่างจากชายหาดไม่ต่ำกว่า 10 เมตร จากเหนือแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด เพื่อให้ธรรมชาติดูแล โดยไม่ให้น้ำท่วมรังไข่ที่มาฟัก ซึ่งน่าจะเป็นการวางไข่ครั้งแรก และอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ตามธรรมชาติแล้ว แม่เต่าจะต้องขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง ณ ที่เดิมแห่งนี้ เนื่องจากใน 1 ฤดูกาล แม่เต่าสามารถวางไข่ได้ 3-5 ครั้ง แม่เต่าสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ได้ค่อนข้างมาก ทิ้งระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ก็จะกลับขึ้นมาวางไข่อีก ซึ่งก็แปลกใจเพราะตามปกติแล้วแม่เต่าจะขึ้นวางไข่ ณ จุดเดิมที่เกิด เพราะจำแหล่งกำเนิดที่เขาเกิดได้ตาม เกาะต่าง ๆ "แต่แม่เต่าตัวนี้ทราบจากเจ้าหน้าที่ สาเหตุที่ขึ้นมาวางไข่ที่บริเวณชายหาดแห่งนี้ น่าจะเกิดจากการอั้นไม่ไหวแล้ว จึงได้ขึ้นมาวางไข่ ซึ่งตามปกติแล้วแม่เต่าจะเลือกพื้นทรายที่ละเอียดและมีความชุ่มของน้ำ แต่แม่เต่าตัวนี้ คลานขึ้นมาได้ไม่เท่าไรก็ขุดหลุมวางไข่เลย ตอนนี้คงต้องเฝ้าระวังประมาณ 1-2 สัปดาห์ แม่เต่าตัวเดิมคงขึ้นมาวางไข่อีกแน่นอน" https://www.thairath.co.th/news/local/east/2062980
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
วราวุธดำน้ำเกาะล้านจัดระเบียบเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล ชลบุรี-"วราวุธ"รมว.ทส.ลงพื้นที่เกาะล้านดำน้ำสำรวจแนวปะการังวางแผนจัดระเบียบเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เมืองพัทยา ลงพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้านเพื่อตรวจดูสภาพด้านการท่องเที่ยวและการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หลังพบกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเมืองพัทยาจัดกิจกรรมเดินท่องเที่ยวใต้ทะเล หรือ Sea Walker มีการจับปะการัง และสัตว์ทะเลขึ้นมาถ่ายภาพ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม2564 โดยมี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา นายวุฒิศักดิ์ สิงหเดโช นายอำเภอบางละมุง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำคณะตรวจเยี่ยม นอกจากการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียบนชุมชนบ้านเกาะล้านและการจัดการปัญหาขยะแล้วนายวราวุธได้เดินทางออกไปยังพื้นที่บริเวณอ่าวรอบนอก เพื่อดำน้ำดูสภาพแนวปะการังใต้ทะเล และการจัดกิจกรรม Sea Walker ว่ามีความสมบูรณ์ หรือเกิดความเสียหายจากการประกอบธุรกิจมากน้อยเพียงใด นายวราวุธ เปิดเผยว่าพื้นที่เกาะล้านถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองพัทยาและประเทศจากสถิติพบว่าก่อนปัญหาโควิด-19 เกาะล้านจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาพักผ่อนกว่า 5 ล้านคน/ปี กรณีของการประกอบกิจการ Sea Walkerได้เน้นย้ำให้ทุกฝ่ายมองเห็นทรัพยากรทางทะเลสำคัญกว่าเรื่องของรายได้จากการท่องเที่ยว พร้อมกำชับให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการอย่างจริงจัง รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการออกใบอนุญาตให้กับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวด้วย. https://www.posttoday.com/social/local/649592
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|