#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 13 เมษายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 13 - 15 เม.ย. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 ? 17 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
นักวิจัยหวังทำแบบสร้างที่ดีขึ้น ในการอนุรักษ์ปลาและระบบนิเวศทางน้ำ ภาพ Credit : Dalhousie University การทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อชุมชนปลาอย่างไร เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างหลักประกันด้านอาหารและความมั่นคงในการดำรงชีวิตในทุกที่ที่ผู้คนต้องพึ่งพาสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาตามแนวปะการัง จัดเป็นแหล่งอาหารและรายได้หลักของผู้คนหลายร้อยล้านคน ดร.แมทธิว แมคลีน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดัลเฮาซี ในแคนาดา ซึ่งเติบโตในวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ที่ล้อมรอบด้วยทะเลสาบ แม่น้ำ และตัวเขาก็สนใจและมุ่งศึกษาเรื่องการปกป้องแนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ ทั่วโลกมายาวนาน ต่อมาก็ทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นและริเริ่มการอนุรักษ์ ล่าสุด เขาได้รายงานลงในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ถึงการศึกษาชุมชนปลาโดยดูลักษณะต่างๆ เช่น ขนาดร่างกาย พฤติกรรม ที่อยู่อาศัย และอาหารของปลาที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แล้วเปรียบเทียบกับลักษณะที่พบในชุมชนปลาอื่นๆทั่วโลกตั้งแต่นอร์เวย์จนถึงชิลีตอนใต้ เขาค้นพบว่าลักษณะของปลาบางกลุ่ม ก็มีอยู่คล้ายคลึงกันในทุกมหาสมุทรทั่วโลก ไม่ว่าพวกมันจะอยู่ในสภาพแวดล้อมใดก็ตาม การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าปลาชนิดใดบ้างที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อม นั่นบ่งชี้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำมากขึ้นว่าสภาวะอากาศร้อนในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อชุมชนปลาทั่วโลกอย่างไร ซึ่งนักอนุรักษ์อาจสามารถใช้กลยุทธ์ปรับปรุงความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนปลาในแนวปะการัง รวมถึงปรับปรุงวิธีการปกป้องปลาเหล่านั้นให้ดีขึ้นในพื้นที่ต่างๆของโลกเช่นกัน. https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
"ปลาไหลริบบิ้น" เปลี่ยนสี เปลี่ยนเพศตามวัย ปลาไหลริบบิ้น ตอนเด็กๆ พวกมันจะมีสีดำไม่มีเพศที่แน่นอน แต่พอเป็นวัยรุ่นมันจะกลายเป็นเพศผู้มีสีฟ้า และเมื่อโตเต็มวัยก็จะกลายเป็นเพศเมียสีเหลืองตลอดทั้งตัว https://www.mcot.net/view/omJErzFa
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|