#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันนี้ (14 พ.ย. 64) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 13 - 14 พ.ย. 64 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันที่ 14 พ.ย. 64 ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 19 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลงทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อน โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 13 ? 14 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้(มีผลกระทบจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันตอนบนในวันนี้ (14 พฤศจิกายน 2564) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ได้แก่ บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"โลกร้อน" ทำน้ำท่วม-พายุร้าย วัดใจธุรกิจชูเป้า Net Zero ............. โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล การเผชิญภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วม พายุ ในหลายจังหวัด ในหลายของไทยและหลายเมืองของโลก สร้างความเดือดร้อน ที่รุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น นั่นเป็นสิ่งยืนยันให้ผู้คนตระหนักรู้ชัดว่า ธรรมชาติกำลัง"เอาคืน" จากพฤติกรรมมนุษย์และการทำธุรกิจอุตสาหกรรม ที่สร้าง"เหตุปัจจัย"ทำลายทรัพยากรและธรรมชาติ เป็นปัญหาสะสมมากว่า150 ปีมาแล้ว เพราะเหตุดังกล่าว ผลก็คือ "สภาวะโลกร้อน" (Global Worming) ที่ส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate change) ที่ดิน น้ำ อากาศ ของโลกรวนไปหมด พายุกระหน่ำ น้ำท่วมกรุงโรม เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกิดขึ้นขณะที่ผู้นำระดับโลกเตรียมรวมตัวกันที่กรุงโรม อิตาลี เพื่อร่วมการประชุมสุดยอด G20 และจะตามมาด้วยการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ (เครดิตภาพ CNN,BBC) ผลการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายสำนัก ประจักษ์ชัดว่า วิถีทางของมนุษย์ที่ขาดความสมดุลย์ในการให้คุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้สร้างผลกระทบสั่งสมจนเกินกว่าสภาพธรรมชาติของโลกใบนี้จะเป็นไปอย่างปกติสุขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำธุรกิจการค้าและการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การคมนาคม ขนส่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล. การเผาไหมในกระบวนการผลิต การตัดไม้ทำลายป่า ล้วนมีส่วนปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" สู่บรรยากาศเสมือนเป็นห้องกระจกไปห่อหุ้มโลก ไม่ให้คลายความร้อนออกไป สภาวะอากาศรอบโลกจึงร้อนขึ้น เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกบางส่วนละลาย กลายเป็นน้ำปริมาณมหาสาร ก็ไปส่งผลให้เกิดน้ำท่วม เปลือกโลกเคลื่อน และดินฟ้าอากาศแปรปรวนรุนแรงตามมา ปรากฎการณ์เหล่านี้ได้ส่งสัญญานเตือนภัยภูมิอากาศมีภาวะฉุกเฉิน(Climate Emergency) จนผู้นำภาครัฐและเอกชนระดับโลก เริ่มตื่นตัว ตระหนักรู้ว่า ต้องร่วมมือสร้างกฎกติกา มีมาตรการและลงมือทำ เพื่อ ลด-ละ -เลิก ไม่สร้างปัจจัยซ้ำเติมปัญหาใส่ธรรมชาติ ก่อนที่โลกมนุษย์เราจะถึงวาระสุดท้าย องค์การสหประชาชาติมีการจัดประชุมภาคีรัฐตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nation Framwork Convention on Climate Change Conference of the Parties (UN FCCC COP) เรื่องสั้นๆว่าCOP ที่น่าจับตาคือ COP 1 เริ่มครั้งแรกปี1995 จัดที่ กรุงเบอร์ลิน เพื่อพิจารณาสถานการณ์และแนวทางการแก้ปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ COP 21 จัดปี 2015 ที่ กรุงปารีส ภาคีสมาชิกเห็นพ้องต้องกันว่า จะกลับไปปรับนโยบายของแต่ละประเทศ เพื่อคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน1.5 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน2 องศาเซลเซียส ก่อนโลกจะร้อนไปถึงระดับ เป็นภัยพิบัติแก่พันธุ์พืชที่เป็นอาหาร และเขตร้อนเริ่มจะอยู่อาศัยไม่ได้ ข้อตกลงปารีส ฉบับนี้ผู้นำทุกประเทศได้ได้ลงนามให้สัตยาบัน นับเป็นข้อตกลงต้านโลกร้อนยิ่งครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และทุกประเทศต้องมารายงานผลการดำเนินกาผลงานทุก5ปี COP 26 คือการประชุมในปีปัจจุบัน ช่วงวันที่ 31 ต.ค.- 12 พ.ย.ศกนี้ จัดที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ในเครือสหราชอาณาจักร จึงเป็นการประชุมครั้งสำคัญ เพราะความถี่และรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมและพายุที่เกิดในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ท้าทายมากขึ้น รัฐบาลไทยนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะร่วมประชุมด้วย นำรัฐบาลไทยได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้นำกว่า 120 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ว่า ?ประเทศไทยพร้อมจะยกระดับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่ และทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์( Net Zero) ภายในหรือก่อนหน้าปี 2065? สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 12 ของโลก และมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพดินฟ้าอากาศที่นับวันแปรปรวนรุนแรง เมื่อกระแสโลกแต่งตัว เพราะคำนึงถึงภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมโลกใบเดียวกัน เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกัน มีแผน มีนโยบายและมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดกฎกติกาเก็บเงินให้มีเงื่อนไข "รักษ์โลก" อยู่ในกฎเกณฑ์ การค้า การเงินและการลงทุน ระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรป เตรียมออกกฎหมายคล้าย "ภาษีสิ่งแวดล้อม" ด้วยมาตรการค่าปรับคาร์บอน แฟนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ( Cabon Border Adjustment Mechanism) หรือ CBAM ซึ่งผู้นำสินค้าเข้า EU ต้องซื้อใบรับรองCBAM เป็นมูลค่าตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เริ่มต้นช่วงแรกปี 2023 จะเป็นเพียงให้รายงานข้อมูลการปล่อยGHGเท่านั้น แต่จะใช้กติกาเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 ผู้นำเข้าสินค้าต้องซื้อใบCBAM ไปส่งมอบพร้อมสินค้า ทั้งนี้ผู้นำเข้าสินค้า 5 รายการจะโดนกติกาใหม่ที่ต้องแจ้งรายละเอียดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้แก่ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า และปูนซีเมนต์ นี่เป็นตัวอย่างของกติกาการค้าของโลกยุคใหม่ ที่ใช้แนวคิดที่ปกป้องโลก ซึ่งจะมีผลเพิ่มต้นทุนการค้าระหว่างประเทศ ผู้ผลิตเพื่อส่งออกติดตั้งปรับปรุงระบบการผลิตให้ทันต่อประเด็นความเสี่ยงจ่ากการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อคิด? ยุคนี้การบริหารประเทศ และบริหารกิจการธุรกิจ การใช้ทรัพยากรและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นคุณค่า ไม่ใช่ภาษาดอกไม้ที่พูดให้ดูดี หรือแค่ตระหนักรู้ แต่สังคมโลกต้องการรู้เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อนอันเป็นเหตุให้ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง ประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งไทย ก็กำหนดเป้าหมาย 2 จังหวะ คือ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" (Carbon Neutrallity) ภายในปี 2050 ซึ่งนอกจาก เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ในกระบวนการผลิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วถ้าถ้ายังหาเป้าหมาย เราสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยตัวเลขที่ขาด(เป็น การให้เงินอุดหนุนแหล่งที่มีกิจกรรมหรือวิธีการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นการปลูกป่า ) ส่วนที่ดำเนินการในระยะต่อไปที่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์(Net Zero) ภายในปี 2065 ภาคเอกชนก็ต้องพัฒนากระบวนการผลิตดำเนินการต่อเนื่อง แต่น่าจะมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสนับสนุนพลังงานสะอาด แม่ส่งเสริมนวัตกรรมที่อื่นต่อการลดมลพิษ น่ายินดีที่มีข้อมูลว่าไทยเป็นประเทศกลุ่มแรกของโลก และเป็น 1 ใน 3 ของอาเซียน คือไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ได้เสนอกรอบแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว ตั้งแต่ก่อนปี 2020 ดังนั้นถ้ามีการติดตามความคืบหน้าและปรับปรุงกลไกแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลจริงจัง ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อคุณภาพชีวิตสังคมและการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในสายตาโลกก็ดีด้วย https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000112644
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|