#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามันทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 พ.ค. 64 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 13 - 17 พ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ระมัดระวังจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"พระมหากรุณาธิคุณต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน" ทำให้วันนี้ระบบนิเวศป่าสมดุลอย่างยั่งยืน หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ทรัพยากรป่าชายเลนอันสมบูรณ์ของประเทศไทยในวันนี้ เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าชายเลนที่มีความสำคัญ และคุณค่าอันมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.2564) วันป่าชายเลนแห่งชาติ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าว ณ บริเวณสวนจิตรลดา ความตอนหนึ่งว่า "...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นโกงกาง เป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป..." เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ในการทรงงาน ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระชนกนาถ เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันป่าชายเลนแห่งชาติ" ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ อันแสดงถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสมาดำเนินงาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอันได้แก่ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ปลูกป่าชายเลน และฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศให้ยังคงความสมบูรณ์ และฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมให้คงความสมบูรณ์ดังเดิม ซึ่งการดำเนินงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิทักษ์ รักษา และฟื้นฟูเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เนื่องในวันป่าชายเลนแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2564 รัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ช่วยกันอนุรักษ์ ดูแล ป้องกันรักษา และปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนให้คงความอุดมสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อให้ป่าชายเลนได้เอื้อประโยชน์ สร้างความสุข สร้างรายได้ ให้พี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืนตลอดไป และขอเชิญร่วมกันปลูกป่าชายเลน โดยติดต่อขอรับกล้าไม้ป่าชายเลนฟรี ได้ที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1-10 และศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนทั่วประเทศ ถามว่า..ระบบนิเวศป่าชายเลนสำคัญอย่างไร ป่าชายเลน (mangrove forest หรือ intertidal forest) หมายถึง กลุ่มสังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดที่ไม่ผลัดใบหรือมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี (evergreen species) มีลักษณะทางสรีระและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora) เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (Tropical) และกึ่งร้อน (Subtropical) ของโลกประกอบด้วยสังคมพืชและสัตว์หลากชนิด ซึ่งดำรงชีวิตร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลนน้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ป่าชายเลนจึงพบได้ในบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ และรอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เราจึงเรียก ป่าชายเลนว่า "ป่าโกงกาง" ได้อีกชื่อหนึ่งตามพันธุ์ไม้สำคัญและพบเป็นจำนวนมาก นั่นคือ ไม้โกงกาง "ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (tropical region) และกึ่งร้อน (subtropical region) เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันตัวเองจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่ง ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (food chain) ของมวลมนุษย์ชาติอย่างยั่งยืนนั่นเอง" https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000045076
