#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตรและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกฝั่งจนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564 เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง อนึ่ง พายุโซนร้อน "โกนเซิน" (CONSON) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงอ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 ? 10 ก.ย. 64 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นตลอดช่วง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน "โกนเซิน" (CONSON) บริเวณตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงอ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564 ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ชาวสิเกาโอดเจอคลื่นกัดเซาะชายฝั่งหนักกว่าทุกปี วอนเร่งแก้ไขป้องกันส่วนที่เหลือด่วน ตรัง - คลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านหัวหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ปีนี้รุนแรงเพิ่มขึ้น จนทำให้ลานกีฬาพังเสียหายใกล้หมดแล้ว ขณะที่ผืนดินพังลงไปในทะเลกว่า 100 เมตร วอนเร่งแก้ไขป้องกันส่วนที่เหลือด่วน ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และนายก อบต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง นำผู้สื่อข่าวลงตรวจสอบสภาพปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านหัวหิน หมู่ 6 ต.บ่อหิน อ.สิเกา ซึ่งมีระยะทางยาวตลอดแนวชายฝั่งกว่า 250 เมตร โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าลานกีฬาอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน จนถึงถนนเส้นรอบหมู่บ้าน ได้พบเห็นถึงสภาพความเสียหายที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่มีการร้องเรียนมาตลอดระยะเวลาประมาณ 15 ปี เพราะทำให้ทั้งผืนดิน ทุ่งสวนสน และถนนเลียบชายหาดที่เป็นตัวหนอน ขณะนี้ได้ถูกคลื่นซัดหายไปทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะผืนดินได้ถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่งหายกลายเป็นทะเลลึกเข้ามาไม่ต่ำกว่า 100 เมตรแล้ว ขณะที่ทุ่งสวนสนซึ่งเหลือเพียงไม่กี่ต้นกำลังจะล้มตาม ส่วนลานกีฬาก็พังยับเยินจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ใดๆ ได้อีกต่อไป และอีกไม่นานคลื่นจะกัดเซาะลามไปถึงอาคารศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว ซึ่งก่อสร้างพร้อมกับลานกีฬา อาคารที่พักนักท่องเที่ยว ห้องน้ำ และการปรับภูมิทัศน์ ด้วยงบประมาณรวม 4,978,000 บาท แม้ที่ผ่านมา อบต.บ่อหิน ร่วมกับชาวบ้านจะพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขป้องกันสิ่งก่อสร้างส่วนที่เหลือ แต่ไม่เป็นผล โดยปีนี้สภาพคลื่นลมมีความรุนแรงมากที่สุด นอกจากนั้น ล่าสุดทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ยังได้เข้ามาสำรวจออกแบบการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาท และขณะนี้เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าแล้ว พร้อมทั้งมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนมาทำประชาพิจารณ์สอบถามความเห็นของประชาชนแล้ว 3 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดเรื่องเงียบหายไปกับสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ความเสียหายจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่งกลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ด้านนายจอมรวย เกลี้ยงช่วย นายก อบต.บ่อหิน กล่าวว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวเกิดขึ้นสะสมนานแล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยปีนี้มากที่สุด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งด่วนดำเนินการ เพราะเสียหายหนักแล้ว เชื่อว่าอีก 1-2 ปี สิ่งก่อสร้างต่างๆ ริมชายหาดน่าจะถูกคลื่นกัดเซาะจนหมด รวมทั้งถนนเส้นทางสายหลักที่ใช้สัญจรไปมาเพื่อทำการเกษตรจะพังเสียหายทั้งหมดด้วย ชาวบ้านจะยิ่งได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น ส่วนทาง อบต.ก็ตอบยาก เพราะเป็นงบประมาณของหน่วยงานนอก https://mgronline.com/south/detail/9640000089081
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ภัยพิบัติธรรมชาติ โหดจัด! คร่าชีวิตกว่า 2 ล้านคน "รุนแรงขึ้น 5 เท่า ในรอบครึ่งศตวรรษ" เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าแคลิฟอร์เนีย ครั้งรุนแรงและยาวนาน เมื่อปี 2020 และแผ่นดินไหวถล่มเฮติ ในปีนี้ ที่ยังไม่นับรวมด้วย รายงานฉบับใหม่โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดบ่อยขึ้น 5 เท่า คร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 2 ล้านคน และทำเศรษฐกิจโลกเสียหายมากกว่า 100 ล้านล้านบาท องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผยแพร่รายงานฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ว่าผลจากความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศของโลกประมาณ 11,000 เหตุการณ์ ในรอบ 50 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่ปี1970 ถึง 2019 (พ.ศ. 2513-2562) ซึ่งรวมถึงวิกฤตภัยแล้งในเอธิโอเปีย เมื่อปี 1983 (พ.ศ.2526) ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 330,000 ราย และพายุเฮอริเคน "แคทรีนา" ที่ถล่มสหรัฐ เมื่อปี 2005 (พ.ศ.2548) วิกฤตภัยแล้งในเอธิโอเปีย เมื่อปี 1983 ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีสาเหตุมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านความถี่ที่เกิดขึ้น และระดับของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า จากระยะเวลาช่วงเริ่มต้นของฐานข้อมูล คือปี 2513 มาจนถึงช่วงทศวรรษปัจจุบัน ซึ่งความถี่ของการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติแปรสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน พายุเฮอริเคน ชื่อว่าแคทรีนา ในสหรัฐ เมื่อปี 2005 ขณะเดียวกัน การที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความรุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจาก 175,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 5.67 ล้านล้านบาท ) ในช่วงเวลาเริ่มต้นของฐานข้อมูล เป็น 1.38 ล้านล้านดอลาร์สหรัฐ ( ราว 44.65 ล้านล้านบาท ) ในช่วงทศวรรษล่าสุดนับตั้งแต่ปี 2553 เนื่องจากสหรัฐเผชิญกับอิทธิพลของเฮอริเคนหลายลูก คลื่นยักษ์สึนามิ ที่ญี่ปุ่น เมื่อปี 2011 ทั้งนี้ บทเรียนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง "ล้วนมีราคาแพง" ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 117.68 ล้านล้านบาท ) ตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แต่ทำให้มนุษย์เพิ่มการศึกษา มีการรับมือและการแก้ไขสถานการณ์ที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง จากเฉลี่ยปีละมากกว่า 50,000 ราย ในช่วงเริ่มต้นของการสำรวจ ลงมาอยู่ที่ประมาณ 18,000 รายต่อปี อย่างไรก็ตาม รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกทิ้งท้ายว่า ประเทศที่ยากจนและกำลังพัฒนายังคงต้องการความสนับสนุนด้านระบบเตือนภัยสภาพอากาศ เนื่องจากมีเพียงสมาชิกดับเบิลยูเอ็มโอเพียงครึ่งเดียว จากทั้งหมด 193 ประเทศ ที่มีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และ 91% จากจำนวน 2 ล้านรายของผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติบนโลกตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ข้อมูลอ้างอิง https://www.npr.org/2021/09/07/10346...to-climate-cha https://www.voanews.com/usa/un-study...-last-50-years https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000089072
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|