#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางนาม ประเทศเวียดนามแล้ว มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 260 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย คาดว่าจะอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ของประเทศไทยในวันนี้ (24 ก.ย 64) ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 24 - 26 ก.ย. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 ? 29 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง อนึ่ง พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันพรุ่งนี้ (24 กันยายน 2564) และจะอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในช่วงวันที่ 24-25 กันยายน 2564 ตามลำดับ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 24 - 26 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" " ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 24 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (24 ก.ย. 64) พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่"ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางนาม ประเทศเวียดนามแล้ว มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 260 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญของประเทศไทย หรือที่ละติจูด 15.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่ชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ของประเทศไทยในวันนี้ (24 ก.ย 64) ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 24 กันยายน 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 25 กันยายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ตาก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"ซูเปอร์กระชัง" คณะประมง มก. นำร่อง IMTA สู่ยุควิถีใหม่ของ "การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานและยั่งยืน" ซูเปอร์กระชัง นำร่องสู่ยุควิถีใหม่ในการทำประมงไทย ในภาพ เรือของคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กำลังลาก "กระชังยักษ์" หรือซูเปอร์กระชังออกสู่ท้องทะเลไทย โพสต์บนเพจเฟซบุ๊ค Thon Thamrongnawasawat (เมื่อ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา) โดยบอกว่า เปิดยุคใหม่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานและยั่งยืน ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า อาจยังมีคำถามมากมาย อาจมีข้อสงสัย แต่ไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มวันไหน ไม่ทำวันนี้แล้วจะรอวันต่อไปและต่อไป แล้ววันไหนถึงจะทำ ? นั่นคือเหตุผลที่คณะประมงทำงานหนักตลอด 2 ปีแห่งโควิด เราเลือกกระชังจากจีนเป็นต้นแบบ แต่ยังทำข้อตกลงร่วมกับนอร์เวย์ เพื่อผสมผสานเทคนิคเลี้ยงสัตว์น้ำจากสองผู้นำโลก สำหรับพื้นที่ทำการทดลอง "ซูเปอร์กระชัง" คณะประมง มก.ได้ขออนุญาตจากกรมประมงแล้ว ใช้พื้นที่ห่างจากชายฝั่งทะเล อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร ตัวกระชังจะมี 2 วง คือ วงนอก ประมาณ 10 เมตร วงในประมาณ 5-6 เมตร การทำระบบทุกขั้นตอนจะทำเต็มรูปแบบ นั่นคือ มีระบบให้อาหารแบบออโตฟีด สั่งการผ่านระบบออนไลน์ตามปฏิกิริยาความต้องการอาหารของปลา มีเครื่องวัดความสะอาดของน้ำและปริมาณออกซิเจนในน้ำ มีกล้องใต้น้ำเพื่อตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในกระชังและบริเวณรอบๆ ทั้งหมดก็เพื่อเป็นบรรทัดฐานและตัวชี้วัดว่าระบบดังกล่าวนี้จะต้องมีการลดหรือเพิ่ม หรือแก้ปัญหาอะไรส่วนไหนที่อาจจะเกิดขึ้นมาบ้าง IMTA หรือ Integrated Multi-Trophic Aquaculture Systemคือการเพาะเลี้ยงที่มีทั้งปลา ทั้งหอย ทั้งสัตว์น้ำอื่นๆ และสาหร่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยว ลดผลกระทบจากการให้อาหารให้น้อยสุด อีกทั้งยังบริหารความเสี่ยงด้วยผลผลิตหลากหลาย ผลิตสัตว์น้ำเป็นช่วงๆ ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและส่งออก (ดูภาพประกอบ อ้างอิงจาก https://www.researchgate.net/.../A-simplified-schematic) IMTA จึงเป็นการทำประมงที่ทุกสิ่งเกื้อกูลกัน ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนทำประมงเอง นับเป็นวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และทำให้การดำรงชีวิตของชาวประมงมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่าเป็นการทำประมงที่ทุกสิ่งเกื้อกูลกัน ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนทำประมงเอง ดร.ธรณ์ บอกว่า นี่คือการเพาะเลี้ยงของโลกยุคใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ใช้การวัดคุณภาพน้ำ real time ใช้ AI ช่วยให้อากาศและให้อาหาร ควบคุมได้จากระยะไกล ฯลฯ และเมื่อเราใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ ยิ่งช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับโลก "ประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลมากมายครับ หากเราปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ใช้เทคโนโลยีและความรู้มาเป็นตัวช่วย เรายังคาดหวังกับเรื่องดีๆ ในทะเลไทยได้ ทุกความคาดหวังเริ่มต้นด้วยการลงมือทำครับ" ช่วงที่ผ่านมา คณะประมงประมวลถึงปัญหาและพยายามหาทางออกกับเรื่องที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยยังพบว่าในระบบของการทำประมงนั้น ประเทศไทยมีเรื่องของการจับและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นหลัก ซึ่งเรื่องการจับสัตว์น้ำนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะมีไอยูยู หรือประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมเข้าไปแก้ปัญหา