#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว และคาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในวันนี้ (16 เมษายน 2564) ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ในช่วงวันที่ 16 - 19 เม.ย. 64 ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนต่อเนื่องกันมาหลายวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 - 19 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลาง ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนต่อเนื่องกันหลายวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีลมตะวันตกพัดปกคลุมทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 ? 18 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ผลกระทบของเปลือกโลกจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน มีการวิจัยก่อนหน้านี้ได้สำรวจประวัติศาสตร์ภูมิอากาศและธรณีวิทยาของภูมิภาคบนเปลือกโลกอย่างกว้างขวาง ทว่าระยะเวลาและรูปแบบเชิงพื้นที่ของการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลกก็ยังไม่ได้มีการตรวจสอบด้วยความแม่นยำเพียงพอที่จะดึงความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุที่ชัดเจนระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกระบวนการสร้างเทือกเขา แม้ว่าจะมีหลักฐานทางทฤษฎีสนับสนุนอิทธิพลของการกัดกร่อนจากสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลต่อการสร้างภูเขา และข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริงก็ยังขาดอยู่ ล่าสุด ทีมวิจัยกลุ่ม Garc?a Morabito et al. นำเสนอข้อมูลใหม่ที่สนับสนุนข้อเสนอแนะเชิงทฤษฎี เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลกที่เทือกเขาแอนดีสในภูมิภาคปาตาโกเนีย จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลภาคสนามที่มุ่งเน้นไปยังแอ่งหน้าดินที่อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส นักวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ที่ทำให้พื้นผิวโลกเปลี่ยนไปจนสร้างเทือกเขา การกัดกร่อนที่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นหรือธารน้ำแข็ง อาจทำให้โครงสร้างของเทือกเขาเปลี่ยนแปลงไปจนถึงระดับที่อยู่ภายใน ส่งผลให้เปลี่ยนวิธีการสร้างภูมิประเทศ เมื่อรวมกับข้อมูลที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้ ข้อสังเกตใหม่ชี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในอดีตของภูมิภาคดังกล่าว ว่าช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนลักษณะและการยกระดับที่กระจายตัวไป ดูเหมือนจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 13-7 ล้านปีก่อน จากนั้นการเปลี่ยนลักษณะก็ลดลงในพื้นที่ใกล้เคียงพร้อมกับการเริ่มต้นขึ้นของธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอนดีส. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2069263
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ช่วยชีวิตเต่าตนุขนาดใหญ่ติดอวนปลาของชาวประมงพื้นบ้านนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช - ชาวประมงพื้นบ้านนครศรีธรรมราช ช่วยชีวิตเต่าตนุขนาดใหญ่ หลังมาติดกับอวนปลากระพงขาวของชาวบ้าน วันนี้ (15 เม.ย.) เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากฝั่งอ่าวไทย รับแจ้งจากชาวประมงพื้นบ้านในท้องที่หมู่ 3 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ว่า พบเต่าตนุขนาดใหญ่มาติดกับอวนปลากะพงขาวของชาวประมง ในขณะทำประมงอยู่บริเวณหน้าหาดในท้องที่หมู่ 3 โดยหลังจากเข้าตรวจสอบพบว่า เป็นเต่าตนุขนาดใหญ่ ไม่ทราบเพศ น้ำหนักประมาณ 50 กก. ได้ถูกช่วยเหลือนำขึ้นฝั่งมาแล้ว มีสภาพบาดเจ็บเล็กน้อยจากร่องรอยของอวนบาดบริเวณครีบขาหลัง นายไฝสอน นิยมเดชา ชาวประมงพื้นบ้าน ระบุว่า ช่วงหลังเที่ยงคืนได้มาวางอวนปลากะพงขาวที่หน้าหาด หลังจากนั้นในช่วงเช้าได้เขาตรวจสอบเพื่อเก็บสัตว์น้ำที่ได้ ปรากฏว่า พบเต่าขนาดใหญ่ติดอยู่ในอวนจึงช่วยเหลือนำขึ้นฝั่งและแจ้งให้เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก โดยขณะนี้ได้นำเต่าไปพักฟื้นในอ่างของธนาคารปูม้า ท้องที่หมู่ 3 ต.หน้าสตน เพื่อรอเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง เพื่อมาตรวจสอบข้อมูลไมโครชิป ตรวจดูอาการป่วยหรือบาดเจ็บ และจะได้ปล่อยกลับคืนทะเลต่อไป https://mgronline.com/south/detail/9640000035871
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|