เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. ? 2 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 4 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. ? 2 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ตำรวจรุดเฝ้า "แมวน้ำ" เกยหาด หลังนักท่องเที่ยวแห่ถ่ายรูป-ปาหินใส่!



ตำรวจรุดเฝ้า "แมวน้ำ" ? วันที่ 29 ต.ค. เดลีเมล์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมณฑลนอร์ฟอล์ก ของ ประเทศอังกฤษ ต้องรุดไปยังชายหาดในเมืองเกรทยาร์มัธ เพื่อคุ้มครอง ?แมวน้ำ? ตัวหนึ่งที่นอนเกยริมหาดด้วยท่าทางอ่อนเพลีย

หลังได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่ามีนักท่องเที่ยวหลายคนขว้างปาก้อนหินใส่แมวน้ำตัวดังกล่าว ขณะที่บางคนถ่ายรูปกับแมวน้ำอย่างคึกคักโดยไม่สนใจว่าจะรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์หรือไม่

นายแดน โกลด์สมิธ ผู้อำนวยการหน่วยงานช่วยเหลือทางทะเลและสัตว์ป่า กล่าวว่า "เป็นเรื่องที่น่าโมโหมากๆ คนบางคนหยิบก้อนหินและโยนใส่แมวน้ำ ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขาต้องการให้มันเคลื่อนไหวและกลับลงทะเลรึเปล่า แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สมควรทำ

ตำรวจต้องยืนเฝ้าและบอกผู้คนให้ออกจากจุดที่พบแมวน้ำแทบจะตลอดเวลา นักท่องเที่ยวไม่มีความเข้าใจว่าควรปล่อยให้แมวน้ำให้อยู่ตามลำพังอย่างที่ควรจะเป็น พวกเขาต้องการแค่ถ่ายรูปและพาลูกๆ ไปที่นั่นเพื่อถ่ายรูปด้วย" นายโกลด์สมิธกล่าว

และว่าเมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. ของวันอังคารที่ 26 ต.ค. แมวน้ำเทาค่อยเคลื่อนไหวกลับไปที่ริมหาดและถูกกระแสน้ำพัดลงทะเล มีรายงานว่าไม่กี่ชั่วโมงต่อมาแมวน้ำตัวนี้ก็ตายลง เบื้องต้นไม่มีข้อมูลระบุว่าตายจากสาเหตุใด แต่คาดว่าแมวน้ำอาจมีอาการป่วยอยู่แล้วหรือตายตามอายุขัย

ด้านโฆษกราชสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ (RSPCA) กล่าวว่าช็อกมากที่ได้ยินรายงานคนขว้างหินใส่แมวน้ำ

"นี่เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ที่ประชาชนต้องอยู่ห่างจากแมวน้ำ เพราะการเข้าใกล้พวกมันจะยิ่งเพิ่มแนวโน้มทำให้สัตว์ที่น่าสงสารนี้ยิ่งเกิดความเครียด เรารู้ว่าการพบเห็นแมวน้ำเป็นภาพที่น่าเหลือเชื่อ แต่ผู้คนต้องจำไว้ว่าพวกมันเป็นสัตว์ตามธรรมชาติ เราต้องแบ่งปันชายหาดของเรากับแมวน้ำและเรียนรู้ที่จะเคารพธรรมชาติ ชื่นชมพวกมันจากระยะไกล และอย่าเข้าไปยุ่งหรือเข้าใกล้มากเกินไป"


https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6704339

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 30-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


การแย่งยึดสีเขียว ................ โดย GreenJust : เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล


(ภาพ : forest.go.th)


1.
หลังจากเห็นข่าวที่คุณวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พูดถึงเป้าหมายการปลูกป่าว่า มีมาตรการปลูกป่าให้ได้ 30 ล้านไร่ ภายในปี 2580 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ ผมรู้สึกหงุดหงิดกับนโยบายและคำพูดเหล่านั้น

ผมติดตามปัญหาป่าไม้ของประเทศไทยมา 10 กว่าปี พอคาดเดาได้ว่าการประกาศเช่นนี้ ผู้มีอำนาจมีเป้าหมายเบื้องหลังบางอย่าง เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจปลูกและรักษาป่า ซึ่งมีความซับซ้อน แต่จะมีผลเป็นการแย่งยึดที่ดินของคนในชนบท

ผมจึงกลับไปหยิบหนังสือเรื่อง "นักแย่งยึดที่ดิน" ที่เขียนโดยเฟรด เพียร์ซ นักข่าวชาวอังกฤษที่เดินทางไปทำข่าวการแย่งยึดที่ดินทั่วทุกมุมโลก ขึ้นมาอ่านทบทวนอีกครั้ง

หนังสือเล่มนี้พูดถึงสถานการณ์การแย่งยึดที่ดินสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีอยู่บทหนึ่งพูดถึงการแย่งยึดที่ดินจากคนท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา เพื่อจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ป่าหรือสัตว์ป่า สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่โหยหาความดั้งเดิมของธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกชนชั้นสูงและคนผิวขาวจากยุโรปและอเมริกา หนังสือพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่ง แต่เหมือนกลิ่นไอคล้ายๆ กับเรื่องที่เกิดขึ้นที่บ้านเรา



(ภาพ : 77kaoded.com)


2.
การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของทวีปยุโรปและอเมริกา ส่งผลให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงและเสื่อมโทรม แต่ก็ทำให้พวกเขามีทรัพย์สินมากพอที่ไม่ต้องกังวลปัญหาปากท้องอีกต่อไป บรรดาเศรษฐีและคนมีเงินผิวขาว จึงโหยหาที่จะชื่มชมความสวยงามของธรรมชาติที่บริสุทธิ์ แต่เมื่อธรรมชาติในประเทศของตนเองไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ พวกเขาจึงมุ่งไปยังดินแดนแอฟริกา ที่พวกเขาเชื่อว่ายังมีความบริสุทธิ์แบบดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ เหมือนอย่างที่หลายคนอาจเคยเห็นในสารคดีสัตว์โลก ที่นำเสนอชีวิตของสัตว์ป่าแอฟริกา การล่าเหยื่อของสัตว์นักล่า การเดินทางของฝูงสัตว์

การจัดตั้งเขตอนุรักษ์ธรรมชาติหรือสัตว์ป่าผืนใหญ่ ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา มักดำเนินการโดยบริษัทเอกชนที่มีคนผิวขาวจากยุโรปหรืออเมริกาเป็นเจ้าของ กิจการเหล่านั้นเริ่มต้นด้วยนักธุรกิจที่มองเห็นโอกาสร่ำรวยจากกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จึงทุ่มเงินก้อนมหาศาลไปเช่าหรือซื้อที่ดินผืนใหญ่ (ตั้งแต่ 50,000 ? 200,000 ไร่) จัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ คือ อุทยาน หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ในการทำให้ได้พื้นที่แปลงใหญ่มาครอบครอง นักธุรกิจเหล่านั้นเพียงหอบเงินก้อนใหญ่ไปหาผู้นำรัฐบาลหรือผู้นำท้องถิ่น จ่ายเงินเป็นค่าเช่าระยะยาวบ้าง ซื้อบ้าง แล้วผู้นำเหล่านั้นก็จัดการเคลียร์ให้พื้นที่เป้าหมายปลอดผู้คน บ้างก็เป็นการให้สัญญาแก่ชาวบ้านว่าจะมีงานให้ทำ บ้างก็ใช้กองกำลังติดอาวุธมาขับไล่ บางพื้นที่ที่มีการต่อต้านก็ต้องเจอกับการสังหาร และเมื่อไหร่ก็ตามที่ปัญหานี้เล็ดลอดผ่านสื่อไปยังสายตาชาวโลก นักธุรกิจเหล่านั้นก็จะบอกว่า คนพวกนั้นเป็นพวกบุกรุกหรืออยู่โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ของรัฐบาล

เมื่ออยู่ ๆ ดินแดนที่เคยเป็นที่อยู่ของชนเผ่าต่างๆ มานับร้อย ๆ พัน ๆ ปี ถูกคนจากที่อื่นมายึดครอง โดยมีผู้นำรัฐบาลหรือท้องถิ่นคอยคุ้มครองให้ คนที่เคยอยู่ในดินแดนนั้นก็จำเป็นต้องอพยพออกไป ผืนดินถูกล้อมรั้วกั้น หรือไม่ก็จะมี รปภ. ติดอาวุธคอยสอดส่องและยิงใครก็ตามที่ถูกสงสัยว่าบุกรุกเข้าไป กิจวัตรที่ชาวบ้านเคยทำมาหลายชั่วอายุคนเพื่อดำรงชีพ เช่น ล่าสัตว์ เก็บหาของป่า ปล่อยสัตว์เลี้ยงตามทั่งหญ้า เพาะปลูก กลายเป็นสิ่งต้องห้ามไปโดยทันที

ปรากฏการณ์ที่คนท้องถิ่นถูกไล่ที่เพื่อจัดตั้งเขตอนุรักษ์เช่นนี้เกิดขึ้นไปทั่ว ไค ชมิตต์ โซลเทา นักสังคมศาสตร์ชาวสวิสจากเครือข่ายนานาชาติด้านคนพลัดถิ่นและตั้งถิ่นฐานใหม่ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยจากการอนุรักษ์กว่า 120,000 คน



(ภาพ : forest.go.th)


3.

จากที่เล่ามาข้างต้น หากดูจากพื้นที่ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในซีกโลกแอฟริกา ดินแดนคนผิวสีที่ช่างอยู่ไกลจากประเทศไทยเราเหลือเกิน แต่หากดูจากลักษณะของปรากฏการณ์ กลับรู้สึกเหมือนกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นที่บ้านเรา โดยเฉพาะเรื่องการใช้พื้นที่ป่าเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ และการแย่งยึดที่ดินจากคนท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์ไว้บริการคนชั้นกลางและชาวต่างชาติที่โหยหาธรรมชาติแบบดั้งเดิม

หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมสังเกตเห็นจุดเชื่อมโยงในการจัดการป่าไม้ระหว่างไทยกับแอฟริกาประการหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว

เมื่อปี พ.ศ. 2554 ตอนนั้นผมทำงานช่วยเหลือชาวบ้านต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รู้จักคุ้นเคยกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ เขาเปรยให้ฟังว่าจะถูกส่งไปศึกษาดูงานการจัดการอุทยานที่ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ต่อมาจึงได้รู้ว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืชของไทย ได้ส่งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานที่แอฟริกาต่อเนื่องหลายปี

แน่นอนว่าพวกเขาคงไม่ถอดแบบมาใช้ทั้งหมด หากแต่ปรากฏการณ์ที่เราเห็นคือ หลังการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลได้ทำการแย่งยึดที่ดินอย่างเข้มข้นและเบ็ดเสร็จอย่างต่อเนื่อง ทั้งระดับที่เป็นปฏิบัติการ เช่น การทวงคืนผืนป่า การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ และระดับที่เป็นการออกกฎหมายที่มีผลยึดสิทธิในที่ดิน เช่น การแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ผมคิดว่าอุทยานในประเทศแถบแอฟริกาที่มีบริษัทเอกชนเป็นเจ้าของ และอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยที่มีรัฐเป็นเจ้าของ มีลักษณะคล้ายกันหลายประการ

ประการแรก แนวคิดการจัดตั้งอุทยานที่ต้องการสร้างพื้นที่อนุรักษ์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีเงิน เพื่อไปชื่นชมความสวยงามของธรรมชาติ แต่ไม่รองรับชาวบ้านผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมาก่อน

