#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทางด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 3 - 6 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่ง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในวันที่ 7 - 8 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงและมีอากาศเย็น ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 3 ? 7 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้สื่อสารกับวาฬสเปิร์ม เป้าหมายแรกของ Project CETI (Cetacean Translation Initiative) คือการรวบรวมชุดการคลิกที่เรียกว่าโคดา (coda) ที่วาฬสเปิร์มใช้ในการสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบแบบจำลองภาษาและทำนายผลการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการที่วาฬสเปิร์มสื่อสารกัน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งเป้า หมายว่าจะใช้ Project CETI เพื่อถอดรหัสและสื่อสารกับวาฬสเปิร์ม ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (Arti ficial Intelligence-AI) โดยหวังจะทำความเข้าใจภาษาของวาฬสเปิร์ม และสิ่งที่ต้องทำคือถอดรหัสเสียงคลิก หรือโคดา ผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing-NLP) ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าดูเหมือนการทำงานจะเป็นไปได้ดีและค่อนข้างง่าย ทว่าก็มีอุปสรรคใหญ่อย่างหนึ่งคือพวกเขายังต้องการข้อมูลโคดาจากวาฬอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ หาก Project CETI บรรลุภารกิจที่ยากลำบากเหล่านี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่แบบจำลองภาษาจะสามารถพัฒนาการสื่อสารกับวาฬได้มากขึ้น รวมถึงอาจเปลี่ยนแปลงวิธีที่มนุษย์รับรู้และปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเคารพต่อโลกและสิ่งมีชีวิตอื่นๆมากขึ้น. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2233392
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
Net Zero คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับโลกและมนุษย์ Photo by GREG BAKER / AFP Net Zero เป็นประเด็นใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก รวมทั้งในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ในขณะนี้ ภายใต้ข้อตกลงปารีส 2015 สมาชิกองค์การสหประชาชาติ 197 ประเทศบรรลุข้อตกลงแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยการยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และถ้าเป็นไปได้จะควบคุมไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นานาประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้เกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2028 และให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 Net Zero คืออะไร Net Zero คือ การไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มเติม หมายความว่าเราต้องทั้งลดการปล่อยก๊าซให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทั้งกำจัดก๊าซในปริมาณที่เทียบเท่ากันกับการปล่อยที่เกิดขึ้น คำว่า Net Zero มีความสำคัญกับโลกและมนุษย์เรามาก เพราะหากมีก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงโอกาสที่จะหยุดยั้งภาวะโลกร้อนก็เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเราหยุดปล่อยก๊าซแล้วภาวะโลกร้อนจะหายไปทันที เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยไปนับล้านๆ ตันก่อนหน้านี้ยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศและดูดซับความร้อนไว้อีกหลายต่อหลายปี จะกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างไร การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์ให้ทันภายใน 30 ปีเป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่ใช่การปล่อยทุกประเภทจะลดให้เหลือศูนย์ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการชดเชยปริมาณก๊าซที่เหลือตกค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ซึ่งเป็นแหล่งกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบดั้งเดิม แต่วิธีนี้ยังมีคำถามอยู่ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกเพียงพอหรือไม่ อีกทั้งการปลูกต้นไม้ยังต้องใช้เวลานาน และนักวิทยาศาสตร์บางรายยังห่วงว่าเราอาจต้องการน้ำมากขึ้นในการปลูกต้นไม้ซึ่งอาจก่อปัญหาอื่นตามมาอีก หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon capture and storage) คือการใช้เครื่องจักรดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ แล้วทำให้เป็นของแข็ง จากนั้นนำไปฝังใต้ดินหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ก้อนหิน อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ยังใหม่ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และมีราคาสูงมาก คาดว่าต้องใช้เงินอย่างน้อย 600 เหรียญสหรัฐ หรือ 19,957 บาทต่อตัน ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือ ในอากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.04% เท่านั้น การดักจับก๊าซออกมาจากอากาศจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเผยว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติก็สำคัญแต่ว่ายังไม่เพียงพอ ขณะที่ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะนี้ก็เกินกำลังที่เทคโนโลยีที่มีอยู่จะกำจัดได้หมด ยกตัวอย่างเครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ Orca ในไอซ์แลนด์ที่เกิดจากความร่วมมือของ Climeworks บริษัทดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากสวิส กับ Carbfix ของไอซ์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นก้อนหิน สามารถดักจับก๊าซได้เพียงปีละ 4,000 ตัน ขณะที่มนุษย์ปล่อยก๊าซหลายหมื่นล้านตัน นอกจากนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงวิธีการที่บางประเทศจะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero อาทิ ประเทศ ก.อาจลดการปล่อยก๊าซได้มหาศาลหากสั่งปิดอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น การผลิตเหล็ก แต่หากประเทศ ก.สั่งนำเข้าเหล็กจากประเทศ ข. หลังปิดโรงงานของตัวเอง ประเทศ ก.เพียงส่งต่อการปล่อยก๊าซของตัวเองไปให้ประเทศ ข. ซึ่งไม่ได้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมเลย อีกหนึ่งหนทางคือ การให้ประเทศร่ำรวยชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของตัวเองด้วยการจ่ายเงินให้ประเทศยากจน เพื่อให้ประเทศยากจนเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แต่ก็จะมีปัญหาตามมาอีกว่าประเทศร่ำรวยไม่ต้องการควักกระเป๋าก้อนใหญ่ ส่วนประเทศยากจนอาจเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยจ่ายเงินเพิ่มขึ้น หรืออาจมองได้ว่าวิธีนี้จะทำให้ทั้งประเทศยากจนและประเทศร่ำรวยไม่แก้ปัญหาของตัวเองอย่างจริงจัง สุดท้ายเราอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero แล้วต้องกอดคอกันเดินไปสู่จุดที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว https://www.posttoday.com/world/667102
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
โลกร้อนใกล้ตัวกว่าที่คิด หาก COP26 ล้มเหลวหลายเมืองจะต้องจมน้ำ หลายพื้นที่บนโลกกำลังจะจมอยู่ใต้น้ำเพราะวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ทุกๆ เศษเสี้ยวของระดับความร้อนที่เพิ่มขึ้น โลกจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งที่รุนแรงมากขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รวมถึงภัยพิบัติอย่างน้ำท่วม ไฟป่า พายุฝนฟ้าคะนองที่อันตรายมากขึ้นด้วย รายงานระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดต่อความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง และไฟป่า เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเกษตรกรรม ให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่มีเงินในการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติน้อยกว่าประเทศร่ำรวย ภัยคุกคามเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากโลกยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ซึ่งธารน้ำแข็งมีความอ่อนไหวอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธารน้ำแข็งกำลังค่อยๆ หายไปขณะที่ทะเลสาบใหม่ขนาดใหญ่กำลังปรากฏขึ้น การประชุม COP26 ถูกมองว่าเป็น "ความหวังสุดท้าย" ของการบรรลุเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยกำลังทำให้ธารน้ำแข็งหมดไป ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภัยธรรมชาติกำลังแฝงตัวอย่างเงียบๆ วารสาร Nature ตีพิมพ์บทความที่พบว่าการละลายของธารน้ำแข็งของโลกมีความเร็วเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วง 20 ที่ผ่านมา โดย Alok Sharma สมาชิกรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า หลายพื้นที่บนโลกจะจมอยู่ใต้น้ำแม้ว่า COP26 จะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศก็ตาม รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2019 ระบุว่าตั้งแต่ 2006 ถึง 2015 ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 3.3 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศและนักสมุทรศาสตร์หลายคนเชื่อว่าสาเหตุที่น้ำทะเลเพิ่มขึ้นเร็วขนาดนี้มาจากพืดน้ำแข็งที่ละลายในกรีนแลนด์ หากโลกไม่ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยให้เพิ่มขึ้นต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกที่เหลือละลายไปมากกว่านี้ และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดการณ์ว่าระดับน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกโดยเฉลี่ยอาจเพิ่มขึ้นถึง 84 เซนติเมตรในระหว่างปี 2019 ถึง 2100 ขณะที่หลายพื้นที่มีความเสี่ยงว่าจะต้องจมอยู่ใต้น้ำ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Deltares พบว่า ประเทศในแถบพื้นที่ราบลุ่มเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพื้นดินมีแนวโน้มที่จะจมเนื่องจากการทรุดตัว อาทิ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากในประเทศเหล่านี้อาจต้องเผชิญภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีแนวโน้มเลวร้ายลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ งานศึกษาบางชิ้นระบุว่า กรุงเทพฯ เวนิส และนิวออร์ลีนส์ เป็น 3 เมืองที่อัตราการจมสูงกว่าอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลถึง 10 เท่า ไทย ? จังหวัดกรุงเทพมหานคร ก็เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ติดโผมีความเสี่ยงที่จะจมน้ำ โดยจากการศึกษาในปี 2020 พบว่ากรุงเทพฯ อาจเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบระยะสั้นจากภาวะโลกร้อนรุนแรงที่สุด เนื่องจากอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 เมตร นอกจากนี้ยังมีพื้นดินเป็นดินเหนียวที่มีความหนาแน่น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วมมากขึ้น ? ปัจจุบันกรุงเทพกำลังเผชิญกับความท้าทาย 2 ประการ คือระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแผ่นดินที่กำลังทรุดตัวลงทุกปีๆ เนื่องจากพื้นที่ของเรานั้นตั้งอยู่บนที่ลุ่มมาก่อนในอดีต นั่นแปลว่าชั้นดินข้างล่างนั้นเป็นดินอ่อนที่ไม่แข็งแรง ซึ่งนอกจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติเองแล้ว การสูบน้ำบาดาล และการเติบโตของเมืองยิ่งส่งผลให้แผ่นดินกรุงเทพทรุดตัวเร็วขึ้น ? อาคารสูงกว่า 5,000 แห่ง, รถยนต์กว่า 9 ล้านคัน ถนน และระบบรางขนส่งมวลชนทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งสิ้น เวียดนาม ? เมืองโฮจิมินห์ ของเวียดนาม มีความเสี่ยงที่จะจมน้ำหรือได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากกว่าครึ่งหนึ่งของเมือง ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรรวม 1 ใน 4 ของประเทศได้รับผลกระทบ ? ขณะที่เวียดนามตั้งเป้าที่จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และจะดำเนินการตามแผนเพื่อลดพลังงานถ่านหินทันทีหลังการประชุม COP26 อินเดีย ? เมืองโกลกาตา เมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย และป่าชายเลนซุนดาบันส์ที่ทอดยาวจากทางตะวันออกของอินเดียไปยังประเทศเพื่อนบ้านในบังคลาเทศ มีความเสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะส่งผลให้ชาวบ้านต้องสูญเสียบ้านเรือนและอาชีพเพาะปลูก เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และน้ำเค็มที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ทำให้ดินไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ? ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย กล่าวในที่ประชุม COP26 ว่าจะหันไปพึ่งพาพลังงานสะอาดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายใน 49 ปีข้างหน้า ไอร์แลนด์ ? รัฐบาลไอร์แลนด์ได้ตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าพื้นที่บางส่วนของไอร์แลนด์ รวมถึงกรุงดับลิน อาจอยู่ใต้น้ำในเวลาเพียง 10 ปี ? เมื่อมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นเนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถระบายออกไปได้ นำไปสู่การละลายของแผ่นน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นซึ่งคุกคามแนวชายฝั่งขนาดใหญ่ของดับลิน ? โดย 5 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในทศวรรษหน้า ได้แก่ Bull Island, Sandymount, Irishtown, Clontarf และ Portmarnock มัลดีฟส์ ? หลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อมัลดีฟส์อย่างยิ่ง ซึ่งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกำลังทำให้บางเกาะในหมู่เกาะจมลงใต้ทะเล และนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าภัยพิบัตินี้อาจเกิดขึ้นภายในทศวรรษหน้า ? รายงานระบุว่า ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียวระดับน้ำทะเลมัลดีฟส์เพิ่มขึ้น 3 ถึง 4 มิลลิเมตร อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายความว่าในระยะเวลา 10 ปี หมู่เกาะที่มีพื้นราบเหล่านี้สามารถจมสู่ใต้น้ำได้อย่างสมบูรณ์ ? นอกจากนี้ เมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นยังส่งผลให้แนวปะการังตาย ซึ่งส่งผลเสียต่อมัลดีฟส์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแนวปะการังเป็นพื้นฐานของชีวิตในมัลดีฟส์ ประเทศที่อยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย ยังมีอีกหลายเมืองที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงที่จะต้องจมอยู่ใต้น้ำ โดยคาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน อาทิ เวนิส อิตาลี, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์, บาสรา อิรัก, จอร์จทาวน์ กายอานา และนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) ยังได้ออกคำเตือนว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขณะนี้กำลังจะทำให้ภูเขาน้ำแข็ง 3 แห่งสุดท้ายในแอฟริกาละลายหายไปภายใน 20 ปีข้างหน้า เป็นสัญญาณของภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ไม่อาจย้อนกลับได้ ที่มา: CNBC, WIONews, The Sun, Time Out, Dublin Live https://www.posttoday.com/world/667097
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
เร่งกู้ตู้สินค้า-ล้อมน้ำมันหลายตันไม่ให้ไหลลงเจ้าพระยา สมุทรปราการ 2 พ.ย.-เหตุเรือบรรทุกสินค้าชนกันกลางเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เจ้าหน้าที่กำลังเร่งกู้ตู้สินค้า พร้อมล้อมน้ำมันหลายตันที่มีอยู่ในเรือไม่ให้รั่วลงแม่น้ำ กรณีช่วงสายวันนี้เกิดเหตุเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 2 ลำ หลุดร่องน้ำชนกันกลางแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้ทั้งตำรวจน้ำ และเจ้าท่าสมุทรปราการ ต้องเร่งตรวจสอบและเชิญผู้เกี่ยวข้องของเรือทั้ง 2 ลำไปสอบสวน และเบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุเรือทั้ง 2 ลำ แล่นสวนมาทางกันมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยทางเรือชื่อ โอ.พี.เค 3 เดินทางออกเดินทางจากท่าเทียบเรือกรุงเทพ กำลังแล่นมุ่งหน้าไปท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนเรืออีกลำที่ชื่อ เอ็น พี ปทุมธานี ได้ออกเดินทางจากท่าเรือแหลมฉบัง มุ่งหน้าไปท่าเรือคลองเตย แต่เมื่อมาถึงช่วงบริเวณหย้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เรือเอ็น พี ปทุมธานี ได้ชนเข้ากับกราบซ้ายเรือโอ.พี.เค 3 ทำให้เกิดรอยแตกขนาด 1?1 เมตร ลึก 2 เมตร เรือโอ.พี.เค 3 จึงต้องรีบนำเรือเข้าเกยตื้นริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งองค์พระสมุทรเจดีย์ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากท้องเรือ ซึ่งเบื้องต้นไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จากอุบัติเหตุนี้ ส่วนเรือเอ็น พี ปทุมธานี เสียหายเล็กน้อย ที่บริเวณส่วนหัวเรือ และจอดทอดสมออยู่ห่างออกไปราว 200 เมตร ส่วนการเก็บกู้เรือ ตำรวจน้ำและเจ้าท่าสมุทรปราการ ได้ประสานชุดเก็บกู้เรือของเอกชน ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเข้ามาเก็บกู้ตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 51 ตู้ ของเรือโอ.พี.เค 3 รวมถึงประสานขอทุ่นลอยดักน้ำมันมาล้อมเรือที่ประสบอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันคราบน้ำมันของเรือที่มีหลายตัน ลอยกระจายไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่อ่าวไทย โดยนายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีด้านความปลอดภัย กรมเจ้าท่า กล่าวว่าได้กำชับให้เจ้าของเรือเร่งกู้เรือและตู้สินค้าที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน และสั่งการให้เรือทุกลำที่จะใช้เส้นทางผ่าน ต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุด ในส่วนน้ำมันของเรือที่มีจำนวนหลายตัน ตอนนี้ใช้ทุ่นล้อมเรือ เพื่อไม่ให้น้ำมันรั่วไหลลงแม่น้ำแล้ว คาดเปิดทางเดินเรือปกติได้ภายในวันพรุ่งนี้ (3 พ.ย.). https://tna.mcot.net/region-815256
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|