#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 22 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
เผยภาพบ้านร้างปริศนาถูกพัดติดชายฝั่งเอลซัลวาดอร์ มากว่า 23 ปี บ้านร้างหลังดังกล่าวถูกค้นพบบริเวณ ชายฝั่งคอสตา เดล โซล ประเทศเอลซัลวาดอร์ บ้านหลังนี้ถูกพัดเข้าชายฝั่งมาเป็ยเวลากว่า 23 ปีแถมยังมาพร้อมตำนานสุดน่ากลัว ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าบ้านหลังดังกล่าวมาตั้งอยู่ริมชายฝั่งเช่นนี้ได้อย่างไร ก็ตามทฤษฎีแล้วผู้คนกล่าวขานว่าบ้านหลังนี้ถูกพัดมาพร้อมพายุเฮอริเคนที่โจมตีประเทศเอลซัลวาดอร์อย่างหนัก เมื่อสองทศวรรษที่แล้ว หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ออกมาเผยตำนานของบ้านร้างหลังดังกล่าวว่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านหรูเมื่อประมาณ 28 ก่อน หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงแรงที่มีชื่อว่า Hotel Puerto Ventura ที่ถูกสร้างเอาไว้บนชายหาดที่อยู่ห่างจากน้ำทะเลไม่กี่เมตร แต่ทว่าด้วยลมทะเลและพายุที่รุนแรงเป็นเหตุให้โรงแรมดังกล่าวเสียหายและถูกทิ้งร้าง ต่อมามันถูกเปลี่ยนให้เป็น สำนักงานใหญ่ของโบสถ์คริสตจักรแห่งหนึ่ง ซึ่งเราจะเห็นสัญลักษณ์รูปดาว 6 แฉกอยู่บนเพดานห้องหนึ่ง แต่ในที่สุดโครงสร้างก็ทรุดโทรมเกินกว่าที่จะถูกใช้งานอีกต่อไป "ผมว่าพวกเขาสร้างติดทะเลจนเกินไป ก่อนหน้านี้ไม่มีการขออนุญาตก่อสร้างอย่างเป็นทางการ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมสิ่งก่อสร้างของพวกเขาถึงมาอยู่ตรงนี้" ชาวบ้านกล่าว นอกเหนือจากนี้บ้านร้างแห่งนี้ยังมาพร้อมเรื่องบอกเล่าที่น่ากลัว หญิงท้องถิ่นเล่าว่าเด็กๆชาวบ้านมักจะเห็นชายผิวดำ รูปร่างสูงใหญ่กว่าคนทั่วไป ห้อยตัวออกมาจากชั้นบนของบ้าน "พวกเด็กผู้ชายที่มาจับเต่าตอนกลางคืนบอกฉันว่า พวกเขาเห็นชายผิวดำตัวสูงมากอยู่ที่นั่น" https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6513066
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
ลูกเต่ากระเกาะทะลุฟักเพิ่มอีก 2 รัง ประจวบคีรีขันธ์ 16 ก.ค. ? เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ พบลูกเต่ากระที่ฟักเพิ่มอีก 2 รังซึ่งแม่เต่ามาวางไข่ไว้ที่เกาะทะลุ อ. บางสะพานน้อย จ. ประจวบคีรีขันธ์ ขณะนี้นำลูกเต่า 237 ตัวไปอนุบาลเพื่อเตรียมปล่อยสู่ทะเล หวังเพิ่มจำนวนประชากรเต่ากระซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะเสี่ยงใกล้สูญพันธ์เข้าขั้นวิกฤติ นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรีกล่าวว่า ได้รับรายงานจากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ว่า พบการฟักตัวของลูกเต่ากระ 2 รังในพื้นที่เกาะทะลุ อ. บางสะพานน้อย จ. ประจวบคีรีขันธ์ โดยที่ผ่านมาลาดตระเวนและเฝ้าติดตามการขึ้นวางไข่และการฟักไข่ของเต่ากระอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ รังที่ 1 ซึ่งพบเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 จำนวนไข่ทั้งหมด 130 ฟอง ไม่ทราบแม่ ฟักออกเป็นตัว 122 ตัว ไข่ลม 8 ฟอง ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักออกเป็นตัว 58 วัน อัตราการรอดตาย 94% รังที่ 2 พบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 จำนวนไข่ทั้งหมด 148 ฟอง ไม่ทราบแม่ ฟักออกเป็นตัวทั้งหมด 115 ตัว ตายขณะฟักออกเป็นตัว 1 ตัว ไข่ลม 11 ฟอง และไข่ไม่พัฒนา 21 ฟอง ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักออกเป็นตัว 55 วันอัตราการรอดตาย 78% จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ "เต่ากระ" ชื่อวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata (Linnaeus, 1766) เป็นสัตว์ทะเลหายาก สถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ทาง IUCN Red List กำหนดให้อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) . https://tna.mcot.net/business-739776
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|