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
สุดฮือฮา! นทท.เจอปลาทะเลน้ำลึก สุดหายากเกยตื้นตายปริศนาริมหาด ชาวเน็ตทั่วโลกสุดฮือฮา หลังนักท่องเที่ยวพบ 'ปลาประหลาด' จากทะเลน้ำลึกกว่า 1,000 เมตร สุดหายากเกยตื้นตายปริศนาริมหาดสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Davey?s Locker Sportfishing & Whale Watching ได้เปิดเผยภาพสุดฮือฮาของ 'สัตว์ทะเลน้ำลึก' ที่มีหน้าตาสุดประหลาด ซึ่งมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร โดยซากของสัตว์ทะเลน้ำลึกชนิดนี้นั้นถูกพบเกยตื้นบริเวณชายฝั่งอุทยาน คริสตัล โคฟ สเตท ปาร์ค รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยนักท่องเที่ยวรายหนึ่ง สัตว์ทะเลน้ำลึกหน้าตาประหลาดนี้ถูกระบุว่าเป็น 'ปลาฟุตบอลแปซิฟิก' เป็นหนึ่งในกว่าสามร้อยสายพันธุ์ของ 'ปลาตกเบ็ด' โดยปกติปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกมากกว่า 1,000 เมตรใต้ผิวน้ำ ซึ่งแม้แต่แสงแดดเองก็ยังไม่สามารถส่องถึงได้ ถึงแม้ว่าปลาตัวนี้จะไม่ได้มีจำนวนน้อย แต่ก็ไม่ง่ายที่จะพบเห็นตัวพวกมันได้ โดยเฉพาะบนหาดทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซากของปลาฟุตบอลแปซิฟิกที่พบในครั้งนี้ ถือว่าเป็นซากที่สมบูรณ์มาก และยังคงซึ่งรายละเอียดทุกอย่างไว้ได้อย่างชัดเจน โดยสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดของปลาชนิดนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น 'อวัยวะพิเศษ' ที่มีลักษณะคล้ายคันเบ็ด ที่ยื่นออกมาจากหัว และที่ส่วนปลายของเบ็ดนี้สามารถเรืองแสงออกมาได้ เพื่อล่อเหยื่อให้มาติดกับนั่นเอง โดยการเรืองแสงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อปลาชนิดนี้ต้องการล่าเหยื่อก็จะกระตุ้นให้แบคทีเรียเรืองแสง และอีกสิ่งที่น่าประหลาดนั่นก็คือขนาดของ 'ปาก' ที่ใหญ่กว่าปกติ นั่นก็เพราะพวกมันสามารถขยายขนาดของกรามและกระเพาะอาหารได้ และกระดูกของปลาชนิดนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้พวกมันสามารถกินอาหารที่ใหญ่กว่าตัวเองได้แบบสบาย ๆ และภายในปากยังมีฟันที่แหลมคมมาก เพื่อป้องกันการหลบหนีของเหยื่ออีกด้วย แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นนั่นก็คือ 'การขยายพันธุ์' ของพวกมัน ด้วยขนาดที่แตกต่างกัน โดยเพศเมียนั้นจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเพศผู้มาก ทำให้เวลาผสมพันธุ์นั้นเพศผู้นั้นจะใช้ฟันเกาะติดเพศเมีย แล้วผสานตัวของมันเข้ากับร่างกายของเพศเมีย โดยจะสลายดวงตาและอวัยวะภายในจนเหลือแต่อวัยวะสืบพันธุ์ และเมื่อเพศเมียวางไข่ เพศผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมทันที อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จากคริสตัลโคฟสเตทปาร์ค ได้ออกมาเปิดเผยว่าในตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมปลาทะเลน้ำลึก ถึงได้ขึ้นมาเกยตื่นอยู่ในบริเวณชายหาดดังกล่าวในสภาพที่สมบูรณ์มากขนาดนี้ ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือว่าเกิดขึ้นได้ยากมาก และจะมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6391014
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
