#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 - 24 ก.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนลางและลาวตอนกลาง ในช่วงวันที่ 19 - 20 ก.ย. 64 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20- 25 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
UN เตือน แผนลดโลกร้อนกำลังไปผิดทาง จี้นานาชาติรีบหั่นก๊าซเรือนกระจก องค์การสหประชาชาติออกโรงเตือนว่า แม้ตอนนี้นับร้อยประเทศมีแผนรับมือกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่โลกยังคงกำลังร้อนขึ้นไปสู่ระดับที่อันตราย สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหลายคนได้วิเคราะห์แผนรับมือปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ของรัฐบาลมากกว่า 100 ประเทศ และได้ข้อสรุปว่า พวกเขากำลังไปผิดทาง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งออกมายืนยันว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกร้อน ทั่วโลกจำเป็นต้องตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 45% ของระดับปัจจุบัน ภายในปี 2573 แต่ผลการวิเคราะห์ใหม่กลับพบว่า ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงเวลาดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นถึง 16% เรื่องนี้หมายความว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นจากยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 2.7 องศาเซลเซียส ไกลกว่าขีดจำกัดที่ทั่วโลกขีดเอาไว้ที่ 1.5 องศาฯมาก ?การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 16% นั่นเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก? นางแพทริเซีย เอสปิโนซา หัวหน้าผู้แทนเจรจาด้านสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติกล่าว ทั้งนี้ การเปิดเผยล่าสุดสะท้อนให้เห็นขนาดของความท้าทายที่นานาชาติต้องเผชิญที่การประชุมสุดยอดด้านภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ในอีก 6 สัปดาห์ข้างหน้า โดยภายใต้ความตกลงปารีส ชาติที่เข้าร่วมต้องอัปเดตแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของประเทศทุกๆ 5 ปี แต่สหประชาชาติพบว่า จากชาติสมาชิกทั้งหมด 191 ประเทศ มีเพียง 113 ประเทศที่มีแผนที่ได้รับการอนุมัติ โดยนายอาลอค ชามาร์ รัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งจะร่วมการประชุม COP26 ด้วย กล่าวว่า ประเทศที่มีแผนสภาพอากาศสามารถเปลี่ยนเส้นกราฟการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำลงมาได้แล้ว แต่หากไม่มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ความพยายามเหล่านี้จะสูญเปล่า ขณะที่ผลการศึกษาโดยองค์กรอิสระด้านแผนสภาพอากาศ 'Climate Action Tracker' พบว่า มีไม่กี่ประเทศเท่านั้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 20 (G20) รวมทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ที่เพิ่มเป้าหมายการตัดลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่จีน, อินเดีย, ซาอุดีอาระเบีย และตุรกี ซึ่งมีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึง 33% ของปริมาณทั้งหมด ยังไม่ได้ยื่นแผนอัปเดตเลย ส่วน บราซิล, เม็กซิโก และรัสเซีย ยังมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น นายโซยนัม พี. วังดี ประธานกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่สุด (Least Developed Countries group) ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และคลื่นความร้อนกับความแห้งแล้งสุดขั้ว อันเป็นผลการที่อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ออกมาเรียกร้องใหชาติ G20 รีบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเร็ว "ประเทศเหล่านี้มีศักยภาพและมีส่วนรับผิดชอบใหญ่หลวงที่สุด และมันเลยเวลาที่พวกเขาควรยกระดับมาตรการ และแก้วิกฤตินี้ให้เหมือนกับว่ามันเป็นวิกฤติจริงๆ มานานแล้ว". https://www.thairath.co.th/news/foreign/2197241
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
สภาพอากาศสุดขั้ว! WMO ส่งสัญญาณหายนะ "เกิดถี่และรุนแรงขึ้น" องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ออกเป็นรายงานฉบับแรก เปิดเผยความเชื่อมโยงระหว่าง คุณภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน และโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19 WMO ตรวจสอบความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่าง 3 ปัจจัย คือ คุณภาพอากาศกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรการล็อคดาวน์จากการควบคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 แม้ว่าได้รับข่าวดีในช่วงแรกๆ ว่าการระบาดของโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปล่อยมลพิษลดลง แต่สิ่งที่ตามมาอีกนั้นยังไม่จบ ผลลัพธ์จากมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลกำหนดและข้อจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด-19 ส่งผลให้คุณภาพอากาศดีขึ้นในหลายส่วนของโลก ตัวอย่าง เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย) มีปัญหาอนุภาคในอากาศลดลง 40% ในปี 2563 นี่เป็นข่าวดี แต่เป็นข่าวดีแค่ช่วงสั้นๆ เพราะทันทีที่โรคระบาดคลายตัวลง การล็อคดาวน์ก็ไม่จำเป็นอีก การปล่อยมลภาวะก็จะเพิ่มขึ้นอีก แต่มันไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะ WMO ยังพบด้วยว่า ในช่วงเวลาเดียวกันเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมกลับทำให้เกิดพายุทรายและฝุ่นรวมถึงไฟป่าที่ยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน WMO กล่าวถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ว่า ระหว่างปีที่แล้วและในปีนี้ที่มีการล็อคดาวน์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะปล่อยมลภาวะลดลง (ซึ่งก็ไม่ได้ลดอย่างยั่งยืนอีก) ธรรมชาติยังทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการทำให้ภาวะโลกร้อนติดลมบนจนกระทั่งไม่ต้องมีมนุษย์ ธรรมชาติก็ยังขับเคลื่อนกระบวนการทำลายคุณภาพอากาศด้วยตัวมันเอง มีเหตุการณ์ที่รุนแรงมากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2563 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ของมวลชีวภาพ โดยเฉพาะไฟป่าหลายพื้นที่ เช่น ในไซบีเรียและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ไฟป่าเหล่านี้ก่อให้เกิดมลพิษจนเกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในพื้นที่ และไม่ใช่แค่ในพื้นที่นั้น ๆ พวกเขายังพบว่า เหตุการณ์ไฟป่าในออสเตรเลียยังทำให้คุณภาพอากาศลดลงอย่างมากในส่วนต่าง ๆ ของโลก WMO ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสามารถส่งผลต่อระดับมลพิษโดยตรง พวกเขาบอกว่า ความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อนอาจนำไปสู่การสะสมของสารมลพิษใกล้พื้นผิวของโลกมากขึ้น รายงานระบุว่าไฟป่าที่รุนแรงได้ปะทุขึ้นในหลายส่วนของโลก ฝุ่นและพายุทรายขนาดมหึมายังทำให้มลพิษทางอากาศแย่ลงอีกด้วย นี่คือความน่ากลัวของ "climate change" ถึงแม้ว่า น้ำมือมนุษย์จะมีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดเรื่องพวกนี้ แต่เมื่อมันติดลมบนแล้ว เราจะพบว่า ธรรมชาติเริ่มที่จะขับเคลื่อนการทำลายตัวเองโดยไม่ต้องยืมมือมนุษย์อีก ธรรมชาติแปรปรวนจนสร้างไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในช่วงเวลาแค่ 2 ปีมานี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงที่มนุษย์กักตัวเองและลดการสร้างมลพิษ ถึงแม้มนุษย์จะกักตัวเองด้วยมาตรการล็อคดาวน์ และได้ชื่นชมกับท้องฟ้าสีครามไร้มลพิษและฝุ่นพีเอ็มช่วงสั้นๆ แต่เรายังไม่รอดจากผลกระทบระยะยาว ลองดูตัวอย่างที่นิวซีแลนด์ที่เป็นเกาะห่างไกลและเหมือนจะล็อคดาวน์ตัวเองจากโลกภายนอก ตอนนี้นิวซีแลนด์กำลังเจอกับผลของภาวะโลกร้อนที่คาดไม่ถึง เมื่อไม่นานนี้สถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (NIWA) ของนิวซีแลนด์ระบุว่า อุณหภูมิในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม สูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.32 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมที่เคยตั้งไว้ในปีที่แล้ว ทำให้ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวที่อุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์ (นิวซีแลนด์มีฤดูหนาวอยู่ช่วงกลางปี เนื่องจากอยู่ในซีกโลกใต้) นิวซีแลนด์ที่ดูเหมือนจะห่างไกลจากหายนะ หรือในออสเตรเลียที่เกิดไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในโลก ตอนนี้พวกเขาพบว่า สถานีตรวจวัดแห่งหนึ่งใกล้เมืองเวลลิงตันที่เคยบันทึกความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 320 ส่วนต่อล้านในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่ตอนนี้ระดับอยู่ที่ 412 ส่วนต่อล้านส่วนหรือเพิ่มขึ้นเกือบ 30% WMO เตือนว่า มลพิษทางอากาศมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ การประมาณการจากการประเมินภาระโรคทั่วโลกล่าสุด (Global Burden of Disease) แสดงให้เห็นว่า การเสียชีวิตจากมลพิษทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 2.3 ล้านคนในปี 2535 เป็น 4.5 ล้านคนในปี 2562 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่นละออง https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000092821
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ปัญหาน้ำเสียจากชุมชน แหล่งกำเนิดใหญ่ที่รอการแก้ไขให้เป็นรูปธรรม ............. โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิต สมัยก่อนหลายคนคงเคยเห็นแม่น้ำลำคลองใสสะอาดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริโภคและอุปโภคได้ แต่ในปัจจุบันคุณภาพน้ำเสื่อมลง ก่อให้เกิด น้ำเน่าเสีย มีสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น จนไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ และยังมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่างๆ ที่มากับน้ำ รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ขณะนี้ ในวันหนึ่งๆ เราจะใช้น้ำประมาณ 150 -200 ลิตรต่อคนต่อวัน จากกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ตื่นนอน น้ำดีจึงกลายเป็นน้ำเสีย เพราะฉะนั้นปัญหาของน้ำเสียส่วนใหญ่จึงมาจากแหล่งชุมชน ประกอบด้วย บ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ตลาด ศูนย์การค้า หรือหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งส่วนมากจะไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีแต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง น้ำเสียส่วนใหญ่จึงถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ คู คลอง แม่น้ำ และทะเล ส่วนแหล่งในพื้นที่ท่องเที่ยวในขณธปกติหลายพื้นที่มีคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรม แต่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 คุณภาพน้ำทะเลโดยทั่วไปจะดีขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวลดลง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลฟื้นตัว จะเห็นได้จากการกลับมาของสัตว์ทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ ความท้าทายของการจัดการน้ำเสียให้เป็นรูปธรรม ปัญหาน้ำเน่าเสียของประเทศไทยก็เป็นประเด็นความท้าทายที่หลายหน่วยงานพยายามหาทางแก้ไขโดยมีเป้าหมายฟื้นฟูแหล่งน้ำสำคัญๆในแม่น้ำสายหลักและชายฝั่งทะเล ต้นเหตุหลักมาจากแหล่งชุมชนโดยเฉพาะชุมชนเมืองที่อยู่ริมน้ำดังกล่าวแล้ว ที่ประเมินสัดส่วนน้ำเสียกว่าร้อยละ 70 รองลงมาคือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเกษตร ทั้ง การเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการปศุสัตว์ ดังนั้นการฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็น หลายแห่งก็ยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสีย โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครมีการบำบัดน้ำเสียได้ประมาณร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือมากว่าร้อยละ 60 ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำ คูคลอง ในเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศไทย มีระบบบำบัดน้ำเสียกว่า 100 ระบบ แต่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือยังบำบัดน้ำเสียไม่ได้มาตรฐาน และหลายพื้นที่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการหรือไม่มีโครงการที่จะดำเนินการแม้เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญที่ทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย แหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม จะต้องดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เพื่อลดของเสียลงสู่ คูคลอง แม่น้ำ และทะเล ผลกระทบที่เห็นชัดแล้ว ได้แก่ น้ำทะเลเป็นสีเขียวๆ ที่เรียกว่า สาหร่อยบูม หรือ แพงค์ตอนบลูม ทำให้น้ำขาดออกซิเจนในบางเวลา กระทบต่อวงจรชีวิตสัตว์น้ำ หรือกรณีน้ำเน่าเสียในหลายพื้นที่โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย หาดป่าตอง เกาะพีพี เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ระดับนานาชาติรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากและสร้างรายได้ให้ประเทศ แต่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้บริการนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันในพื้นที่ที่มีการบำบัดน้ำเสียก็ยังมีข้อจำกัด น้ำส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านระบบบำบัด หรือบำบัดไม่ได้ตามมาตรฐานได้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน และหลังโควิด -19 พบว่าแหล่งน้ำในเมืองท่องเที่ยวภาพรวมมีคุณภาพน้ำดีขึ้น ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวลดลง และก็น่าจะดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น แต่น้ำเสียจากแหล่งชุมชนทั่วประเทศยังคงมีคุณภาพไม่ดี จะเห็นได้จากคูคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังพบน้ำเน่าเสียโดยทั่วไป จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ต้นปี 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 แหล่งน้ำเสื่อมโทรมก็ยังมี จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำประมาณแหล่งน้ำ 375 พื้นที่ มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์มีคุณภาพน้ำต่ำ อยู่ในระดับเสื่อมโทรม อย่างแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำระยองตอนล่าง ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมน้ำ ปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลองและชายฝั่งทะเลโดยตรง รวมทั้งการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมต่อไป ปัญหาน้ำเน่าเสีย อีกสาเหตุสำคัญจากการ "ปล่อยสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่แหล่งน้ำ" นอกจากการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำแล้ว ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยลงคูคลอง สิ่งนี้เป็นปัญหาที่ต้องมองในอนาคต อย่างทีเห็นมีการทิ้งขยะชิ้นใหญ่ ได้แก่ ชุดรับแขก ที่นอนใช้แล้ว ลอยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งตรงนี้ยังขาดระบบการจัดการ แต่เมื่อมองกลับกันก็น่าเห็นใจคนที่นำมาทิ้งเพราะไม่รู้จะทิ้งที่ไหน นำไปทิ้งหน้าบ้านคนเก็บขยะก็ไม่เก็บให้ จึงต้องผลักดันลงแหล่งน้ำ ในหลายเขตพยายามรวบรวมขยะชิ้นใหญ่ ซึ่งตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาจัดการโดยใช้ระบบให้เช่าแทนการขาย ระบบเช่าที่นอนบางส่วนสามารถนำกลับไปซ่อมแซมได้ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และลดของเสียที่จะเกิดขึ้น หลายคนมองว่า..ทำไมไม่ใช้กฎหมายเข้ามาบังคับใช้ หากมองว่าทำไมไม่มีกฎหมายบังคับใช้ ความเป็นจริงแล้วกฎหมายในเรื่องนี้เรามีอยู่หลายฉบับ แต่ก็ยังมีปัญหาการบังคับใช้อยู่ และที่สำคัญ คือจิตสำนึกของคน เพราะต้นเหตุของน้ำเสียคือ มนุษย์ ดังนั้นจึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใข ให้เกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างและดำเนินการระบบการจัดการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤตก็จะต้องให้ความสำคัญของดำเนินโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเนื่องจากเป็นโครงการที่จะต้องลงทุนสูง จังหวะนี้น่าจะเป็นการถือโอกาสในการฟื้นฟูระบบจัดการของเสีย ทั้งน้ำเสียและขยะมูลฝอย เพื่อเตรียมการรับฤดูท่องเที่ยวหลังโควิด-19 และสร้างระบบบริหารจัดการตามศักยภาพการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว ปัญหาน้ำเสียก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพราะทุกคนใช้น้ำ น้ำดีจึงกลายเป็นน้ำเสีย เราสามารถจะช่วยแก้ปัญหาได้แก่ การช่วยกันลดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้น้ำ น้ำเสียก็จะน้อยลง ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยลดของเสียอื่นๆ ด้วย ขณะเดียวกัน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ รัฐบาลเยอรมัน ผ่าน GIZ กำลังศึกษาระบบธรรมชาติที่จะช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ เช่น ถ้าเราจะสร้างฝาย หรือ เขื่อนกักน้ำ ต้องดูว่าควรจะมีโครงสร้างลักษณะเช่นไรถึงจะเอื้อต่อสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบที่การรองรับและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000092795
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|