เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง และจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันในวันนี้ (1 ธ.ค. 2564) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนกลางถึงตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร บริเวณอันดามันตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 2 ธ.ค. 2564 บริเวณภาคภาคใต้จะเริ่มมีฝนลดลงตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. 64 เนื่องจากร่องมรสุมจะเคลื่อนลงไปพาดผ่านประเทศมาเลเซีย

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้ (1 ธ.ค. 2564) ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 1 ธ.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง จะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุมปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนกลางถึงตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 6 ธ.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างจะเคลื่อนลงไปพาดผ่านประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับในช่วงวันที่ 1 ? 6 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวอย่างต่อเนื่อง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลงอีก 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งถึงวันที่ 2 ธ.ค.64









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-12-2021 เมื่อ 02:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ชาวบ้านปัตตานีร้องรัฐเมินปัญหามรสุมทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เดือดร้อนบ้านพังหลายหลังไร้ที่ไป

ปัตตานี - ชาวบ้านปาตา ต.ตะโละกาโป อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ร้องรัฐเมินมรสุมทะเลกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงอย่างต่อเนื่อง บ้านพังหลายหลังอีกทั้งเส้นทางริมหาดก็ถูกทะเลซัดหายไปหมด ผ่านมาหลายปียังไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างจริงจัง



วันนี้ (30 พ.ย.) ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ ม.1 และ ม.2 บ้านปาตา ต.ตะโละกาโป อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เมื่อมีลมมรสุมจะมีคลื่นลมแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวถูกทะเลกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงอย่างต่อเนื่อง บ้านเรือนถูกซัดเสียหายไปแล้วหลายหลัง อีกทั้งเส้นทางริมหาดก็ถูกทะเลซัดหายไปหมด ซึ่งหลายปีที่ผ่านแนวกัดเซาะจากชายหาดเดิมเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 1 กม. และมีแนวโน้มทะเลกัดเซาะมากขึ้น ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถย้ายไปที่อื่นได้ เนื่องจากไม่มีที่จะไป เช่นเดียวกับบ้านที่กำลังสร้างก็ต้องหยุดสร้างไปก่อน เพราะเจ้าของบ้านยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์

ซึ่งด้านภาครัฐได้ลงมาดูสภาพพื้นทีกัดเซาะหลายครั้ง และเตรียมที่จะก่อสร้างเขื่อนกั้นป้องกันการกัดเซาะ แต่ผ่านมาหลายสิบปี ก็ไม่ดำเนินการใดๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ทำให้ชาวบ้านที่นี่ตัดพ้อได้เพียงช่วยกันนำทรายบรรจุใส่ในกระสอบและนำมาวางไว้ตลอดแนวความยาวชายฝั่งเพื่อเป็นแนวกั้น แต่ก็ไม่สามารถต้านแรงคลื่นทะเลได้ และถูกทะเลซัดกระสอบทรายกระจัดกระจายหายไปหมด

สำหรับความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นี่โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่บริเวณแนวริมฝั่งต่างต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง และหวาดกลัวว่าหากไม่แก้ปัญหาโดยเร็วในไม่ช้าก็จะถูกทะเลซัดบ้านที่อยู่ตลอดแนวชายฝั่งหายไปหมด ขณะนี้เหลือเพียง 1 เมตรบ้านหลายหลังก็จะถูกทะเลกลืนกิน โดยที่ผ่านมาชาวบ้านที่นี่ก็ไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร เพราะหลายคนก็พูดภาษาไทยไม่ได้ในการสื่อสารบอกปัญหา ชาวบ้านได้วอนให้ผู้นำท่องถิ่นประสานงานไปแล้ว แต่กลับเงียบหายมาโดยตลอด ชาวบ้านหลายปากกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องรอให้บ้านพังก่อนหรือ ถึงภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือจริงจัง



นายซัดดัม เพรชสง ชาวบ้านที่นี่กล่าวว่า สภาพกักเซาะตอนนี้ ทะเลเริ่มกินเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งบ้านหลายหลังก็ถูกทะเลซัดพักเสียหายหมด เบื้องต้นชาวบ้านได้นำทรายใส่ในกระสอบ แต่ทนอยู่ในไม่นานน้ำทะเลก็ซัดหายไปหมด อยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านให้เร็วที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาเห็นว่ารัฐจะเข้ามาแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาเลย อย่างน้อยก็อยากให้นำหินมาโรยก่อนก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านไม่ต้องหวาดระแวง

นางเจะสง สุหลง ชาวบ้านอาศัยติดกับทะเล กล่าวว่า รอบนี้ทะเลกัดเซาะหนักมาก เป็นแบบนี้มา 3 ปีแล้ว ตอนนี้กังวลเรื่องบ้านมากกลัวว่าทะเลจะกัดเซาะพังบ้านตนหายไปตอนไหน ถ้าตนมีที่อื่นจะไปก็ย้ายไปตั้งนานแล้ว แต่ไม่มีที่จะไปจึงต้องอยู่ เบื้องต้นก็นำกระสอบทรายมากั้นไว้ก่อน อยากให้รัฐเข้ามาดูแลหน่อย ชาวบ้านเดือดร้อนกันหมดแล้ว


https://mgronline.com/south/detail/9640000118740


*********************************************************************************************************************************************************


กินข้าวกับฝูงปลา ใน "ร้านอาหารใต้ทะเล" แห่งแรกของยุโรป ที่ "นอร์เวย์"


(ภาพจาก Facebook : P i c t u r e s)

เมื่อบรรยากาศในการนั่งกินอาหารที่ร้านอาหารนั้นธรรมดาไป ลองเปลี่ยนมานั่งในร้านอาหารใต้ทะเล ดื่มด่ำกับโลกใต้มหาสมุทร เพลิดเพลินกับฝูงปลาและสีฟ้าของน้ำทะเล ที่ร้าน "Under" ร้านอาหารใต้ทะเลแห่งแรกของยุโรป ที่ นอร์เวย์

มาตื่นตากับบรรยากาศแปลกใหม่ในการนั่งกินอาหารที่ร้าน เมื่อมองออกไปภายนอกหน้าต่างกว้างก็จะเห็นฝูงปลาน้อยใหญ่ และน้ำทะเลสีฟ้าอมเขียว เพราะที่นี่คือร้านอาหารใต้ทะเล ที่ตั้งอยู่ในเมือง Lindesnes ประเทศนอร์เวย์

ร้าน "Under" เป็นร้านอาหารใต้ทะเลแห่งแรกของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นร้านอาหารใต้ทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถูกออกแบบโดยบริษัท Snoehetta ของนอร์เวย์ ที่เคยมีผลงานออกแบบพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ 11 กันยายนในนิวยอร์ก และโรงละครโอเปร่าในออสโล

หากมองจากภายนอก ลักษณะของร้านจะเหมือนท่อคอนกรีตขนาดใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำบางส่วนในทะเลแอตแลนติกเหนือ มีความยาวราว 34 เมตร และอยู่ลึกลงไปใต้น้ำราว 5 เมตร ซึ่งการออกแบบร้านอาหารแห่งนี้จะทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เมื่อเวลาผ่านไป เปลือกคอนกรีตภายนอกจะทำหน้าที่เป็นปะการังเทียมสำหรับสัตว์ทะเลและสาหร่ายทะเล

เมื่องเดินเข้าไปในร้าน จะมีบันไดสูงแปดเมตรทอดยาวลงไปยังพื้นที่รับประทานอาหารขนาดใหญ่ ที่สามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 40 คน ล้อมรอบด้วยหน้าต่างโปร่งใสขนาดมหึมาสามารถมองออกไปสู่มหาสมุทร ความรู้สึกคล้ายกับการได้ไปดูพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แต่ว่านี่เป็นมหาสมุทรของจริง


(ภาพจาก Facebook : P i c t u r e s)

นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีแสงสะท้อนน้อยที่สุดในผนังกระจก ซึ่งเพิ่มความสว่างให้ห้องด้วยแสงธรรมชาติในระหว่างวัน มีการใช้ไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างปลอดภัย เพื่อล่อให้ปลามาว่ายน้ำอยู่ใกล้ๆ หน้าต่าง ทำให้ผู้ที่มานั่งกินอาหารภายในร้านแห่งนี้สามารถสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้ลิ้มรสเมนูอร่อยๆ ท่ามกลางฝูงปลาในทะเล

ร้านอาหารแห่งนี้สามารถรองรับได้ประมาณ 100 ที่นั่ง เปิดให้บริการในวันอังคาร-วันเสาร์ และเปิดให้จองที่นั่งล่วงหน้าได้ 6 เดือน ปัจจุบันมีลูกค้าจับจองที่นั่งแล้วกว่า 7,000 ที่นั่ง

สำหรับอาหารภายในร้านจะถูกดูแลโดย Nicolai Ellitsgaard Pedersen หัวหน้าเชฟ ผู้เคยทำงานที่ร้านอาหารกูร์เมต์ "มอลทิด" ใน Kristiansand และที่ร้านอาหาร Henne Kirkeby Kro ที่ได้รับดาวมิชลินในเดนมาร์ก ซึ่งเมนูอาหารของที่นี่จะเป็นอาหาร 18 คอร์สเต็มรูปแบบ ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นและอาหารทะเลสดๆ ในราคาประมาณ 430 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน


https://mgronline.com/travel/detail/9640000118824

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 01-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


"ว่าวใต้น้ำ" เมื่อกังหันไฮเทคถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำในมหาสมุทร


"ว่าวใต้น้ำ" ผลิตไฟฟ้าจากการแหวกว่ายไปในกระแสน้ำใต้ท้องทะเล ...... ที่มาของภาพ,MINESTO

สิ่งประดิษฐ์หน้าตาเหมือนเครื่องร่อน 2 ลำ กำลัง "แหวกว่าย" อยู่ใต้ท้องทะเลลึกของหมู่เกาะแฟโร ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก

สิ่งนี้ได้รับการขนานนามว่า "มังกรทะเล" หรือ "ว่าวใต้น้ำ" ที่แหวกว่ายไปในกระแสคลื่น แต่อันที่จริงมันคือ "กังหันไฮเทค" ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานกระแสน้ำในมหาสมุทร

"ว่าวใต้น้ำ" สองตัวนี้มีความยาวปีก 5 เมตร และมีลักษณะการเคลื่อนตัวใต้น้ำเป็นรูปเลข 8 เพื่อรับพลังงานจากกระแสน้ำทะเล โดยที่ตัวเครื่องถูกล่ามติดไว้กับก้นทะเล ด้วยสายเคเบิลเหล็กยาว 40 เมตร

การเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดจากแรงยกตัวของกระแสน้ำ แบบเดียวกับเครื่องบินที่ลอยขึ้นได้จากแรงลมที่ช่วยให้เกิดแรงยกปีกของเครื่อง

การเคลื่อนตัวในลักษณะนี้ ทำให้ว่าวใต้น้ำสามารถเคลื่อนตัวเป็นวงกว้างด้วยความเร็วที่สูงกว่ากระแสน้ำใต้ทะเลหลายเท่าตัว และทำให้มันสามารถเพิ่มปริมาณพลังงานที่ได้จากกระแสน้ำทะเล

คอมพิวเตอร์ที่อยู่บนตัวเครื่อง ทำหน้าที่บังคับให้ว่าวใต้น้ำหันไปในทิศทางที่มีกระแสน้ำแรง และอยู่ในระดับน้ำลึกที่เหมาะสม แต่หากบริเวณนั้นมีว่าวหลายตัวทำงานไปพร้อม ๆ กัน เครื่องก็จะกระจายตัวให้อยู่ห่างจากกันเพื่อป้องกันเหตุชนกัน

พลังงานไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งผ่านสายส่ายเคเบิลเหล็กที่ยึดโยงตัวเครื่องไว้กับก้นทะเลแล้วส่งต่อไปยังสถานีควบคุมใกล้กับเมืองริมฝั่งทะเล เวสต์มันนา