ชาวบ้านจับ "จักจั่นทะเล" ทำเมนูอาหาร-สร้างรายได้ ที่ชายทะเลหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นหาดที่ธรรมชาติมีความสมบูรณ์และสวยงาม ช่วงนี้กำลังเป็นฤดูกาลที่จักจั่นทะเลขึ้นมาวางไข่และหากินตามริมชายหาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงมาจับจักจั่นทะเลไปประกอบอาหารทานเองและนำไปจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมกันเป็นจำนวนมาก โดยเมนูเด็ดที่นำไปประกอบอาหารคือเมนูจักจั่นทะเลชุบแป้งทอด ซึ่งจะนำตัวจั๊กจั่นไปล้างด้วยน้ำจืด จากนั้นก็แกะกระดองออกนำไปชุบแป้งลงทอดในน้ำมันร้อนๆแล้วนำมาจิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ด เมื่อเข้าปากเคี้ยวแล้วต่างก็บอกว่าหรอยจังฮู้ https://www.mcot.net/view/NN2CoaxA
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
เมื่อภาพแทนสวนทางกับความจริง : เรื่องราวของฉลามผ่านมุมมองนักดำน้ำ .................. โดย Jack Bullet ? Alex Hofford / Greenpeace ตั้งแต่ Jaws (1975), Deep Blue Sea (1999) ไปจนถึง The Shallows (2016) ภาพยนตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันหลายต่อหลายเรื่องมักวาดฉลามให้เป็นอสูรกายที่พร้อมขย้ำเหยื่อทุกครั้งที่ได้กลิ่นคาวเลือด แจ็ค บุลเลต (Jack Bullet) เป็นหนึ่งคนที่ติดภาพ "ฉลามนักฆ่า" จนกระทั่งอายุยี่สิบกว่าเพราะรายการทีวีที่เขาดูตั้งแต่เด็ก แม้กระทั่งตอนดำน้ำครั้งแรกก็ยังคิดว่าฉลามคือนักฆ่าเลือดเย็น "ครั้งแรกที่เห็นฉลามตัวเป็นๆ ผมคิดว่ามันจะมุ่งเข้ามาทำร้ายผมทันที แต่ฉลามไม่ได้สนใจผมเลยด้วยซ้ำ มันก็ว่ายน้ำ ใช้ชีวิตของมันไป" แต่เมื่อเขาดำน้ำบ่อยขึ้น จากความกลัวกลับเปลี่ยนเป็นความอัศจรรย์ใจ แจ็คเริ่มตกหลุมรักฉลาม และหาโอกาสไปว่ายน้ำกับพวกมันบ่อยๆ เขาเล่าว่าฉลามที่ใหญ่และน่าหวั่นเกรงมากที่สุดที่เขาเคยดำน้ำด้วยคือฉลามหางยาวที่ยาวถึง 4 เมตร "ตอนว่ายน้ำคู่กับมันผมเหมือนอยู่บนสวรรค์ ถ้าเป็นผมตอนอายุ 12 ขวบคงเป็นลมไปละ" "มันเหมือนเวลาหยุดนิ่งไปเลยเมื่ออยู่กับสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์พวกนี้ ผมอยู่ในบ้าน ในถิ่นอาศัยของ 'นักล่า' แต่พวกมันกลับไม่แสดงอาการเกรี้ยวกราดเลยแม้แต่น้อย" ? Paul Hilton / Greenpeace เมื่ออยู่กับฉลามมากขึ้น เริ่มเข้าใจธรรมชาติของพวกมันมากขึ้น ทำให้แจ็ครู้สึกว่าภาพแทนของฉลามที่ถูกเผยแพร่ออกไปเป็นอะไรที่ "ไม่แฟร์" เอาเสียเลย ในขณะที่คนหลายพันดำน้ำเล่นกับฉลามทุกวันโดยไม่ได้รับอันตราย แต่คนจำนวนมากยังคงมีภาพจำของฉลามแบบผิดๆ เพราะการนำเสนอภาพแทนแบบผิดๆ ภาพแทนที่สวนทางกับความจริง "เวลาไปดำน้ำที่ไหนแล้วเห็นฉลาม ตรงนั้นจะเป็นที่ๆปะการังมีความสมบูรณ์และเต็มไปด้วยสัตว์น้ำ น่าเสียดายที่ปัจจุบันมันยากแล้วที่จะเห็นฉลามตอนดำน้ำ" แจ็คกล่าว ดั่งที่แจ็คเล่า ฉลามเป็นภาพแทนของความอุดมสมบูรณ์ พวกมันอยู่คู่กับโลกมากว่าห้าร้อยล้านปี เป็นนักล่าที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสมดุลของมหาสมุทร คัดสรรสิ่งที่ชีวิตที่อ่อนแอและป่วยออกไป รักษาสมดุลกับนักล่าอื่นๆ ถ้าไม่มีฉลาม ระบบนิเวศใต้ทะเลจะไร้เสถียรภาพและล่มสลายในที่สุด ฉลามสีเทา ? Paul Hilton / Greenpeace แต่คนจำนวนมากก็ยังกลัวฉลาม ติดภาพพวกมันในคราบนักฆ่า ทั้งที่จริงแล้วความเป็นไปได้ที่ฉลามจะโจมตีมนุษย์น้อยกว่าโอกาสที่คนจะเดินตกท่อในกรุงเทพฯอีก กลับกัน ทุกๆหนึ่งชั่วโมงจะมีฉลาม 11,415 ตัวตายด้วยน้ำมือมนุษย์ รวมกันมากกว่าร้อยล้านตัวต่อปี พวกมันถูกจับไปทำหูฉลาม นำไปเป็นส่วนผสมของอาหารเสริม อาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง และนับวันจำนวนของมันก็ยิ่งน้อยลงทุกที ร่วมกันปกป้องฉลาม ฉลามจำนวนมากถูกฆ่าในอุตสาหกรรมประมง เช่น ในประมงทูน่า ฉลามมักติดอวนขณะเรือประมงลากทูน่าขึ้นจากท้องทะเล ในปี 