เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 06-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-11 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มที่จะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ประเทศจีน ขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ประกอบกับในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6 ? 11 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค.64 เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดจากฝั่ง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 06-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เมฆตอบสนองการเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งในทะเลอาร์กติก



เมฆเป็นหนึ่งในตัวแทนสัญลักษณ์ที่สำคัญต่อการคาดการณ์ว่าดินแดนแถบอาร์กติกจะอุ่นขึ้นในอนาคตได้เร็วเพียงใดและเร็วแค่ไหน ซึ่งเป็นเวลาหลายสิบปีที่นักวิทยา ศาสตร์สันนิษฐานว่าการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกทำให้เกิดเมฆจำนวนมากขึ้นใกล้ผิวมหาสมุทร

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ชี้ว่าการปล่อยความร้อนและความชื้นผ่านช่องโหว่ขนาดใหญ่ที่ผืนน้ำแข็งในทะเลซึ่งรู้จักกันในชื่อโพลีเนีย (Polynya) จะกระตุ้นการก่อตัวของเมฆจำนวนมากขึ้น เกิดการดักจับความร้อนในบรรยากาศ และขัดขวางการแข็งตัวของน้ำแข็งใหม่ในทะเล การค้นพบนี้มาจากข้อมูลการสแกนดาวเทียมที่เกือบจะทันทีทันใดจากพื้นที่ใกล้กับนอร์ท วอเตอร์ โพลีเนีย (North Water Polynya) ทางตอนเหนือของอ่าวแบฟฟิน ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะกรีนแลนด์และแคนาดา งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่ตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างโพลีเนียและเมฆด้วยเซ็นเซอร์แบบแอ็กทีฟบนดาวเทียม ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์เมฆในแนวตั้งในระดับที่ต่ำกว่าและสูงกว่าในชั้นบรรยากาศได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ว่าการก่อตัวของเมฆเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรใกล้พื้นผิวมหาสมุทรเหนือโพลีเนียและน้ำแข็งในทะเลโดยรอบ

หลังจากนี้ทีมงานวางแผนเตรียมจะนำการวิจัยนี้ไปสู่ระดับต่อไป และทดสอบว่าสามารถสังเกตผลกระทบของเมฆที่คล้ายคลึงกันได้ในพื้นที่อื่น ที่น้ำแข็งทะเลและมหาสมุทรมาเปิดมาบรรจบกันหรือไม่.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2210616

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 06-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ปินส์ช็อกป่าชายเลนอ่าวมะนิลา ขยะพลาสติกท่วมเป็นทะเล




ปินส์ช็อกป่าชายเลนอ่าวมะนิลา ? วันที่ 5 ต.ค. เดอะการ์เดียนรายงานสถานการณ์วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ป่าชายเลนและทะเลโคลนเมืองโนวาทัส บริเวณอ่าวมะนิลา เบย์ ประเทศฟิลิปปินส์ ว่าเต็มไปด้วยกองขยะพลาสติกมหาศาล สร้างความสะอิดสะเอียนให้นักสิ่งแวดล้อม

นายดิอุว์ส เดอ จีซุส นักชีววิทยาทางทะเลในฟิลิปปินส์ ผู้ถ่ายภาพและนำมาเผยแพร่ กล่าวว่า ปริมาณขยะที่พบนั้นมากถึงขนาดที่ทำให้รากของต้นโกงกางแทบไม่สามารถหายใจได้

รายงานระบุว่า ป่าชายเลนนั้นเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งอาหารให้บรรดานกที่ย้ายถิ่นฐาน ป้องกันน้ำท่วม และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในต้นเหตุก่อปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือโลกร้อน มีความสามารถในการดูดซับมากยิ่งกว่าป่าดิบชื้น

นางจานีนา กาสโตร สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์นกป่าและป่าชายเลน ระบุว่า ขยะเหล่านี้กำลังทำลายป่าโกงกางให้หมดไป เพราะไปปิดผิวดินทำให้รากหายใจ (pneumatophores) ของต้นโกงกางไม่สามารถหายใจได้ ส่งผลให้ต้นโกงกางอ่อนแอ และอาจตายไปได้

ป่าชายเลนและทะเลโคลนดังกล่าวเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่บริเวณอ่าวมะนิลา โดยบริเวณนี้ในอดีตเต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ และไร่นาข้าวเขียวขจี แต่ถูกเมืองขยายเข้ากลืนกินจนเหลือป่าชายเลนอยู่เพียง 540 ตารางกิโลเมตร เมื่อคริสศตวรรษที่ 19

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้บรรดากลุ่มนักอนุรักษ์และสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เข้าช่วยเหลือ แต่กระนั้นก็ป่าชายเลนบริเวณนี้ก็ยังลดลงเรื่อยๆ จนเหลือไม่ถึง 8 ตร.ก.ม. เมื่อปี 2538 ส่วนทางกับกรุงมะนิลาปัจจุบันที่เป็นหนึ่งในมหานครที่หนาแน่นที่สุดในโลก

นายจีซุส ระบุว่า ถ้าเพียงรัฐบาลห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ก็จะช่วยลดขยะพลาสติกเหล่านี้ลงไปได้มหาศาล พร้อมแสดงความเป็นห่วงถึงโครงการก่อสร้างขยายแผ่นดินของรัฐ ที่นำดินมาถมและเทคอนกรีตทับผืนดินออกไปในทะเล

ป่าชายเลนบริเวณนี้ยังเป็นแหล่งอาหารและจุดพักที่สำคัญของนกหายากหลายสายพันธุ์ตามเส้นทางอพยพย้ายถิ่นประจำปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง เอเชียน-ออสเตรเอเชียน ฟลายเวย์ ซึ่งมีระยะทางตั้งแต่คาบสมุทรอาร์กติกในรัสเซียและอเมริกาเหนือไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

นกหายากจำพวกนี้ที่พบเห็นอยู่ตามป่าชายเลนบริเวณอ่าวมะนิลา อาทิ นกปากช้อนหน้าดำ นกอีก๋อยตะโพกสีน้ำตาล และนกน็อตใหญ่ รวมถึงนกใกล้สูญพันธุ์อย่างนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส

ทั้งนี้ นักสิ่งแวดล้อมยังกังวลว่า ขยะพลาสติกจะเป็นอันตรายต่อนกหายากเหล่านี้ เพราะเมื่อสลายตัวแล้วจะกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งปลาและหอยสามารถกินเข้าไปได้ แล้วพวกมันก็ถูกนกกินเข้าไปอีกที รวมถึงขยะมูลฝอยเหล่านี้ยังเป็นบ่อสะสมเชื้อโรคทั้งต่อสัตว์และมนุษย์

นางกาสโตร ระบุว่า หนึ่งในปัญหาที่ป่าชายเลนและทะเลโคลนกำลังเผชิญเป็นความเข้าใจผิดของผู้คนในสังคม ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สวยงามและไม่จำเป็น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง


https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_6659770

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 06-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


"วิกฤตเป็นโอกาส" ชาวบ้านแห่เก็บ "ปลาน็อกน้ำ" สร้างรายได้ให้ชุมชน

ชาวบ้านชุมชนประมงริมหาดบางแสน "ชลบุรี" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หลังฝนตกหนัก "ปลาน็อกน้ำ" ลอยตายเกลื่อน แห่เก็บขายสร้างรายได้



วันที่ 5 ต.ค.2564 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ชุมชนประมงริม "หาดทะเลบางแสน" ช่วงหาดวอนนภา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี พบชาวบ้านหลายสิบคนจากชุมชนชาวประมง ต่างถือถัง ถือตะกร้า มุ่งหน้าไปเก็บปลาทรายหรือปลาเห็ดโคลน ที่ลอยตายเกลื่อนทั่วบริเวณริมหาดทะเลบางแสน จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดแล้ววางขายที่ริมถนน

จากการสอบถามนางสาวเสริมสุข ระยูรศักดิ์ อายุ 52 ปี แม่ค้าชาวประมงเล่าว่า ฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำจืดไหลลงทะเลปลาทรายหรือที่ชาวบ้านเรียกปลาเห็ดโคลน "น็อกน้ำ" ทำให้ลอยตายเกลื่อน แต่ก็ยังเป็นปลาสด ชาวบ้านจึงพากันไปเก็บ



