เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งอีก 1 วัน (12 ก.ค. 64)


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 17 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 12 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สหรัฐฯ เผยภาพสยอง ซากโบอิ้ง 737 หักกระจุย หลังกัปตันแลนดิ้งลงกลางทะเล


Cr ภาพ :National Transportation Safety Board

ทางการสหรัฐฯ เผยภาพซากเครื่องบินสินค้า โบอิ้ง 737-200 ที่หักกระจุยเป็นเสี่ยง หลังกัปตันตัดสินใจเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แลนดิ้งลงกลางทะเล เครื่องยนต์ขัดข้อง

เว็บไซต์เดลี่เมล รายงาน คณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพถ่ายของเครื่องบินสินค้า โบอิ้ง 737-200 ของสายการบินทรานส์แอร์ เที่ยวบิน 810 ในสภาพแตกหักอย่างน่าสะเทือนขวัญ จมใต้มหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งรัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา หลังจากกัปตันได้ตัดสินใจเสี่ยง ขับเครื่องบินแลนดิ้งลงกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เกาะ Oahu หลังจากเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งขัดข้องและเครื่องยนต์ที่เหลืออยู่อีกเครื่องร้อนจัด เมื่อ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา จนทำให้เครื่องบินกระแทกกับผิวน้ำอย่างรุนแรง จนเครื่องบินแตกหักกระจัดกระจาย

ในขณะที่ กัปตันและนักบินผู้ช่วย 2 นายรอดชีวิตอย่างเหลือเชื่อ และได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยยามฝั่งและทีมพนักงานดับเพลิงได้ทันเวลา ขณะที่นักบินทั้งสองนายได้รับบาดเจ็บ และทีมกู้ภัยได้นำตัวส่งโรงพยาบาล โดยนักบินคนหนึ่งถูกนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ส่วนอีกคนถูกนำขึ้นเรือพาเข้าฝั่งเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาล



ทีมค้นหาของสหรัฐฯ ได้พบซากเครื่องบินสินค้าโบอิ้ง 737-200 บริเวณห่างจากชายฝั่ง ชายหาดอีวา บีช รัฐฮาวายออกไปประมาณ 2 ไมล์ หรือราว 3.2 กิโลเมตร และได้พบชิ้นส่วนเครื่องบินที่สำคัญ ทั้งชิ้นส่วนด้านหน้าเครื่องบิน หางเครื่องบิน ปีกเครื่องบิน และเครื่องยนต์ ในระดับความลึกจากผิวน้ำทะเล ประมาณ 360-420 ฟุต

คณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ซากเครื่องบินสินค้าลำนี้จมอยู่ในระดับลึกเกินกว่าที่จะส่งนักประดาน้ำลงไปค้นหากล่องดำบันทึกเสียงและข้อมูลของเครื่องบินในขณะที่ทีมสอบสวนกำลังวางแผนที่จะกู้ซากเครื่องบินขึ้นมาจากใต้มหาสมุทรแปซิฟิก

ทั้งนี้ เครื่องบินสินค้าลำนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี 2518 ประสบอุบัติเหตุ โดยนักบินแจ้งมายังหอควบคุมการบินว่าขอนำเครื่องบินกลับไปลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินต้นทาง ในเมืองฮอนโนลูลู ที่เพิ่งทะยานขึ้นมา และจะมุ่งหน้าไปยังเกาะ Maui ของรัฐฮาวาย หลังจากเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งขัดข้อง ทว่ากัปตันได้ตัดสินใจนำเครื่องบินแลนดิ้งลงกลางมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากเครื่องยนต์อีกเครื่องร้อนจัดแล้วจนเกรงว่าจะไปไม่ถึงสนามบินนานาชาติฮอนโนลูลู.


https://www.thairath.co.th/news/fore...IDGET#cxrecs_s
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 12-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ตายเกลื่อนริมหาดแคนาดา บรรดา "หอย" สุกทั้งเป็น คลื่นความร้อนสุดขั้วแผดเผา

ตายเกลื่อนริมหาดแคนาดา ? ซีเอ็นเอ็น รายงานฤทธิ์เดชของคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมในรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่เป็นสาเหตุให้หอยแมลงภู่ หอยกาบ และสัตว์ทะเลๆ อื่น ที่อาศัยอยู่บนชายหาดแคนาดาตะวันตกต้องตายกันเป็นเบือ


Chris Harley/University of British Columbia

คริสโตเฟอร์ ฮาร์ลีย์ ศาสตราจารย์ภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย พบหอยแมลงภู่ตายจำนวนนับไม่ถ้วนเปิดกาบออกทันทีและเน่าเปื่อยอยู่ในเปลือกหอย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ก.ค. ที่หาดคิตซิลาโน ห่างจากบ้านพักของตนในนครแวนคูเวอร์เพียงไม่กี่ช่วงตึก

ศ.ฮาร์ลีย์ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อระบบนิเวศน์ของชายฝั่งหินที่มีหอยกาบ หอยแมลงภู่ และดาวทะเล อาศัยอยู่ จึงต้องการดูว่า บรรดาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังระหว่างน้ำขึ้นน้ำลง (intertidal invertebrates) เหล่านี้ มีอาการอย่างไร เมื่อคลื่นความร้อนทุบสถิติแผ่ปกคลุมบริเวณดังกล่าวเมื่อวันที่ 26-28 มิ.ย.

"ผมได้กลิ่นหาดนั้นก่อนจะไปถึง เพราะมีสัตว์ตายแล้วจำนวนมากจากวันก่อนหน้า ซึ่งไม่ได้ร้อนสุดในช่วง 3 วันข้างต้น ผมเริ่มมองไปรอบๆ บนชายหาดท้องถิ่นของผมและคิดว่า ?โอ้ นี่ นี่มันไม่ดีแน่ๆ" วันถัดมา ศ.ฮาร์ลีย์และหนึ่งในนักศึกษาสังกัดตน ไปสวนประภาคาร (Lighthouse Park) ในแวนคูเวอร์ตะวันตก ซึ่งศ.ฮาร์ลีย์เยือนมานานมากกว่า 12 ปีแล้ว

"ที่นั่นเป็นภัยพิบัติ ผืนหอยแมลงภู่เกลื่อนชายฝั่งและส่วนใหญ่ตายไปแล้ว" ศ.ฮาร์ลีย์กล่าว

ศ.ฮาร์ลีย์กล่าวว่า หอยแมลงภู่เกาะติดหินและพื้นผิวอื่นๆ และคุ้นเคยกับการสัมผัสอากาศและแสงอาทิตย์ในช่วงน้ำลง แต่ปกติแล้วไม่สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส) เป็นเวลานานมากๆ

อุณหภูมิในย่านชุมชนแวนคูเวอร์อยู่ที่ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (37 องศาเซลเซียส) เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ต่อมา เพิ่มเป็น 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ (37.5 องศาเซลเซียส) วันที่ 27 มิ.ย. และทะยาน 101.5 องศาฟาเรนไฮต์ (38.6 องศาเซลเซียส) วันที่ 28 มิ.ย. ซึ่งร้อนกว่าบนชายหาดดังกล่าวด้วยซ้ำ

ศ.ฮาร์ลีย์และนักศึกษาใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR ที่พบอุณหภูมิพื้นผิวสูง 125 องศาฟาเรนไฮต์ (51.7 องศาเซลเซียส) และในช่วงเวลานี้ของปี น้ำลงจะมาถึงช่วงร้อนสุดของวันในพื้นที่ดังกล่าว สัตว์เหล่านี้จึงไม่สามารถอยู่ได้ได้จนกว่าน้ำจะขึ้นอีกครั้ง

ศ.ฮาร์ลีย์กล่าวว่า ความร้อนอาจฆ่าหอยแมลงภู่และสัตว์ทะเลอื่นๆ มากถึงพันล้านตัวในทะเลซาลิช รวมถึงช่องแคบจอร์เจีย เวิ้งพิวเจ็ตซาวด์ และช่องแคบฆวน เด ฟูกา แต่นั่นเป็นการประมาณการเบื้องต้น


Chris Harley/University of British Columbia

ศ.ฮาร์ลีย์กล่าวว่า หอยแมลงภู่ 50 ถึง 100 ตัว สามารถอาศัยอยู่ในจุดที่มีขนาดเท่าฝ่ามือของคุณได้ และหลายพันตัวสามารถอยู่ในพื้นที่ขนาดเตาตั้งพื้นในครัวได้พอดี และแสดงความกังวลว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ดูจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น

ด้านไบรอัน เฮลมุธ ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น กล่าวว่า ผืนหอยแมลงภู่ เช่นเดียวกันแนวปะการัง ทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อความสมบูรณ์ของมหาสมุทร

"เมื่อเราเห็นผืนหอยแมลงภู่หายไป ซึ่งเป็นสัตว์หลัก จึงเปรียบเสมือนต้นไม้ในผืนป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของพืชชนิดอื่นๆ จึงเห็นได้ชัดเจนมากเมื่อผืนหอยแมลงภู่หายไป เมื่อเราเริ่มเห็นสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ตายเป็นเบือ เนื่องจากเคลื่อนที่ไปมาและอยู่กันไม่หนาแน่นนัก" ศ.เฮลมุธกล่าวและว่า การตายของหอยแมลงภู่ส่งผลการลดหลั่นต่อสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้

ศาสตราจารย์ทั้งสองกังวลด้วยว่า คลื่นความร้อนกำลังกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น และไม่แน่ใจว่าผืนหอยแมลงภู่จะสามารถฟื้นตัวได้หรือไม่

"หากเริ่มมีคลื่นความร้อนแบบนี้ทุก 10 ปี แทนที่จะเป็นทุก 1,000 ปีหรือทุก 5,000 ปี นั่นหมายความว่า คุณกำลังถูกโจมตีอย่างหนักเกินไป เร็วเกินไปที่จะฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง และระบบนิเวศจะดูแตกต่างจากเดิมอย่างมาก" ศ.ฮาร์ลีย์ทิ้งท้าย

ทั้งนี้ เมืองลิตตัน รัฐบริติชโคลัมเบีย ทุบสถิติอากาศร้อนจัดสุดของแคนาดาเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ด้วยอุณหภูมิถึง 121 องศาฟาเรนไฮต์ (49.4 องศาเซลเซียส) จนไฟป่าโหมวอดทั้งเมือง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนระหว่างวันที่ 25 มิ.ย. ? 1 มิ.ย. อยู่ที่ 719 ราย สูงกว่าปกติในช่วงเวลาดังกล่าวถึง 3 เท่า ตามคำแถลงของ ลีซา ลา?ปวงต์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของรัฐบริติชโคลัมเบีย

นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และอีกหลายคนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอากาศร้อนจัด


https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_6503162

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:03


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger