#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 4 สิงหาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมามีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วย ความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวัน และจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ส.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่พายุดีเปรสชั่นบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ในขณะในช่วงวันที่ 3 ? 8 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้น มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชั่นบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ซึ่งพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย และไม่มีผลกระทบโดยตรงลักษณะอากาศของประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 4 ? 6 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ส.ค. 64
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
คลื่นความร้อนซัด! แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ละลายวันเดียวเทียบเท่า "ระดับน้ำสูง 2 นิ้วทั้งรัฐฟลอริดา" น้ำแข็งละลายทางฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์ในปี 2019 ซึ่งเป็นปีที่มีการสูญเสียน้ำแข็งมากเป็นประวัติการณ์ (เครดิตภาพ CNN) แผ่นน้ำแข็งของกรีนแลนด์ประสบเหตุ "การหลอมเหลวครั้งใหญ่" ในช่วงคลื่นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติมากกว่า 10 องศา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เว็บไซต์ Polar Portal นักวิจัยชาวเดนมาร์ก รายงานว่าตั้งแต่วันอังคารที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมอาณาเขตอาร์กติกอันกว้างใหญ่ได้ละลายประมาณ 8 พันล้านตันต่อวัน ซึ่งมากเป็นสองเท่าของอัตราเฉลี่ยปกติในช่วงฤดูร้อน สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งเดนมาร์กรายงานว่ามีอุณหภูมิมากกว่า 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮต์) มากกว่าอุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ยปกติในฤดูร้อนถึงสองเท่าในภาคเหนือของกรีนแลนด์ และที่สนามบิน Nerlerit Inaat ทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนบันทึก 23.4 องศาเซลเซียส (74.1 F) ในวันพฤหัสบดีที่ 29 ก.ค.ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มบันทึก คลื่นความร้อนที่กระทบส่วนใหญ่ของกรีนแลนด์ในวันนั้น เว็บไซต์ Polar Portal รายงานว่า "เป็นเหตุการณ์การหลอมเหลวครั้งใหญ่" ปริมาณน้ำแข็งที่ละลายเพียงพอที่จะครอบคลุมทั้งรัฐฟลอริดาด้วยระดับน้ำสูง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร)โดยพื้นที่ที่เกิดการละลายในครั้งนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อสองปีก่อน แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์เป็นมวลน้ำแข็งน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ทั้งนี้ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์เป็นมวลน้ำแข็งน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยมีพื้นที่เกือบ 1.8 ล้านตารางกิโลเมตร (695,000 ตารางไมล์) รองจากทวีปแอนตาร์กติกาเท่านั้น "การละลายของแผ่นน้ำแข็งที่นี่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2533 และพบว่าเร่งตัวขึ้นนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ซึ่งการสูญเสียมวลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากกว่าก่อนปี 2000 ประมาณสี่เท่า" นักวิจัยรายงานใน Polar Portal กรีนแลนด์สูญเสียมวลพื้นผิวมากกว่า 8.5 พันล้านตันในวันอังคาร และ 18.4 พันล้านตันตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมาตามรายงานของสถาบันอุตุนิยมวิทยาเดนมาร์ก แม้ว่าการสูญเสียน้ำแข็งทั้งหมดในสัปดาห์นี้จะไม่รุนแรงเท่าเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในปี 2019 ซึ่งเป็นปีแห่งการละลายเป็นประวัติการณ์ ผลการศึกษาของยุโรปฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่าระดับน้ำในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 10 ถึง 18 เซนติเมตรภายในปี 2100 หรือเร็วกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ 60% ในอัตราที่แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์กำลังละลาย และหากว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ละลายจนหมดนั้นจะทำให้ระดับมหาสมุทรสูงขึ้น 6-7 เมตร ทั้งนี้ กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป และทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนเหนือสุดของโลก และอยู่ในทวีปเมริกาเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,166,086 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันกรีนแลนด์อยู่ในฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000076096
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|