ปกติแล้ว ปลาเห็ดโคนไม่ใช่ปลาที่จะหากินได้ง่ายนัก ไม่ได้เกิดขึ้นแบบนี้ทุกปี จึงทำให้มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 140 บาท จังหวะที่ต้องเจอมรสุม ก็กลับพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ โดยช่วงนี้ชาวบ้านระแวกนี้ เก็บปลาเห็ดโคลน "สร้างรายได้ในชุมชน" ได้เป็นจำนวนมาก


https://www.komchadluek.net/news/486826

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 06-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


เตือนถ้าโลกยังไม่หยุดร้อนกัมมันตรังสีจากปรมาณูในอดีตจะกลับมา


AFP PHOTO / Greg BAKER

ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ชั้นดินเยือกแข็งที่ขั้วโลกจะยิ่งละลาย ปลดปล่อยกากนิวเคลียร์สมัยสงครามเย็นที่อยู่ข้างใต้ซึ่งอันตรายกับมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Aberystwyth University ในเวลส์เตือนว่า ราว 2 ใน 3 ของชั้นดินเยือกแข็ง หรือ Permafrost ในแถบขั้วโลกเหนืออาจละลายหายไปภายในปี 2100 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่แถบดังกล่าวร้อนขึ้นกว่า 3 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลก

และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งเหล่านี้ละลายจากภาวะโลกร้อน กัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์จากการทดสอบระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามเย็น รวมทั้งเชื้อโรคร้ายในอดีตที่ถูกแช่แข็งอยู่ข้างใต้ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์จะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อม

นักวิทยาศาสตร์เน้นที่อาวุธนิวเคลียร์ 130 ชิ้นที่ทดสอบในชั้นบรรยากาศโดยสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1995-1990 ซึ่งทิ้งสารกัมมันตรังสีไว้ในระดับสูง

นอกจากขยะนิวเคลียร์ ยังมีจุลินทรีย์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งละลายก็มีโอกาสที่แบคทีเรียเหล่านี้จะออกมาปะปนกับหิมะหรือน้ำแข็งที่ละลาย ก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ดื้อยา

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Climate Change ระบุว่า พบจุลินทรีย์ที่ถูกแช่แข็งอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งกว่า 100 ชนิดที่ดื้อยา

หากขยะนิวเคลียร์ถูกปลดปล่อยออกมาอาจเป็นอันตรายกับมนุษย์และสัตว์ เช่นเดียวกับไวรัสและแบคทีเรียโบราณอาจเป็นภัยคุกคามสังคม

ข้อมูลของ Observer Research Foundation ระบุว่า เมื่อปี 2016 การละลายของชั้นดินเยือกแข็งในไซบีเรียทำให้ซากกวางเรนเดียร์ที่ติดเชื้อแอนแทร็กซ์อายุกว่า 70 ปี โผล่ขึ้นมา ส่งผลให้เชื้อไปติดเด็กชายในหมูบ้านเสียชีวิต 1 ราย และเจ็บป่วยอีกหลายราย

ทั้งนี้ ชั้นดินเยือกแข็งครอบคลุมพื้นที่ราว 9 ล้านตารางไมล์ของแถบอาร์กติก โดยส่วนใหญ่มีอายุราว 1 ล้านปี และยิ่งอยู่ลึกลงไปก็ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่านั้น

อาร์วิน เอ็ดเวิร์ดส์ หนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและนิเวศวิทยาของอาร์กติกจะส่งผลต่อทุกส่วนของโลกเนื่องจากจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

เอกสารแถลงข่าวของทีมวิจัยระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะมีโครงการทำความสะอาดกัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์ดังกล่าว แต่การตรวจสอบในแถบอาร์กติกพบซีเซียมและพลูโตเนียมในระดับสูงระหว่างตะกอนดินใต้ทะเล พืชผัก และแผ่นน้ำแข็ง

นอกจากรัสเซีย สหรัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดขยะนิวเคลียร์ในชั้นดินเยือกแข็งจากการตั้งศูนย์วิจัยพลังงานนิวเคลียร์ Camp Century ในกรีนแลนด์ซึ่งปลดประจำการในปี 1967


https://www.posttoday.com/world/664847
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:34


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger