#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 7 เมษายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 6 - 7 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 เม.ย. 64 บริเวณความกต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 เมษายน 2564)" ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 06 เมษายน 2564 พายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า เกิดขึ้นได้น้อยลง แต่ยังคงมีผลกระทบในภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"หอยชักตีน" กำลังแย่แห่จับกิน-ขาย ทำราคาดี เร่งเพาะขยายพันธุ์ พังงา - หวั่นหอยชักตีนหมดจากทะเลอันดามัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา เพาะพันธุ์หอยชักตีนปล่อยสู่ธรรมชาติ พร้อมถ่ายทอดความรู้ และขายลูกพันธุ์ให้ผู้สนใจ หอยชักตีน หรือหอยสังข์กระโดด ซึ่งเป็นอาหารทะเลที่ขึ้นชื่อของพื้นที่จังหวัดอันดามัน เป็นหนึ่งในเมนูอาหารทะเลจานเด็ดชูโรง ที่ได้รับความนิยมทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ทำให้มีการจับหอยชักตีนจากธรรมชาติจำนวนมาก ปัจจุบันสถานการณ์หอยชักตีนได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์จำนวนมาก ทั้งหอยขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เริ่มขาดแคลนพันธุ์หอยที่จะเจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และมีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา จึงได้ศึกษาวิจัยเพาะเลี้ยงหอยชักตีนขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางฉันทนา แก้วตาปี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์หอยชักตีนน่าเป็นห่วงเนื่องจากหอยชักตีนจากธรรมชาติถูกจับจำนวนมาก ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ หอยชักตีนอาจจะหมดไปจากทะเลอันดามันได้ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากหอยชนิดนี้อย่างยั่งยืนต่อไป ทางศูนย์ฯ จะนำพ่อพันธ์แม่พันธุ์หอยชักตีน ขนาดสมบูรณ์มาจากธรรมชาติ จากนั้นนำมาเลี้ยงจนวางไข่ หลังฟักตัวจะนำลูกหอยชักตีนมาอนุบาลให้ลูกหอยกินพวกนิดเชียร์ หรือแพลงก์ตอนที่ได้จากน้ำเลี้ยงปลาทะเล หรือเต่าทะเลภายในศูนย์ เมื่อลูกหอยอายุ 45 วัน จะมีขนาดราว 1 เซนติเมตร ถือเป็นขนาดเหมาะสมสำหรับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรนำไปเลี้ยงต่อ ในราคาตัวละ 1 บาท ขณะที่บางส่วน ศพช.พังงา ก็จะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติด้วย ส่วนหอยชักตีนที่ศูนย์ฯ ทำการเลี้ยงต่อหลัง 45 วัน จะนำไปเลี้ยงในบ่อสาธิต เริ่มให้ลูกหอยกินอาหารกุ้ง ที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนราว 30-40% ประมาณ 6 เดือน หอยชักตีนก็จะโตขนาดประมาณ 5 ซม. เกษตรกรสามารถนำผลผลิตออกจำหน่ายได้ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-150 บาท ตกราว 48-50 ตัว ต่อกิโลกรัม แต่สำหรับ ศพช.พังงา เมื่อหอยโตได้ขนาดก็จะนำมาเพาะพันธุ์ต่อ เพราะบางช่วงพ่อแม่พันธุ์หอยชักตีนจากธรรมชาติค่อนข้างหายาก สำหรับผู้ที่สนใจพันธุ์หอยชักตีน ติดต่อได้ที่ ศพช.พังงา 06-5048-7015 หรือ 08-9039-1852 https://mgronline.com/south/detail/9640000032695
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|