2019 กรีนพีซรายงานว่าเรือประมงในแอตแลนติกเหนือคร่าชีวิตปลาฉลามมาโก (mako shark) กว่า 25,000 ตัวทุกปี เรือประมงเหล่านี้ตั้งใจจะจับปลากระโทงดาบ (swordfish) แต่ฉลามกลับถูกฆ่ามากกว่าปลาที่พวกเขาตั้งใจจะจับถึงสี่เท่า ภาพฉลามถูกจับและถูกดึงขึ้นไปบนเรือบริเวณทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ? Tommy Trenchard / Greenpeace ถ้าจะปกป้องฉลามก็ต้องเริ่มจากการปกป้องมหาสมุทรจากอุตสาหกรรมประมงทำลายล้าง ปัจจุบันเพียง 5% ของท้องทะเลได้รับการปกป้องจากทั้งอุตสาหกรรมประมงทำลายล้างและการเจาะน้ำมัน สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือร่วมผลักดันให้เกิด "เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล" โดยมีเป้าหมายคือการปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 เขตคุ้มครองระบบนิเวศนี้จะเกิดขึ้นได้ผ่าน สนธิสัญญาทะเลหลวง ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องเพื่อมหาสมุทรและสัตว์ทะเลได้กลับมาอาศัยอยู่ในบ้านที่อุดมสมบูรณ์ ร่วมผลักดันสนธิสัญญาทะเลหลวงกับกรีนพีซ https://www.greenpeace.org/thailand/...rotect-sharks/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
ขยะอวกาศคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้ชาวโลก นับแต่มนุษย์ส่งยานอวกาศ ดาวเทียม และคนขึ้นไปสำรวจอวกาศในช่วงทศวรรษที่ 1950 ก็ทำให้เกิดขยะขึ้นในห้วงอวกาศ ยิ่งเราดำเนินโครงการอวกาศเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้ชิ้นส่วนขยะอวกาศที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรโลกนับวันจะยิ่งแน่นหนาขึ้น และกำลังกลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะสร้างความเดือดร้อนให้มนุษย์เราได้ทุกเมื่อ ขยะอวกาศคืออะไร ขยะอวกาศ (space junk หรือ space debris) คือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วถูกทิ้งไว้ในห้วงอวกาศเมื่อเลิกใช้งานแล้ว โดยมีทั้งวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ยานอวกาศปลดระวาง วัตถุที่สลัดทิ้งระหว่างภารกิจเดินทางขึ้นสู่อวกาศ ชิ้นส่วนเครื่องจักรและดาวเทียมที่เสีย หรือเลิกใช้งานแล้ว นอกจากนี้ยังรวมถึงวัตถุขนาดเล็ก เช่น เศษซากการชนกันของวัตถุที่ลอยอยู่ในห้วงอวกาศ หรือแม้แต่แผ่นสีที่หลุดลอกออกจากยานอวกาศ รวมถึงของเหลวแข็งตัวที่ถูกขับออกจากยานอวกาศ เป็นต้น ขยะอวกาศส่วนมากมักล่องลอยอยู่รอบโลก แต่มนุษย์ก็เคยทิ้งอุปกรณ์บางอย่างไว้บนดวงจันทร์ในช่วงทศวรรษที่ 1960 - 1970 คาดว่าปัจจุบันมีขยะอวกาศที่ขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. ลอยอยู่ในวงโคจรโลกมากกว่า 30,000 ชิ้น ........ ที่มาของภาพ,ESA มีขยะอวกาศมากแค่ไหน ปัจจุบันมีขยะอวกาศที่ขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรล่องลอยอยู่ในวงโคจรโลกมากกว่า 30,000 ชิ้น และคาดว่าจะมีชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรอยู่มากถึง 128 ล้านชิ้น ศาสตราจารย์ มอริบา จาห์ วิศวกรการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสและคณะได้จัดทำแผนที่ขยะอวกาศที่เรียกว่า AstriaGraph สำหรับเฝ้าติดตามวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดในอวกาศ เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการติดตามและพยากรณ์พฤติการณ์ของพวกมัน "เราติดตามวัตถุกว่า 26,000 ชิ้น ตั้งแต่ที่มีขนาดเท่าสมาร์ทโฟน ไปจนถึงขนาดเท่าสถานีอวกาศ อาจมีดาวเทียมที่ยังทำงานอยู่ 3,500 ดวง ซึ่งยังมีประโยชน์อยู่ แต่นอกเหนือจากนั้นก็คือขยะ" ศาสตราจารย์ จาห์ กล่าว ขยะอวกาศก่อให้เกิดปัญหาอะไร ยิ่งมีขยะอวกาศมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอันตรายมากขึ้นเท่านั้น แม้ขยะอวกาศโดยมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชาวโลก เพราะส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้และหายไปเมื่อตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นในห้วงอวกาศ เพราะมีความเสี่ยงที่ขยะอวกาศจะพุ่งชนดาวเทียมสำคัญต่าง ๆ เช่น ดาวเทียมที่ให้บริการบอกตำแหน่ง การนำทางด้วยระบบจีพีเอส การบอกเวลา การสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และการเตือนภัยสภาพอากาศ จนทำให้ดาวเทียมเหล่านี้ได้รับความเสียหายและหยุดทำงานลง แม้แต่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ยังเคลื่อนตัวในวงโคจรโลกด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อวินาที นี่หมายความว่าการชนกันที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายได้อย่างมาก ปัญหาดังกล่าวทำให้ในแต่ละปี ต้องมีการบังคับดาวเทียม หรือแม้แต่สถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ให้หลบหลีกการพุ่งชนของขยะอากาศหลายร้อยครั้ง เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีขยะอวกาศชิ้นหนึ่งเคลื่อนตัวเข้าใกล้แคปซูลขนส่งนักบินอวกาศ "ดรากอน" ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ในขณะที่กำลังเตรียมเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ สร้างความแตกตื่นให้กับนักบินอวกาศ 4 คนที่อยู่ด้านใน แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีการชนกันเกิดขึ้น ที่มาของภาพ,GETTY CREATIVE แผนที่ขยะอวกาศ ภัยคุกคามที่กล่าวมา ทำให้ศาสตราจารย์ จาห์ และทีมงานจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สร้างแผนที่ AstriaGraph ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ และเปิดให้สาธารณชนใช้งานได้ เพื่อติดตามการเคลื่อนตัวของวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกชนิดที่ลอยอยู่ในวงโคจรโลก ด้วยระบบที่สามารถรายงานผลแทบจะสดในทันที ศาสตราจารย์ จาห์ บอกว่า ข้อมูลที่ได้จากแผนที่นี้เผยให้เห็นแนวโน้มของสิ่งที่เรียกว่า "การแพร่กระจายครั้งใหญ่" หรือการที่ขยะอวกาศขนาดใหญ่เกิดการแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่อาจเกิดขึ้นได้ 200 จุด ในวงโคจรโลก "จรวดขนาดใหญ่ ที่ลอยอยู่ในห้วงอวกาศนานหลายทศวรรษ กำลังเป็นเหมือนระเบิดเวลา เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะระเบิด หรือถูกวัตถุบางอย่างพุ่งชน แล้วมันจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหลายหมื่นชิ้น" การที่ปัจจุบันหลายบริษัท เช่น สเปซเอ็กซ์ และแอมะซอน ต่างส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ก็ยิ่งทำให้วงโคจรโลกเนืองแน่นไปด้วยวัตถุต่าง ๆ องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ทุกบริษัทต้องกำจัดดาวเทียมของตัวเองออกจากวงโคจรโลกภายใน 25 ปีหลังจากปลดระวางแล้ว ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาวิธีการกำจัดขยะอวกาศเหล่านี้ออกไป อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ จาห์ ชี้ว่า ขยะอวกาศขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่รอบโลกในปัจจุบันนั้น เป็นของชาติมหาอำนาจอย่างน้อย 3 ประเทศ และเขาไม่มั่นใจว่า ประเทศเหล่านี้จะยอมทุ่มงบประมาณเพื่อแก้ปัญหานี้หรือไม่ ในขณะที่โลกกำลังเผชิญภัยคุกคามมนุษยชาติอื่น ๆ อีกมากมาย "ประเทศเหล่านี้จะใช้ทรัพยากรเพื่อกำจัดชิ้นส่วนจรวดพวกนี้ หรือ "การแพร่กระจายครั้งใหญ่" หรือไม่ ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาคุกคามมนุษยชาติ...ทำไมพวกเขาต้องสนใจด้วย" https://www.bbc.com/thai/international-57041484
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|