และที่ผ่านมาก็จะพบว่าหลังการแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ ปริมาณสัตว์น้ำที่ชาวประมงจับได้ ก็เพิ่มมากขึ้น นั่นคือ 27 กิโลกรัมต่อชั่วโมง หรือลากอวน 1 ชั่วโมง ได้ปลาประมาณ 27 กิโลกรัม แต่ความจริงที่เราจะต้องยอมรับก็คือ ทะเลมีขนาดเท่านี้ การจะจับปลาให้มากขึ้น ก็มากขึ้นไม่ได้มากนัก ดังนั้น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตทางการทำประมงอีกทางหนึ่ง แต่อะไรที่ทำมากไปหรือขาดการเอาใจใส่มักจะมีปัญหาตามมาเสมอ อย่างเช่นการทำนากุ้งเชิงเดี่ยว ที่ทำให้ป่าชายเลนหายไปจำนวนมาก อาหารกุ้งหลายพื้นที่ทำให้น้ำเน่าเสีย และการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเวลานี้มีพื้นที่จำกัด ส่วนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล เช่น การเลี้ยงหอย เป็นการเลี้ยงแบบเชิงเดี่ยว การเลี้ยงปลาในกระชัง อาหารที่ปลากินไม่หมด ไหลไปรวมกองสุมอยู่ที่ปากแม่น้ำ ส่งผบกระทบ เกิดแพลงตอน บรูม ตามมา ดร.ธรณ์ ย้ำว่า การทำประมงแบบผสมผสานและยั่งยืน ที่ทางคณะประมง มก.กำลังดำเนินการแบบเต็มรูปแบบนั้น ที่เรียกว่า IMTA จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และทำให้การดำรงชีวิตของชาวประมงมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น การทำประมง IMTA ในช่วงนำร่อง เรานำกระชังขนาดใหญ่ ออกห่างจากชายฝั่ง กระชังแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเลี้ยงปลา ทางคณะประมงเลือกใช้ปลากะพงขาว เพราะเป็นปลาพื้นถิ่นและขายง่ายที่สุด ชั้นที่ 2 ใช้เลี้ยงหอยแมลงภู่ เนื่องจากหอยแมลงภู่เป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติเป็นตัวกรองน้ำชั้นเยี่ยม และบริเวณด้านล่างของกระชัง เป็นปลิงทะเล เพราะปลิงทะเลมีข้อดีคือ เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูงมาก อีกอย่างคือจะเป็นตัวที่คอยกินขี้ปลา ไม่ให้หลงเหลือไปสร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ ปลิงทะเลมีราคาค่อนข้างสูง เก็บขายได้ตลอดเวลา ตามแต่ขนาดที่ตลาดต้องการ ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน นอกจากนี้ บริเวณรอบๆ กระชังก็จะปลูกสาหร่ายพวงองุ่น สำหรับการทำประมงแบบ IMTA ไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายๆ ประเทศเขาทำเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ส่วนผลลัพธ์จะคุ้มค่าคุ้มทุนสำหรับการทำประมงในประเทศไทยหรือไม่ ดร..ธรณ์ บอกว่า "การทำงานวิจัย จะเป็นคำตอบว่าทั้งหมดจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ เพราะในการทดลองนั้น ต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศ ราคาค่อนข้างสูง ซึ่งหากผลสรุปออกมาแล้วเป็นไปในทางบวก ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ราคาต่ำกว่านี้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และเรื่องของการทำให้อาชีพประมงมีความยั่งยืน เสมอต้น เสมอปลาย นับเป็นความสำเร็จที่ทุกคนต้องการ" https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000094349
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
อุทยานฯ หาดเจ้าไหม แจ้งเอาผิดนักท่องเที่ยว ลอบนำเจ็ตสกีขี่ในทะเล กระทบสิ่งแวดล้อม ทุกทิศทั่วไทย อุทยานฯ หาดเจ้าไหม แจ้งเอาผิดนักท่องเที่ยว ลอบนำเจ็ตสกีขี่ในทะเล บริเวณหาดยาว ใกล้แหล่งหญ้าทะเลและที่อยู่อาศัยของพะยูน กระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564 นายณรงค์ คงเอียด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ได้รับรายงานว่า ในช่วงเวลา 13.30-14.00 น. วันที่ 20 ก.ย.ปรากฏคลิปกลุ่มนักท่องเที่ยวลักลอบนำเจ็ตสกี จำนวน 2-3 ลำ มาขับขี่วนไปมาในท้องทะเล ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม บริเวณหาดยาว หมู่ที่ 6 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ถือเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 19 (2) ข้อหาเก็บหา นำออกไปกระทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย หรือกระทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรอื่น หรือกระทำการอื่นใดอันส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม นายณรงค์ กล่าวต่อว่า ตนสั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม หน่วยหยงหลิง รวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความไว้ที่ สภ.กันตัง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย นายณรงค์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบผู้กระทำความผิดที่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนเพื่อหาตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ขอประชาสัมพันธ์ว่า การกระทำที่คาดไม่ถึง หรือการกระทำด้วยความมุทะลุ หรือคึกคะนอง ในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ หรือในที่อื่นใดของทางราชการ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ซึ่งบางครั้งทางอุทยานฯ ไม่สามารถที่จะประกาศให้ทุกคนได้รับทราบทั่วกันทั้งหมด นายณรงค์ กล่าวต่อว่า นักท่องเที่ยวเองต้องคำนึงถึง และต้องท่องเที่ยวด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากบริเวณหาดยาวที่นักท่องเที่ยวขับขี่เจ็ตสกีวนไปวนมานั้น อยู่ใกล้กับแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รวมทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน สัตว์อนุรักษ์ชื่อดังของจังหวัดตรัง ฉะนั้นการกระทำดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จึงต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6637686
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|