#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17 - 19 ก.ย. 64 ร่องมรสุมพาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 - 22 ก.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในวันที่ 20 - 22 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ยูเนสโก ประกาศดอยหลวงเชียงดาว เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก วันนี้ 16 กันยายน 2564 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดแถลงข่าว แถลงผลการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) หลังที่ประชุมมีมติให้ขึ้นพื้นที่ดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก ณ เมืองอาบูจา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 นายวราวุธ เปิดเผยว่า นับเป็นเวลา 45 ปีที่ประเทศไทยมีส่วนร่วมในโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก พื้นที่สงวนชีวมณฑลได้พัฒนาคุณค่าของการเป็นพื้นที่เพื่อการศึกษาวิจัยสู่พื้นที่แห่งการมีส่วนร่วมเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืนตลอดเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีพื้นที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล จำนวน 4 แห่ง ต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่มีพื้นที่ที่ได้รับความสำคัญในเชิงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในระดับสากล นายวราวุธ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล ครั้งที่ 33 ณ เมืองอาบูจา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ยูเนสโก ได้รับรองพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความมหัศจรรย์ไม่เพียงแต่ในด้านของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ และสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นและหายาก แต่ยังรวมถึงความผูกพันทางจิตวิญญาณของผู้คนท้องถิ่นที่มีต่อดอยเชียงดาว ปราชญ์ ศิลปิน ผู้นำและชุมชนที่เข้มแข็ง เต็มเปี่ยมด้วยจิตสำนึกรักบ้านเกิดและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะส่งต่อให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ด้วยศักยภาพของพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาวในการเป็นต้นแบบของ การบูรณาการความรู้ ทั้งด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (BCG Economy) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมที่ยั่งยืน และแนวคิด เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ ในระดับประเทศและสากล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวเชียงดาวและจังหวัดเชียงใหม่ "ทส.จึง เสนอพื้นที่ดอยเชียงดาว เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก โดยหวังว่าสถานะของพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่เป็นสากลจะเป็นประโยชน์ต่อชาวเชียงดาวในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้อยู่คู่กับชาวเชียงดาวอย่างยั่งยืน บนฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มั่นคงในระยะยาว ในโอกาสนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลและสะท้อนคุณค่าอนันต์ของดอยเชียงดาวให้สากลรับทราบ การเสนอขึ้นทะเบียนพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาวในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวใหม่ของพื้นที่สงวนชีวมณฑลในประเทศไทย ที่จะส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมไทยต่อไป "นายวราวุธ กล่าว สำหรับพื้นที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านภูมิทัศน์ด้วยภูเขาหินปูนโดดเด่นตระหง่าน มีดอยหลวงเชียงดาวซึ่งเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับสามของประเทศไทย ในภาพรวมพื้นที่นำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิงตอนบนโดยมีทั้งระบบนิเวศดั้งเดิมที่ได้รับการปกปักษ์รักษามาอย่างยาวนาน และพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูให้คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี ธรรมชาติที่เป็นแกนกลางของพื้นที่ดอยเชียงดาวได้อำนวยนิเวศบริการแก่ชุมชนโดยรอบ มีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่หาได้ยากยิ่งในประเทศไทย พื้นที่นำเสนอนี้เป็นถิ่นอาศัยของพรรณไม้มากกว่า 2,000 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของพรรณไม้ในประเทศไทย และมีพรรณไม้ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าภูมิประเทศนี้ทอดยาวลงมาจากตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ราบสูง Quinhai-Tibet และจีนตอนใต้ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า จำนวน 672 ชนิด จาก 358 สกุล ใน 91 วงศ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวซึ่งเป็นหัวใจของทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้พื้นที่เป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผา และเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนเชียงดาวถึงความสำเร็จในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่เชียงดาวมีประวัติการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาเป็นเวลามากกว่า 600 ปี ดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากะญอ และวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ พื้นที่ดอยเชียงดาวยังมีความสำคัญต่อจิตวิญญาณของผู้คนในล้านนา ความเชื่อเกี่ยวกับ เจ้าหลวงคำ แดงซึ่งสถิตอยู่บนดอยหลวงเชียงดาว ตำนานถ้ำเชียงดาว ที่ปรากฏในหลายสำนวนกระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือของไทย และเชื่อว่าเจ้าหลวงคำแดงเป็นสัญลักษณ์ร่วมของชนเผ่าไทในลุ่มน้ำโขงอีกด้วย ตำนานเจ้าหลวงคำแดงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ได้ การจัดตั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑลคาดว่าจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น หลายด้าน อาทิ การถ่ายทอดความรู้ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม การส่งเสริมการพัฒนาการให้บริการที่เป็นมืออาชีพทั้งด้านการท่องเที่ยว และการศึกษาธรรมชาติ การเพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้า ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ผลิตในพื้นที่นำเสนอ ด้วยการควบคุมคุณภาพของสินค้าภายใต้การเป็นแหล่งสงวนชีวมณฑล การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี และความอุดมสมบูรณ์ไว้ให้ประชาชน เกิดการบูรณาการกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ตอบสนองเป้าหมายร่วมให้ พื้นที่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ระบบนิเวศ การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของชุมชน และการถ่ายทอดความรู้และวิทยาการต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายพื้นที่สงวน ชีวมณฑลอื่น ๆ ทั่วโลก และ เป็นความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดที่ได้รับความสำคัญในระดับสากล https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_2942536 ********************************************************************************************************************************************************* คณะประมง มก.เปิดยุคใหม่เลี้ยงสัตว์น้ำกลางทะเล ผสมผสาน-ยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟชบุ๊ก อธิบายการทำประมงยุคใหม่ ของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษศาสตร์ นั่นคือ การเลี้ยงสัตว์น้ำในซูปเปอร์กระชังกลางทะเล โดย อ.ธรณ์ เขียนไว้ ดังนี้ เรือของคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กำลังลากซูเปอร์กระชังออกสู่ท้องทะเลไทย เปิดยุคใหม่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานและยั่งยืน ???? อาจยังมีคำถามมากมาย อาจมีข้อสงสัย แต่ไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มวันไหน ไม่ทำวันนี้แล้วจะรอวันต่อไปและต่อไป แล้ววันไหนถึงจะทำ ? นั่นคือเหตุผลที่คณะประมงทำงานหนักตลอด 2 ปีแห่งโควิด เราเลือกกระชังจากจีนเป็นต้นแบบ แต่ยังทำข้อตกลงร่วมกับนอร์เวย์ เพื่อผสมผสานเทคนิคเลี้ยงสัตว์น้ำจากสองผู้นำโลก IMTA คือการเพาะเลี้ยงที่มีทั้งปลา ทั้งหอย ทั้งสัตว์น้ำอื่นๆ และสาหร่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยว ลดผลกระทบจากการให้อาหารให้น้อยสุด (ดูภาพในคอมเมนต์นะครับ) อีกทั้งยังบริหารความเสี่ยงด้วยผลผลิตหลากหลาย ผลิตสัตว์น้ำเป็นช่วงๆ ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและส่งออก นี่คือการเพาะเลี้ยงของโลกยุคใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ใช้การวัดคุณภาพน้ำ real time ใช้ AI ช่วยให้อากาศและให้อาหาร ควบคุมได้จากระยะไกล ฯลฯ และเมื่อเราใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ ยิ่งช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับโลก ประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลมากมาย หากเราปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ใช้เทคโนโลยีและความรู้มาเป็นตัวช่วย เรายังคาดหวังกับเรื่องดีๆ ในทะเลไทยได้ ทุกความคาดหวังเริ่มต้นด้วยการลงมือทำ วันนี้ กระชังยักษ์ลอยอยู่ในทะเลไทยเป็นที่เรียบร้อย เพื่อเริ่มต้นความคาดหวังใหม่ๆ ย่อหน้าสุดท้าย เขียนด้วยความภาคภูมิใจ ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่อยู่คณะประมงครับ https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_2942233
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|