#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่เข้าปกคลุมประเทศเวียดนาม ลาวตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันนี้(7 พ.ย. 2564) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ในช่วงวันที่ 7-13 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 - 12 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลงกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7 ? 12 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศหนาวเย็นลงบริเวณประเทศไทยตอนบน กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 7-13 พฤศจิกายน 2564)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2564 ในช่วงวันที่ 7-13 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
ทำไมไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญา "ป่าไม้-ที่ดิน" กลาสโกว์ ................... โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล เวที COP 26 ชวนประชาคมโลกให้สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองจัดการป่า แต่ไทยปฏิเสธ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่บ้านน้อยพลังงาน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เสียพื้นที่บ้านและที่ทำกินเนื่องจากโครงการปลูกป่าที่ถูกทิ้งร้าง ภาพเมื่อเมษายน 2563 (ภาพ: แฟ้มภาพสิ่งแวดล้อม) 1. รัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมว่าไทยจะร่วมมือกับนานาชาติแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่พอนานาชาติประกาศปฏิญญาว่าด้วยการป่าไม้และการใช้ที่ดินของผู้นำกลาสโกว์ (Glasgow Leaders? Declaration on Forests and Land Use) รัฐบาลไทยกลับไม่ยอมลงนามด้วย และแน่นอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศกลุ่มน้อยที่ไม่ยอมลงนาม 2. คำถามคือ ทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญาฉบับนี้ ทั้งๆ ที่ปฏิญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์และเร่งการฟื้นฟูป่า ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านนโยบายการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับสากลและในประเทศ และที่สำคัญคือ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แถลงก่อนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อย 55 ของพื้นที่ประเทศไทยใน 15 ปี ซึ่งเนื้อหาดูเหมือนจะสอดรับกันไม่ใช่หรือ 3. สิ่งที่น่าสนใจในปฏิญญานี้คือ ยอมรับว่าชุมชนในชนบทและชนเผ่าพื้นเมือง มีบทบาทสำคัญในการดูแลพื้นที่ป่าของโลก จึงได้กำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและวิถีชีวิตในชนบท ด้วยการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนและสร้างผลกำไรได้ ตลอดจนยอมรับคุณค่าที่หลากหลายของผืนป่า และตระหนักถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ที่เป็นไปตามกฎหมายของชาติและกลไกระหว่างประเทศตามที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังยืนยันร่วมกันว่าประเทศสมาชิกมีพันธกรณีทางการเงินระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนาประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ที่ประชุม COP26 ยังได้วางแผนที่จะทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนกลุ่มชนพื้นเมืองผู้พิทักษ์ผืนป่าและการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย คำประกาศของปฏิญญานี้จึงสวนทางกับแนวทางการจัดการป่าไม้ของรัฐบาลไทยหลายประการ แนวคิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าของโลกพัฒนาไปไกลมากแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ในแนวทางของปฏิญญานี้ ซึ่งมีทั้งการอนุรักษ์และเร่งฟื้นฟูป่าไม้ การสนับสนุนนโยบายการค้าและการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยไม่ผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า การส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและวิถีชีวิตในชนบท รวมทั้งกลุ่มเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น การสนับสนุนเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินและการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน ประการแรก ที่ผ่านรัฐบาลไทย โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศว่าประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง มีแต่กลุ่มชาติพันธุ์ แน่นอนว่าคำพูดของคุณวราวุธ ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว แต่เป็นหลักการที่รัฐไทยยึดถือ คือ รัฐไทยไม่ยอมรับว่าประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งคำเรียก "ชนเผ่าพื้นเมือง" มีนัยยะทางการเมือง ที่จะนำไปสู่การสั่นสะเทือนอำนาจของรัฐเหนือทรัพยากรบางอย่าง แต่ยุคสมัยปัจจุบันมันไม่เกี่ยวกับความมั่นคงหรืออำนาจอธิปไตย แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่อยู่ในมือของผู้มีอำนาจ ประการที่สอง ที่ผ่านมามีปฏิบัติการแย่งยึดที่ดินและป่า จากชุมชนในชนบทและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง มีการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้านเหล่านี้ จำนวนมากกว่า 46,600 คดีทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติและเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ทับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทั่วประเทศอีก 4,192 หมู่บ้าน 4.2 ล้านไร่ ซึ่งถือเป็นการแย่งยึดที่ดินโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ รมว.สิ่งแวดล้อมกับนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม COP26 (ภาพ: TOP Varawut ? ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา) ประการที่สาม พื้นที่เป้าหมายปลูกป่าของรัฐบาลไทย ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้คือ ที่ดินทำประโยชน์ของคนชนบทและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ตามคำแถลงของคุณวราวุธ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 (ดูรายละเอียดได้ที่นี้ ) รัฐบาลมีมาตรการการปลูกและฟื้นฟูป่าธรรมชาติ 11 ล้านไร่ โดยพื้นที่เป้าหมายส่วนหนึ่งคือที่ดินทำกินของชาวบ้าน โดยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป้าหมายคือ พื้นที่ คทช. ในลุ่มน้ำชั้น 1,2 โดยจะนำที่ดิน คทช.เหล่านั้นมาปลูกป่า 20% ของพื้นที่ โดยให้เจ้าของที่ดินทำกินระหว่างร่อง และห้ามตัดทำลาย รวมทั้งจะเจรจาขอคืนพื้นที่ ซึ่งหมายถึงการยึดที่ดินทำกินอีกร้อยละ 10 ? 20 สำหรับในเขตอุทยานแห่งชาติ เป้าหมายคือ ที่ดินทำกินที่ได้รับการสำรวจและอนุญาตให้ทำกินภายใต้เงื่อนไขที่พระราชกฤษฎีกากำหนด คือ ปลูกไม้ยืนต้นเลียนแบบธรรมชาติ หรือทำตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ เนื้อที่ 4.2 ล้านไร่ รวมทั้งการเจรจาขอพื้นที่จากคนที่ถือครองโดยไม่เป็นไปตามเขื่อนไข เช่น ครอบครัวที่ถือครองที่ดินเกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินจะถูกยึดคืนไปปลูกป่า นี่จึงน่าจะเป็นคำตอบว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญาว่าด้วยการป่าไม้และการใช้ที่ดินของผู้นำกลาสโกว์ 4. ค่านิยมของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าของสากลโลกในยุคสมัยใหม่ เขาให้ความสำคัญกับการคุ้มครองและมอบสิทธิในการจัดการและดูแลผืนป่าให้แก่ชนพื้นถิ่น ซึ่งสวนทางกับแนวทางของรัฐบาลไทย ที่ยังมีนโยบายแย่งยึดที่ดินจากคนชนบทและชนเผ่าพื้นเมือง เป็นแนวคิดแบบเผด็จการที่ล้าหลังและไม่เคยประสบความสำเร็จ มีแต่ความล้มเหลวและขัดแย้งรุนแรง รัฐบาลเผด็จการ จะทำอะไรก็เอาแต่ผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องเท่านั้น พวกเขาไม่สนใจพัฒนาประเทศ สิ่งแวดล้อมและคุณชีวิตของประชาชนจริงๆ การไปร่วมประชุมกับนานาชาติครั้งนี้ ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่าการหาเวทีสร้างความนิยมทางการเมืองของรัฐบาลที่นับวันจมดิ่งลงเหวไปทุกที แล้วรัฐบาลไทยจะร่วมมือกับนานาชาติแก้ไขปัญหาป่าไม้ได้อย่างไร ในเมื่อเรื่องพื้นฐานที่สุดแบบนี้ยังไม่เอาด้วยกับเขาเลย https://greennews.agency/?p=26303
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|