#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย อนึ่ง พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) ที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดียตอนบนในวันนี้ (วันที่ 26 พ.ค. 64) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 28 พ.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 ? 31 พ.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนล่าง มีฝนลดลง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ตลอดช่วง ทำให้ด้านรับมรสุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไซโคลน "ยาอาส" มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนในช่วงวันที่ 26 ? 27 พ.ค. 64 ส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) บริเวณอ่าวเบงกอล" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 เมื่อเวลา 04.00 น. พายุไซโคลน "ยาอาส" (YAAS) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 20.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 87.6 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม. มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณรัฐโอริสสาและรัฐกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในวันนี้ (26 พฤษภาคม 2564) ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดเว้นการเดินเรือ ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
จัดลำดับจีโนม สัตว์ชนิดใจจะอยู่รอดจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ ภาพ Threespine stickleback fisn. Credit : McGill University การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การสูญเสียที่อยู่อาศัย ความแปร ปรวนของอุณหภูมิ สิ่งเหล่านี้มีส่วนผลักดันให้สัตว์หลายชนิดตกอยู่ในความเสี่ยง ดังนั้น การคาดเดาว่าสัตว์ชนิดใดจะสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้อาจนำไปสู่การพัฒนาวิธีรับมือปัญหาได้ในอนาคต ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญของแผนกวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในแคนาดา เผยว่าได้ใช้การจัดลำดับจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าปลาบางชนิด เช่น Threespine stickleback สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลได้อย่างรวดเร็ว ปลาชนิดนี้พบในบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ตามชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ระบุว่ารูปร่าง ขนาด และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้พวกมันอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำทะเล น้ำจืด และภายใต้อุณหภูมิที่หลากหลาย แต่อะไรที่ทำให้พันธุ์ปลานี้มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในถิ่นอาศัยของปลา สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่พบระหว่างประชากรในน้ำจืดและน้ำเค็มที่มีมายาวนาน ซึ่งเชื่อมโยงกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าอาจสามารถใช้ความแตกต่างทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต มาทำนายว่าประชากรปลาจะปรับตัวเข้ากับปัจจัยกดดันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้อย่างไร. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2099886
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผืนป่าโลกฟื้นตัว! ขนาดเทียบเท่าฝรั่งเศส กลับมาเขียวชะอุ่มในช่วง 20 ปี พื้นที่ขนาดโดยประมาณเทียบเท่าประเทศฝรั่งเศส ได้เติบโตขึ้นใหม่ในป่าแอตแลนติกของบราซิลตั้งแต่ปี 2000 (Photo Credit : Getty) งานวิจัยธรรมชาติล่าสุดโดยโครงการ Trillion Trees เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง WWF, BirdLife International และ Wildlife Conservation Society (WCS) ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากดาวเทียมตั้งแต่ปี 2000 (พ.ศ.2543) พบพื้นที่ป่าขนาดเกือบ 59 ล้านเฮกตาร์ (หรือ 370 ล้านไร่) ลากยาวตั้งแต่ผืนป่าในประเทศมองโกเลีย ไปจนถึงตอนใต้ของบราซิล "มีขนาดเทียบเท่ากับประเทศฝรั่งเศส" ได้ฟื้นตัวตามธรรมชาติโดยกลับมาเขียวชะอุ่มอีกครั้ง พื้นที่ป่าทั้งหมดถูกพบว่า มีศักยภาพดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5.9 กิกะตัน หรือมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาปล่อยในแต่ละปี จากงานวิจัยพบว่า กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ป่าแอตแลนติกในบราซิลได้ฟื้นกลับคืนมามากว่า 4.2 ล้านเฮกตาร์ (26 ล้านไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เท่ากับประเทศเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ป่าไม้เขตหนาว (Boreal Forest) ทางตอนเหนือของมองโกเลีย ฟื้นตัวกลับมากว่า 1.2 ล้านเฮกตาร์ (7.5 ล้านไร่) พื้นที่ป่าในแอฟริกากลาง และประเทศแคนาดา ก็มีรายงานว่า ฟื้นตัวกลับมาเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การปล่อยให้ผืนป่าได้ฟื้นฟูตามธรรมชาตินับเป็นทางเลือกในการลดผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดีที่สุด เนื่องจากผืนป่าเดิมนั้น มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยคงความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพได้มากกว่า อีกทั้ง การปล่อยให้ป่าไม้ฟื้นกลับมาด้วยตัวเองมีต้นทุนถูก และยังเปิดโอกาสให้สัตว์ป่า และต้นไม้ท้องถิ่นกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง แต่น่าเศร้าที่ในปัจจุบัน ปัญหาการสูญเสียพื้นทีป่าไม้ยังคงเกิดขึ้นใน "อัตราที่น่ากลัว" หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า #เราสูญเสียพื้นที่ป่ารวดเร็วเกินกว่าที่ป่าจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ทัน แต่เมื่อใดก็ตามที่เราช่วยกันขจัดสิ่งรบกวนพื้นป่าได้ (เช่น การควบคุมพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ การล้อมรั้วป้องกันวัว หรือควายเล็มหญ้า เป็นต้น) ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ 'ก๊าซเรือนกระจก' ที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ราว 1 ใน 3 ในแต่ละปี https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000050619
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 26-05-2021 เมื่อ 03:37 |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
ฟื้นฟูปะการังใต้ท้องทะเลไทย พื้นที่แนวปะการังทั้งหมดทั่วประเทศไทย พบว่ามีแนวปะการังเสื่อมโทรมที่จำเป็นต้องมีการฟื้นฟู มากกว่าร้อยละ 40 แม้โดยปกติแล้วแนวปะการังที่เสื่อมโทรมนั้น สามารถฟื้นได้เองตามธรรมชาติ แต่การเข้าฟื้นฟูโดยมนุษย์นั้น จะสามารถเร่งให้แนวปะการังมีการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น https://www.mcot.net/view/n7OVXpAn
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|