เรือนำว่าวใต้น้ำไปปล่อยไว้ในตำแหน่งที่กำหนด ........ ที่มาของภาพ,MINESTO

เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาโดย "มิเนสโต" (Minesto) บริษัทด้านวิศวกรรมที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 ซึ่งแตกออกมาจากบริษัทซาบ (Saab) ผู้ผลิตอากาศยานรายใหญ่ของสวีเดน

ว่าวใต้น้ำ 2 ตัวที่หมู่เกาะแฟโร ผลิตไฟฟ้าป้อนให้แก่ SEV บริษัทไฟฟ้าของหมู่เกาะแห่งนี้ ตามโครงการทดลองที่เริ่มขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา

ว่าวแต่ละตัวสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนได้ประมาณ 4-5 หลัง แต่นายมาร์ติน เอียดลุนด์ ผู้บริหารของมิเนสโต ระบุว่า จะนำว่าวขนาดใหญ่กว่าสองเท่าไปใช้ในทะเลแถบนี้ในช่วงต้นปี 2022

"ว่าวตัวใหม่จะมีความยาวปีก 12 เมตร และแต่ละตัวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1.2 เมกะวัตต์" เขากล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า "เราเชื่อว่าฝูงว่าวเหล่านี้จะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับการใช้งานของบ้านเรือนราวครึ่งหนึ่งบนหมู่เกาะแฟโร"


ว่าวใต้น้ำที่ บ.มิเนสโต ทดลองใช้ที่หมู่เกาะแฟโรมีความยาวปีก 5 เมตร (ซ้าย) แต่มีแผนจะเริ่มใช้ขนาดใหญ่กว่าช่วงต้นปีหน้า ........ ที่มาของภาพ,MINESTO

หมู่เกาะแฟโรซึ่งประกอบไปด้วยเกาะใหญ่หลัก 18 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 50,000 คน เป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก

หมู่เกาะแห่งนี้มีสภาพภูมิอากาศที่ยากต่อการอยู่อาศัย โดยขึ้นชื่อเรื่องกระแสลมแรง ฝนตกอย่างต่อเนื่อง และคลื่นทะเลแรง ด้วยเหตุนี้จึงมีความหวังว่า การใช้ว่าวใต้น้ำในการผลิตไฟฟ้าจะช่วยให้หมู่เกาะเหล่านี้บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ได้ภายในปี 2030

แม้ปัจจุบัน หมู่เกาะแฟโรจะใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานพลังน้ำราว 40% และไฟฟ้าจากพลังงานลมราว 12% แต่ก็ยังคงใช้พลังงานฟอสซิลในรูปของน้ำมันดีเซลที่นำเข้าจากทางทะเลในสัดส่วนเกือบ 50%


ที่มาของภาพ,MINESTO

นายเอียดลุนด์ กล่าวว่า ว่าวใต้น้ำถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานสำรองที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศไม่รุนแรง ยกตัวอย่างเช่นในฤดูร้อนปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งหมู่เกาะแฟโรแทบจะไม่มีกระแสลมอยู่นาน 2 เดือน

เขาชี้ว่า ว่าวใต้น้ำถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ยั่งยืนและใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะในเกาะที่ไม่มีทางจะเชื่อมต่อสายไฟฟ้าจากประเทศอื่นได้ในยามที่พลังงานไฟฟ้าลดลง ตลอดจนการมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในทศวรรษหน้า

นอกจากหมู่เกาะแฟโรแล้ว ปัจจุบันบริษัทมิเนสโต ยังทำการทดลองใช้ว่าวใต้น้ำในไอร์แลนด์เหนือ และเวลส์ ซึ่งมีแผนจะทำฟาร์มว่าวใต้น้ำนอกชายฝั่งเกาะแองเกิลซีย์ รวมทั้งยังมีโครงการที่ไต้หวัน และรัฐฟลอริดา ของสหรัฐฯ ด้วย


https://www.bbc.com/thai/international-59462827
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:18


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger