#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะไหหลำ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง สำหรับในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.ย. 64 บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ย. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
น้ำมันรั่วจากโรงงานซีเรีย ลอยข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้ถึงไซปรัส คราบน้ำมันในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรั่วไหลมาจากโรงกลั่นขนาดใหญ่สุดในซีเรีย กระจายวงกว้างมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะลอยไปไกลถึงเกาะไซปรัส สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานในวันพุธที่ 1 ก.ย. 2564 ว่า ทางการซีเรียเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า แทงก์น้ำมันซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงไว้ถึง 15,000 ตัน ที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน ในเมืองบานิยาส บริเวณชายฝั่ง รั่วไหลออกมาตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. แม้ตอนนี้จะควบคุมได้แล้ว แต่มีน้ำมันไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจำนวนมาก ภาพถ่ายจากดาวเทียมล่าสุดซึ่งวิเคราะห์โดยบริษัท Orbital EOS ชี้ว่า น้ำมันที่รั่วไหลออกมา มีจำนวนมากกว่าที่คิดเอาไว้ในตอนแรก โดยตอนนี้มันแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว่า 800 ตร.กม. หรือ เทียบเท่าพื้นที่ของนครนิวยอร์ก และอยู่ห่างจากชายฝั่งเกาะไซปรัสเพียง 7 กม.เท่านั้น ด้านกรมวิจัยการเดินทะเลและสัตว์น้ำของไซปรัส ระบุว่า เมื่อดูจากการจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันและข้อมูลทางอุตุนิยิมวิทยา คราบน้ำมันอาจเดินทางมาถึงแหลม อโพสโตลอส แอนเดรียส ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองบานิยาสไปทางตะวันตกราว 130 กม. ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ทั้งนี้ ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีภาพมากมายถูกเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ แสดงให้เห็นคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนชายฝั่งเมืองบานิยาสและเมืองเจเบลห์ ของซีเรีย ขณะที่ชาวบ้านท้องถิ่นหลายคนออกมาเตือนว่า มลภาวะที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ชาวเมืองบานิยาสคนหนึ่งบอกกับ ซีเอ็นเอ็น ว่า พื้นที่ชายฝั่งปนเปื้อนหนักมาก "ผู้คนไม่ต้องการสิ่งนี้ การใช้ชีวิตที่นี่ยากลำบากอยู่แล้ว และแน่นอนว่าเรื่องนี้จะกระทบต่อครอบครัวมากมาย และทำให้พวกเขาสูญเสียรายได้" "รัฐบาลเพียงส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้ามาพร้อมกับฟองน้ำและสายฉีดน้ำ พวกเขาไม่มีขีดความสามารถในการจัดการเรื่องนี้ คุณทำความสะอาดทะเลด้วยฟองน้ำไม่ได้" https://www.thairath.co.th/news/foreign/2183070 ********************************************************************************************************************************************************* ภูเขาไฟ เปรียบเสมือนวาล์วนิรภัยภูมิอากาศโลก มีงานวิจัยที่ก่อเกิดข้อสงสัยมานานเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่า ความเสถียรของสภาพอากาศของโลกในช่วงหลายสิบถึงหลายร้อยล้านปีนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลระหว่างสภาพดิน ฟ้า อากาศของพื้นทะเลและโครงสร้างภายในของทวีป ทว่าเมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีเคมีแห่งมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ในอังกฤษ ก็ได้ไขความกระจ่างเรื่องดังกล่าว การคลี่คลายความซับซ้อนในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจึงได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า "เอิร์ธ เน็ตเวิร์ก" (Earth Network) ซึ่งรวมเอาอัลกอริธึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องและการสร้างแผ่นเปลือกโลกขึ้นใหม่ สิ่งนี้ทำให้ทีมสามารถระบุปฏิสัมพันธ์ที่โดดเด่นภายในระบบการทำงานของโลกและวิธีทั้งหมดพัฒนาไปตามกาลเวลา ทีมวิจัยพบว่าเทือกเขาที่มีภูเขาไฟมีบทบาทที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของความรุนแรงด้านสภาพดิน ฟ้า อากาศ ในช่วง 400 ล้านปีที่ผ่านมา ปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มภูเขาไฟในเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ และภูเขาไฟแคสเคดในสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟเหล่านี้มีลักษณะของการสึกกร่อนสูงและเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากหินภูเขาไฟแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและมีปฏิกิริยาทางเคมีทำให้ผุพังอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่มหาสมุทร ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ในด้านหนึ่งภูเขาไฟเหล่านี้จะปั๊มคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจำนวนมาก จนทำให้เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ในทางกลับกัน ภูเขาไฟก็จะช่วยขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการทางธรรมชาติอันเนื่องจากสภาพดิน ฟ้า อากาศและสิ่งมีชีวิตเช่นกัน. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2181791
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
UN เผย ภัยพิบัติธรรมชาติ 50 ปี มูลค่าความเสียหาย 3.64 ล้านล้านดอลลาร์ REUTERS/Devika Krishna Kumar/File Photo ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างน้ำท่วม หรือคลื่นความร้อน (Heat wave) ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2 ล้านคน และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ วันที่ 1 กันยายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะของสหประชาชาติระบุว่า จำนวนภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างน้ำท่วม หรือคลื่นความร้อน (Heat wave) ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าเมื่อช่วง 50 ปีที่ผ่านมา รวมถึงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2 ล้านคน และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ทางองค์การได้ทำแบบสำรวจเหตุภัยพิบัติ 11,000 ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงปี 1979-2019 โดยรวมเหตุการณ์อย่างเช่น ภัยแล้งที่ประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 300,000 คน รวมถึง "เฮอริเคนแคทรีนา" เมื่อปี 2005 ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.64 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงานข่าวระบุว่า รายงานดังกล่าวขององค์การ ยังแสดงให้เห็นถึงเทรนด์ของจำนวนภัยพิบัติ ซึ่งกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจำนวนภัยพิบัติซึ่งเกิดขึ้นมากกว่าช่วงทศวรรษปี 1970 มากถึง 5 เท่า พร้อมกับระบุด้วยว่า ในอนาคตจะมีเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ "เพททรี ทาลาส" เลขาธิการใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่า มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเมื่อช่วงปีทศวรรษ 1970 ซึ่งมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 1.75 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงปีทศวรรษ 2010 มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.38 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ https://www.prachachat.net/world-news/news-752002
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|