ประการที่สอง พวกเขาจะอ้างเสมอว่าในป่าเหล่านั้นไม่มีคนอาศัยอยู่ หากจะมีก็เป็นพวกบุกรุก และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน

ประการที่สาม เมื่อพื้นที่ใดถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว คนที่เคยใช้ประโยชน์จากป่า ล่าสัตว์ ก็จะถูกห้าม ซึ่งบ่อยครั้งมีการจับกุมดำเนินคดีกับคนที่เก็บหาของป่าหรือตัดไม้มาใช้ปลูกสร้างบ้านเรือน

ประการที่สี่ มีการทำธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติภายในเขตอุทยาน โดยที่คนจากข้างนอกมาเป็นเจ้าของกิจการและเก็บรายได้ แต่สำหรับชาวบ้านนั้น อย่างดีก็เป็นเพียงลูกจ้าง ลูกหาบ ขายของอยู่ด้านนอกเพื่อรอรับเศษเงินของนักท่องเที่ยว

ประการที่ห้า การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการไปฝ่ายเดียว การแจ้งหรือการมีส่วนร่วมของชาวบ้านเป็นเพียงแบบแผนลวงเท่านั้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านมารู้ตัวก็ตอนที่อุทยานถูกประกาศไปแล้ว ถึงตอนนั้นหากชาวบ้านโต้แย้ง เจ้าหน้าที่อุทยานก็จะบอกว่าทำไม่ได้แล้ว

ประการสุดท้ายคือ การแย่งยึดมีความเข้มข้นขึ้นในช่วงที่ประเทศปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ซึ่งประชาชนถูกจำกัดสิทธิและโอกาสในการโต้แย้งคัดค้าน





4.

หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนพยายามชี้ให้เราเห็นว่า เบื้องหลังความสวยงามของฉากธรรมชาติ หนองน้ำ ฝูงสัตว์ป่า ชนเผ่าที่แต่งตัวแปลกๆ มาออกหน้ากล้อง ให้นักท่องเที่ยวได้เติมเต็มความโหยหาอดีตนั้น เต็มไปด้วยการคอรัปชั่นของผู้นำประเทศและผู้นำท้องถิ่น แม้กระทั่งหัวหน้าชนเผ่า รวมทั้งการขับไล่ชนเผ่าออกจากที่ดินและผืนป่าที่พวกเขาใช้ทำมาหากิน ด้วยกองกำลังติดอาวุธของรัฐบาล

สำหรับประเทศไทย จนถึงปัจจุบันเรายังไม่เห็นมีสัญญาณที่แสดงถึง ความพยายามของรัฐในการทำให้คนที่อยู่ในเขตป่า ได้รับสิทธิในที่ดินและฐานทรัพยากร มีแต่การออกกฎหมายและนโยบายเพื่อแย่งยึดสิทธิของคนที่เขาอยู่มาก่อน

ตามคำกล่าวของคุณวราวุธ ที่ย้ำว่ามีเป้าหมายปลูกต้นไม้ในพื้นที่ คทช. และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 ซึ่งหมายถึงที่ดินทำกินของชาวบ้านนั้น ต้นไม้ที่ถูกปลูกลงไปในที่ดินทำกินของชาวบ้านเหล่านั้น ผู้ครอบครองที่ดินไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ เพียงได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินชั่วคราวตามสัญญาหรือโครงการเท่านั้น พื้นที่ตรงนั้นยังคงมีสภาพเป็นป่าตามความหมายของรัฐบาล เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลา ที่ดินเหล่านั้นก็จะต้องตกเป็นของรัฐไปโดยผลของกฎหมาย

การปลูกป่าของรัฐบาลจึงไม่ใช่อะไร นอกจากเป็นการแย่งยึดสีเขียว ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงในอนาคต


https://greennews.agency/?p=26163

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:18


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger