#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 13 ก.ค. 64 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 ? 11 ก.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อม ความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
งานวิจัยชี้ ภูมิอากาศเปลี่ยน ทำให้ขนาดร่างกายคนเปลี่ยน ช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา งานวิจัยชี้ ? วันที่ 8 ก.ค. ซีเอ็นเอ็น รายงานผลการวิจัยว่า ขนาดร่างกายเฉลี่ยของมนุษย์มีความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา และมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทีมนักวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ และมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ในเยอรมนี รวบรวมข้อมูลการวัดของขนาดสมองและร่างกายสำหรับฟอสซิสมากกว่า 300 ชิ้น จากมนุษย์สกุลโฮโม (Homo) หรือตระกูล ซึ่งเป็นของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ทีมนักวิจัยใช้ข้อมูลชุดนี้ รวมกับการสร้างภูมิอากาศในภูมิภาคของโลกในช่วงล้านปีที่ผ่านมาขึ้นมาใหม่ และคำนวณภูมิอากาศที่ฟอสซิลสัมผัสตอนมีชีวิตอยู่ พบว่า ภูมิอากาศ โดยเฉพาะอุณหภูมิ เป็นแรงผลักดันหลักในการเปลี่ยนแปลงของขนาดร่างกายในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา ภูมิอากาศเย็นขึ้นและรุนแรงขึ้นมีความเชื่อมโยงกับร่างกายขนาดใหญ่ขึ้น ขณะที่ภูมิอากาศอุ่นขึ้น หรือเย็นน้อยลง มีความเชื่อมโยงกับร่างกายที่มีขนาดเล็กลง อันเดรอา มานีกา ศาสตราจารย์นิเวศวิทยาวิวัฒนาการ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บอกซีเอ็นเอ็นทางอีเมลว่า "ร่างกายขนาดใหญ่ขึ้นสามารถป้องกันมนุษย์จากอุณหภูมิเย็นได้ ยิ่งคุณมีร่างกายขนาดใหญ่ขึ้น พื้นผิวของคุณจะเล็กลงเมื่อเทียบกับปริมาตรของคุณ คุณจึงกับเก็บความอบอุ่นอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" "นี่เป็นความสัมพันธ์ที่พบในสัตว์จำนวนมาก และแม้แต่ในหมู่มนุษย์ยุคร่วมสมัย แต่ตอนนี้เรารู้ว่านั่นเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของขนาดร่างกายในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา" ศาสตราจารย์มานีกา การศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ คอมมิวนิเคชั่น (Nature Communications) ภูมิอากาศกับขนาดสมองไม่น่าจะมีความเชื่อมโยง นักวิจัยยังศึกษาผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่อขนาดสมองว่า เมื่อเทียบกับมนุษย์ยุคก่อนหน้านี้ เช่น โฮโม แฮบิลิส (Homo habilis) เราๆ ซึ่งเป็นโฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) มีร่างกายหนักกว่า 50% และมีสมองใหญ่กว่า 3 เท่า แต่สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ทั้งนี้ โฮโม เซเปียนส์ ถือกำเนิดขึ้นราว 300,000 ปีก่อน ในแอฟริกา แต่มนุษย์สกุลโฮโม รวมถึงมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล และสัตว์สูญพันธุ์อื่นๆ เช่น โฮโม แฮบิลิส และโฮโม แฮบิลิส (Homo erectus) มีอยู่นานกว่ามาก ทีมนักวิจัยพบว่า ภูมิอากาศมีผลต่อขนาดสมอง แต่ขนาดสมองมีความแตกต่างกันอย่างมากจนไม่สามารถอธิบายได้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม "น่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงของขนาดสมองไม่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ร่างกายและสมองมีวิวัฒนาการภายใต้แรงกดดันต่างๆ สำหรับขนาดสมอง เราพบว่าสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นในสภาพแวดล้อมมั่นคง สมองเป็นอวัยวะที่มีต้นทุนสูง หากคุณขาดแหล่งอาหารหล่อเลี้ยง จะไม่สามารถรักษาอวัยวะชิ้นนี้ได้ ศาสตราจารย์มานีกาเสริมว่า "สำหรับมนุษย์โฮโมรุ่นแรก ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสมองขนาดใหญ่ขึ้นเมื่ออยู่ในถิ่นอาศัยเปิดโล่งมากขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่บรรพบุรุษของเราจะต้องล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เพื่อเป็นอาหาร "อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญ ภูมิอากาศสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของขนาดสมองได้น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงของขนาดร่างกายอย่างมาก นั่นหมายความว่า ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความท้าทายความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น (added cognitive challenges) ของชีวิตทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่หลากหลายขึ้น และวิทยาการที่ซับซ้อนขึ้น น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงของขนาดสมอง ศาสตราจารย์มานีกาคิดว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อขนาดร่างกายของเราอย่างมากตอนนี้ "การเปลี่ยนแปลงที่เราอธิบายนั้นเกิดขึ้นมานับพันปีหรือมากกว่าหมื่นปี ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่กี่ปีจะส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อร่างกายหรือสมองของเรา แต่หากเรารักษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโดยไม่ทำลายโลกทั้งใบเป็นเวลานาน ซึ่งเรายังทำไม่ได้ดีนัก อาจเป็นไปได้ แต่โชคดีที่เราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกนาน " ศาสตราจารย์มานีกาทิ้งท้าย https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_6498580
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
เช็กลิสต์ 13 "สัตว์น้ำต่างถิ่น" เพาะเลี้ยงปล่อยลงแหล่งน้ำโทษหนักทั้งจำทั้งปรับ เพาะเลี้ยง "สัตว์น้ำต่างถิ่น" โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านหรือทั้งจำทั้งปรับ ปล่อยในที่จับสัตว์น้ำโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองล้านหรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ของ "สัตว์น้ำต่างถิ่น" หรือ เอเลียนสปีชีส์ ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากกรณี "ปลาหมอสีคางดำ" ที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งครั้งนั้น "กรมประมง" ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และ ปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ล่าสุด กรมประมง อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันทึ่ 16 สิงหาคม 2564 นี้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ชนิดปลา - ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Sarotherodonmelanotheron - ปลาหมอมายัน (Mayan cichlid) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Mayaherosurophthalmus - ปลาหมอบัตเตอร์ (Zebra cichlid) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Heterotilapiabuttikoferi - ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม (Peacock cichlid, Butterfly peacock bass) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Cichlaspp. - ปลาเทราท์สายรุ้ง (Rainbow trout) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Oncorhynchusmykiss - ปลาเทราท์สีน้ำตาล (Sea trout) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Salmotrutta - ปลากะพงปากกว้าง (Largemouth black bass) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Micropterussalmoides - ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช (Goliath tigerfish, Giant tigerfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Hydrocynus goliath - ปลาเก๋าหยก (Jade perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Scortumbarcoo ปลาที่มีการดัดแปลง หรือ ตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO ชนิดสัตว์น้ำอื่น - ปูขนจีน (Chinese mitten crab) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Eriocheirsinensis - หอยมุกน้ำจืด (Triangle shell mussel) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Hyriopsiscumingii - หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena (Blue-ringed octopus) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Hapalochlaena spp. ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้ 1. กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วัน หลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้ และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้ว ให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือหน่วยงานกรมประมงอื่น ๆ ในพื้นที่โดยด่วน 2. กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย 3. กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตนา เกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย 4. กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการ ให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน 5. ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พ.ร.ก.การประมง 2558 บทลงโทษ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/473516
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|