#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 13 - 16 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
รายงานUNส่งสัญญาณอันตราย "โลกร้อน" แน่นอนแล้วว่าหลายปัญหาสายเกินแก้ ต้องเจอกันไปอีกนานหลายสิบปี แม้กระทั่งลงมือกันเดี๋ยวนี้ สภาพของที่พักคนไร้บ้านแห่งหนึ่ง บริเวณตอนเหนือของเทศมณฑลลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 4 สิงหาคม 2021 ขณะเกิดคลื่นความร้อนซึ่งทำให้อุณหภูมิสูงปริ๊ด รายงานยูเอ็นฉบับล่าสุด เตือนภาวะโลกร้อนเสี่ยงถึงระดับที่เกินควบคุม ย้ำขณะนี้เป็นที่แน่นอนแล้วว่า โลกจะเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปอีกนานอย่างน้อยหลายสิบปี แม้ลงมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วนก็ตาม รายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ของสหประชาชาติฉบับล่าสุด ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (9 ส.ค.) ระบุว่า ตัวการสำคัญของปัญหาทั้งหมดคือมนุษย์ และเสริมว่า การเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจช่วยจำกัดผลกระทบได้บ้าง กระนั้น ยังมีผลกระทบอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นแล้วและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ รายงานคาดหมายว่า คลื่นร้อน พายุเฮอร์ริเคนขนาดยักษ์ และสภาพอากาศสุดโต่งอื่นๆ จะรุนแรงขึ้น อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการยูเอ็น ชี้ว่า รายงานฉบับนี้เป็นสัญญาณอันตรายสำหรับมนุษยชาติ และควรเป็นสัญญาณการสิ้นสุดสำหรับการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลตลอดจนถ่านหิน ก่อนที่เชื้อเพลิงเหล่านี้จะทำลายโลก รายงานของไอพีซีซีที่อิงกับงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 14,000 ชิ้น ให้ภาพที่ครอบคลุมและชัดเจนที่สุดว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกกำลังทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป รายงานระบุว่า ถ้าไม่มีมาตรการขนาดใหญ่และดำเนินการทันทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิโลกเฉลี่ยมีแนวโน้มแตะหรือเกินเกณฑ์ภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 20 ปี ภาพถ่ายจากดาวเทียมโคเพอร์นิคัส เซนทิเนล-3 แสดงให้เห็นหิมะที่ปกคลุมเทือกเขาแอนดีส ในอเมริกาใต้ เปรียบเทียบกันระหว่างภาพถ่ายวันที่ 27 กรกฎาคม 2020 กับที่ถ่ายวันที่ 29 กรกฎาคม 2021 ซึ่งเห็นชัดเจนว่าปริมาณหิมะน้อยลงไปเยอะในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษ แสดงความหวังว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นสัญญาณเตือนให้ทั่วโลกลงมือทำทันที ไม่ต้องรอจนถึงการประชุมว่าด้วยสภาพภูมิอากาศซีโอพี26 ของยูเอ็นที่สก็อตแลนด์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทวิตว่า การแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศไม่อาจรอได้อีกต่อไป และราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการเพิกเฉยยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ รายงานยังระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นแล้ว 1.1 องศาเซลเซียสจากค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม และอาจขยับขึ้นอีก 0.5 องศาเซลเซียสหากไม่มีความพยายามในการลดผลกระทบจากมลพิษในบรรยากาศ ซึ่งเท่ากับว่า แม้เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่อุณหภูมิจะยังคงสูงขึ้นจากการสูญเสียมลพิษทางอากาศและการสะท้อนของความร้อนจากดวงอาทิตย์บางส่วน อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเป็นระดับสูงสุดที่มนุษยชาติสามารถรับได้โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ทั้งนี้ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสที่บันทึกได้ กฌเพียงพอทำให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ โดยในปีนี้คลื่นร้อนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในแถบแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ของอเมริกาเหนือ รวมทั้งอุณหภูมิยังร้อนจัดชนิดทำลายสถิติทั่วโลก ไฟป่าบนเกาะเอเวีย ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ของกรีซ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2021 ทั้งกรีซ และตุรกี ที่เป็นเพื่อนบ้านต้องต่อสู้กับไฟป่าที่ลุกไหม้รุนแรงเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่อาณาบริเวณนี้เผชิญคลื่นความร้อนอย่างเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี ในอีกด้านหนึ่ง ไฟป่าที่ยิ่งรุนแรงจากความร้อนและความแห้งแล้งกำลังแผ่ปกคลุมหลายเมืองในภาคตะวันตกของอเมริกา ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเป็นประวัติการณ์จากป่าแถบไซบีเรีย และบีบให้ชาวกรีซต้องทิ้งบ้านหนีลงเรือเฟอร์รี นอกจากนั้น ขณะนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์จะยังคงละลาย ?แทบจะแน่นอน? และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นซึ่งจะสูงขึ้นต่อๆ ไปหากน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น รายงานสำทับว่า แม้จำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นและช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่เวลาของโลกกำลังจะหมดลง กล่าวคือ หากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในทศวรรษหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยจะยังคงสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2040 และอาจสูงขึ้น 1.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2060 ก่อนที่อุณหภูมิจะทรงตัว แต่ถ้าโลกยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่คาดการณ์ปัจจุบัน อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสในปี 2060 และ 2.7 องศาเซลเซียสเมื่อสิ้นศตวรรษ และสถานการณ์อาจเลวร้ายลง หากภาวะโลกร้อนทำให้เกิดวงจรป้อนกลับที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เช่น การละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) หรือการที่พืชพันธุ์ในป่าทั่วโลกประสบปัญหาตายจากยอดลงสู่โคนต้น (dieback) ภายใต้สถานการณ์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากเหล่านี้ อุณหภูมิโลกจะสูงกว่าระดับเฉลี่ยช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 4.4 องศาเซลเซียสภายในช่วงสองทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษนี้ (ที่มา: รอยเตอร์) https://mgronline.com/around/detail/9640000078670 ********************************************************************************************************************************************************* TIME จัดอันดับ "เขาใหญ่" เป็น1ใน100 สถานที่ยอดเยี่ยมแห่งปี2021 เครดิตภาพ Adam Dean?The New York Times/Redux นิตยสาร TIME จัดอันดับ "THE WORLD?S GREATEST PLACES OF 2021" 100 สถานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลก ประจำปี 2564 จุดหมายปลายทางที่ไม่ธรรมดาให้สำรวจ โดย "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับคัดเลือก TIME กล่าวว่า "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของประเทศไทย ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และได้รับประโยชน์จากการปิดการท่องเที่ยว โดยมีรายงานการพบเห็นสัตว์ป่า เช่น หมี กระทิง และสัตว์ต่างๆ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการดูแลรักษาความยิ่งใหญ่ของผืนป่าแห่งนี้ เช่น การดำเนินโครงการขยะคืนถิ่น โดยให้นักท่องเที่ยวนำขยะของตนเองออกมาทิ้งนอกพื้นที่อุทยาน" ทั้งนี้ "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่?" ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2505 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครนายก ปราจีนบุรี นครราชสีมา และสระบุรี ปัจจุบัน มีเนื้อที่ประมาณ 1,353,471.53 ไร่ หรือประมาณ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร และต่อมาในปี 2548 UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยรวมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก เข้าด้วยกัน เป็น "กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" นับเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 2 ของไทย ต่อจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ? ห้วยขาแข้ง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000077815
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 11-08-2021 เมื่อ 03:25 |
|
|