#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 5 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง กับมีลมแรง โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมบริเวณประเทศตอนบนมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศมาเลเซีย และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นนี้ไว้ด้วยตลอดช่วง ส่วนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2564)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 03 ธันวาคม 2564 ในช่วงวันที่ 3-5 ธ. ค. 2564 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงนี้ไว้ด้วย อนึ่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เวทีหาทางออกสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล "หาดทรายรี" สุดท้าย ให้กรมโยธาฯ ชลอเพื่อทบทวนรูปแบบ ชุมพร - เวทีหาทางออก โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล "หาดทรายรี" สุดท้าย ได้ ข้อสรุปแก้ปัญหา ให้กรมโยธาฯ ชะลอโครงการ รวมทั้งทบทวนรูปแบบ การสร้างเขื่อนกันตลิ่งหาดทรายรี สถานที่ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชุมพร จากกรณีที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินโครงการโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดทรายรี บริเวณหาดทรายรี หมู่ที่ 6 ตำบลหาดทรายรี อ.เมือง จ.ชุมพร มีความยาว 633 เมตร ตลอดแนวชายหาด งบประมาณ 82 ล้านบาท สิ้นสุดสัญญาในปี 2565 ทำให้ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวและกลุ่มนักอนุรักษ์ ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้ายโครงการดังกล่าว เพราะมองว่า อนาคตสถานที่ประวัติศาสตร์และชายหาดแห่งนี้จะหายไป เนื่องจากหาดทรายรี เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ มีพระตำหนักที่ประทับ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ ?เสด็จเตี่ย? และยังสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยที่ผ่านมาได้รวมตัวยื่นหนังสือถึงหลายหน่วยงานเพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดเวทีหารือทางออกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดทรายรี ขึ้นที่ห้องประชุมอาคารประวัติศาสตร์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตำบลหาดทรายรี อ.เมืองชุมพร โดยมี นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต โยธาธิการและผังเมือง จ.ชุมพร นายยุทธชัย จิตอารีรัตน์ เจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพร และมีผู้เข้าร่วมชี้แจง และ แสดงความคิดเห็นผ่านการถ่ายทอดระบบวิดีโอซูม เช่น รศ.ดร.สมฤทัย ทะสะดวก นักวิชาการภาควิศวกรรม รศ.ดร.เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช นักวิชการภาควิศวกรรมชายฝั่ง นายจิรกร มุสิกะพันธ์ วิศกร นายประทีป ณ ถลาง นักวิชาการสิ่งแวดล้อม วิศกรผู้ออกแบบก่อสร้างของกรรมโยธาธิการและผังเมือง นักวิชาการอิสระ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย เข้าร่วมให้ข้อมูล ข้อชี้แจงและแสดงความคิดเห็น สำหรับในส่วนของเวทีหารือทางออกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดทรายรี มีการเชิญฝ่ายสนับสนุนโครงการ ได้แก่ผู้ประกอบการชายหาด ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ กับฝ่ายผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแบบโครงสร้างการก่อสร้างที่จะส่งผลกระทบต่อหาดทรายรี ประกอบด้วย นาวาเอก กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รอง ผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จ.ชุมพร นายธนเทพ กมศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ชุมพร ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นางสาวชิดสุภางค์ ชำนาญ เลขาธิการสมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร กลุ่ม Beach for life สภาประชาชนภาคใต้ และตัวแทนมูลนิธิภาคใต้สีเขียว ทั้งนี้กลุ่มนักอนุรักษ์ นักวิชาการ และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ มองว่าปัญหาการรุกและทำลายชายหาดที่แท้จริงไม่ใช่เกิดภัยจากธรรมชาติ แต่เกิดจากภัยของมนุษย์นั่นเอง เพราะชายฝั่งอ่าวไทยจะมีฤดูลมมรสุมตะวนออกเฉียงเหนือ หรือที่ภาคใต้เรียกว่า ?ลมว่าว? ระหว่างกลางเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นประจำทุกปี ทะเลมีคลื่นลมแรงกิจกรรมการท่องเที่ยวก็ปิดตัวตามฤดูกาลอยู่แล้ว เมื่อหมดฤดูมรสุมคลื่นลมสงบและชายหาดก็จะกลับมาอยู่ในสภาพเดิม แต่ปัจจุบันคือมนุษย์ไปสร้างบ้าน สถานประกอบการ ซุ้มอาหารอยู่บนชายหาด จึงเกิดปัญหาขึ้นมา ด้าน ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ข้อมูลทางวิชาการจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการสำรวจพบว่า ชายฝั่งอ่าวไทยด้าน จ.ชุมพร มีผลกระทบจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่งน้อยมาก ดังนั้นกรมโยธาธิการฯ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะใช้งบประมาณจำนวนมากสร้างเขื่อนซึ่งเป็นโครงสร้างแข็งป้องกันชายฝั่งในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากจะเกิดแรงปะทะของคลื่นลม ทำให้เขื่อนพังในที่สุด และคลื่นจะเปลี่ยนทิศทางไปส่งผลกระทบกับพื้นที่ชายหาดอื่น ขณะที่ผู้สนับสนุนโครงการเป็นส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการชายหาด บอกว่า พวกตนเป็นคนในพื้นที่มีอาชีพค้าขายมานาน แม้ที่ผ่านมาภาครัฐหลายหน่วยงานได้เข้ามาแก้ปัญหาสร้างเขื่อนและกำแพงกันคลื่น 2-3 ครั้ง ผ่านไปไม่กี่ปีก็ถูกคลื่นลมมรสุมซัดพังเสียหาย แต่ปัจจุบันพวกตนเชื่อมั่นวิศวกร การออกแบบ เครื่องจักร วัสดุโครงสร้างที่มีการพัฒนาให้แข็งแกร่งคงทนต่อสภาพคลื่นลมมรสุมได้มาก จะสามารถแก้ปัญหาให้กับพวกตนได้ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีใครได้รับความเดือดร้อนเหมือนกับพวกตนคนในพื้นที่ จึงต้องการให้ก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ด้าน นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต โยธาธิการและผังเมือง จ.ชุมพร ได้กล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้มีคัดค้านการก่อสร้าง แต่เป็นฝ่ายที่มีความห่วงใย ต่อการออกแบบก่อสร้างโครงการ ที่มองอาจจะส่งผลกระทบต่อชายหาดหรือทำให้หาดทรายรี ไม่มีหาด และฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตามตนพร้อมที่จะรับฟังปัญหาและความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำเสนอไปยังสวนกลาง ซึ่งโครงการดังกล่าวขณะนี้ได้ก่อสร้างโครงสร้างฐานล่างไปแล้วประมาณ 70% ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้หรือไม่ก็จะมีการหารือกันในระดับที่เกี่ยวข้องต่อไป https://mgronline.com/south/detail/9640000120084
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
?คาร์บอนเครดิต? สู่การฟื้นฟูป่าชายเลน ความหวังครั้งใหม่ของทะเลไทย ............... โดย ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ภาพแรกปี 2000 ภาพที่สอง ปี 2002 ภาพที่สาม ปี 2021 กลับมาจากชุมพร (ปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา) ผมอยากเล่าเรื่องฟื้นฟูป่าชายเลนให้เพื่อนธรณ์ เพราะนี่แหละคือความหวังครั้งใหม่ของทะเลไทย ขอย้อนอดีตเมื่อ 60 ปีก่อน ไทยเคยมีป่าเลน 2.3 ล้านไร่ ในปี 2504 จากนั้นจึงเกิดการทำลายป่า ทั้งนากุ้งทั้งการขยายชุมชน ฯลฯ จนในปี 2543 เราเหลือป่าอยู่ 1.58 ล้านไร่ หากดูภาพประกอบ ภาพแรกปี 2000 นั่นแหละคือช่วงนั้น เรายังพอเห็นสีเขียวอยู่บ้าง (จุดสีแดง ขาว น้ำเงินคือจุดอ้างอิง ตำแหน่งตรงกันทุกภาพครับ) ปี 2547 เราเหลือป่า 1.46 ล้านไร่ เพื่อนธรณ์ดูภาพที่สอง ปี 2002 ป่าสีเขียวบางส่วนหายไป กลายเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยง (จุดขาว) เวลาผ่านมา เราเริ่มจริงจังมากขึ้น จนสุดท้ายเรามีเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามยุทธศาสตร์ชาติ 55% ภาพที่สาม ปี 2021 เราเริ่มปลูกป่ากลับไปในพื้นที่ยึดคืนมาได้ เริ่มเห็นสีเขียวบางส่วนด้านใต้ของภาพ (จุดน้ำเงิน) แต่ยังมีพื้นที่โล่งกว้างอีกมากที่เป็นนากุ้งร้างๆ ที่ยึดคืนมาได้ เพราะเราไม่มีงบพอปลูก ภาครัฐจะเอาเงินมาจากไหน ? โดยเฉพาะช่วงนี้และต่อจากนี้ที่งบถูกลดตามผลกระทบโควิด แค่ดูแลรักษาลาดตระเวนอย่างเดียวก็ย่ำแย่แล้ว ผลที่เกิดขึ้นคือเรายึดคืนป่าเลนที่ถูกบุกรุกได้ แต่ไม่มีเงินปลูก ทิ้งไว้เป็นบ่อกุ้งร้างๆ เราอยากได้ป่า อยากได้สัตว์ อยากได้แหล่งอนุบาลแหล่งอาหาร เราไม่ได้อยากได้นากุ้งร้าง คำตอบคือต้องขอแรงเอกชน ผ่านทาง CSR โครงการต่างๆ แต่เอกชนจะช่วยได้แค่ไหน ? กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวคงไม่ได้งบมากมาย เพราะแทบไม่เห็นผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นเม็ดเงิน ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แค่เอาตัวรอดก็เหนื่อยแล้ว โครงการที่ไม่ชัดเจนคงรอดยาก ผมอยู่ในคณะปฏิรูปประเทศ ทราบดีว่าเปลี่ยนอะไรต้องมีคานงัด จุดพลิกผันที่ไม่ใช่แค่ฝันไปอย่างเดียว เคราะห์ดีที่เรามี นั่นคือโลกร้อน สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทำให้คนทั้งโลกตกใจ และเกิดมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกแบบเข้มข้น หลายองค์กรขนาดใหญ่ในไทยเริ่มเซ็ตปี Carbon Neutral ลดคาร์บอนในกิจการ ที่เหลือก็หาทางดูดซับ/กักเก็บ ป่าชายเลน/หญ้าทะเลคือ Blue Carbon มีกลไกที่ทรงพลังกว่าระบบนิเวศบนบกหลายเท่า เมื่อกติกาในการสนับสนุนเอกชนฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อคาร์บอนเครดิตเริ่มชัดเจนขึ้น นั่นเป็นทางออกที่ทำได้ไม่ใช่แค่ฝัน ไม่งั้น เราจะเอางบฟื้นฟูมาจากไหน ? องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เป็นหน่วยงานกลางของไทยในเรื่องนี้ เริ่มผลักดันกติกาใหม่ๆ เพราะในอีกไม่นาน ประเทศต่างๆ จะเริ่มกำแพงภาษีคาร์บอน เช่น CBAM ของยุโรป เราไม่ทำอะไร เราไปต่อไม่ได้ในโลกของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โลกที่คำว่ารณรงค์มีความหมายน้อยลง มาตรการการเงินการลงทุนมีความหมายมากขึ้น หากยังไม่มั่นใจว่าใช่ ผมขอเสนอราคาในตลาด carbon emission ในช่วง 1 ปีเพิ่ม 159% ยิ่งดูในระยะสั้นยิ่งก้าวกระโดด ก่อน COP26 ราคาเฉลี่ย 60 เหรียญต่อตัน ผ่านไปไม่กี่วัน ราคากระโดดไป 70 ยูโร/ตัน (2,590 บาท) นั่นคือตัวเร่งที่จะเกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศทั้งโลก เพราะมูลค่าคาร์บอนที่ดูด/กักเก็บมันสูงมาก และจะยิ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ยังมองไม่เห็นจุดพีค องค์กรใหญ่ๆ ในไทยเริ่มประกาศปีเป้าหมาย เริ่มมีหลายแห่งขยับตัวเตรียมก้าว หนึ่งในนั้นคือกฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จุดที่เห็นชัดคือเลิกพูดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่มีการสร้างอีกแล้ว เปลี่ยนไปทำ Floating Solar แทน แต่ยังไงก็ยังมีก๊าซธรรมชาติ จำเป็นต้องใช้การดูด/กักเก็บโดยระบบนิเวศ นั่นคือที่มาของปลูกป่าล้านไร่ เป็นป่าชายเลน 200,000 ไร่ โครงการนี้เซ็น MOU ระหว่างกฟผ./กรมป่าไม้/กรมอุทยาน/กรมทะเล ดังที่ผมเคยเล่าให้ฟัง จากนั้นคือการคิกออฟ นั่นคือเหตุผลที่ผมไปชุมพร เพราะรอมานานมากกับการฟื้นป่าครั้งนี้ ไม่เคยออกมาเรียกร้องให้ปลูกป่ามากมาย เพราะร้องไปก็รู้ดีว่าไม่มีงบ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ สถานการณ์มันเปลี่ยน เฉพาะที่ลงมาชุมพร กฟผ.ปลูก 1,300 ไร่ และเตรียมปลูกเพิ่มอีก 3,000 ไร่ ตามที่จังหวัดชุมพรหาที่ยึดคืนมาให้ได้ ที่สำคัญคือปลูกแล้วต้องขึ้น เท่าที่ลงไปเช็คดูคร่าวๆ อัตรารอด 50-60% คงต้องปลูกแซมบ้างครับ นอกจากนี้ ยังต้องมีการตรวจสอบเป็นประจำทุก 1-3 ปี และสำคัญสุดคือให้ชาวท้องถิ่นมาช่วยกัน สนับสนุนคนริมทะเลให้มีแรงมีงบในการดูแล ไม่เพียงแค่คาร์บอน ยังรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่น Bio-banking, Biodiversity Offset ฯลฯ เทรนด์โลกมาแรงครับ มีศาสตร์ใหม่ๆ ผสมผสาน เศรษฐกิจ/ระบบนิเวศ/สิ่งแวดล้อม เราต้องตามให้ทัน ผมคงเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังไม่ได้หมด แต่บางส่วนจะนำไปพูดในเสวนาวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งใหญ่ตอนสิ้นเดือน เอาไว้จะมาบอกช่องทางเข้าฟัง สุดท้ายคือดีใจมากที่ชุมพรเป็นจุดเริ่มของโครงการปลูกป่าล้านไร่ (ป่าเลน 2 แสนไร่) เพราะชุมพรคือทะเลสุดยอด แม้จะโดนแทะเล็มไปบ้าง แต่ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับที่อื่น บทเรียนต่างๆ ที่เราเคยรู้ ความผิดพลาดจากการฟื้นฟูในอดีตจะถูกนำมาปรับปรุง เช่น ถุงดำที่ใช้ในการเพาะชำ ตอนนี้ใช้วิธีเก็บรวมกันมาทิ้ง แต่ในอนาคตอาจมีนวัตกรรม มีวัสดุใหม่ๆ ที่ใช้ได้ในโลกจริง ที่สำคัญ ผมยังเห็นอนาคต เห็นจากคำที่ท่านรองผู้ว่ากฟผ. บอกกับท่านรองผู้ว่าชุมพร "มีเท่าไหร่ส่งมาเรื่อยนะคะ ยินดีสนับสนุนให้" ตลอดเวลาหลายสิบปีในการทำงาน ผมเคยได้ยินแต่คนอยากปลูกขอเงินจากแหล่งทุน จากนั้นก็เศร้า เป็นครั้งแรกๆ ที่ผมได้ยินแหล่งทุนยินดีสนับสนุนการปลูกในพื้นที่ยึดคืนมาได้แบบไม่อั้น โลกร้อนคือวิกฤต แต่ในทุกวิกฤตมีโอกาส และนี่คือโอกาสสำคัญของการคืนความเขียวขจีให้ชายฝั่งไทย อย่างที่เราฝันกันไว้มาตลอดครับ ข้อมูลอ้างอิง Facebook.com/thon.thamrongnawasawat https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000120134
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
วิถียั่งยืนของนักงมหอยพื้นบ้านสเปน Shellfisherwomen carry cockles in buckets and clams in net sacks before weighing them in the Noia estuary, where more or less 4000 shellfisherwomen work on foot along the inlets of the Spanish region of Galicia, Spain, November 16, 2021. Picture taken November 16, 2021. REUTERS/Nacho Doce ก่อนรุ่งสางเหนือปากแม่น้ำ Noia ในเขตแคว้นกาลิเซียของสเปน ผู้หญิงหลายร้อยคนเดินลงมาพร้อมแสงไฟจากไฟฉายลงไปในน้ำลึกถึงเอวเพื่อเก็บหอยแครงและหอยกาบจากก้นแม่น้ำโดยใช้เทคนิคที่สืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน พวกเธอสวมเสื้อแจ็คเก็ตกันลมทับชุดเวทสูท พวกเธอขุดหาหอยจากตะกอนดินที่อุดมด้วยสารอาหารของปากแม่น้ำที่ไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เย็นยะเยือกของแคว้นกาลิเซีย หรือที่รู้จักในชื่อรีอัส โดยมีอุปกรณ์เป็นคราดด้ามยาวที่ติดกับตะกร้าโลหะ ผู้คนกว่า 4,000 คนซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิงทำงานเป็นชาวประมงพื้นบ้านบริเวณปากน้ำที่ตัดผ่านแนวชายฝั่งที่ขรุขระของภูมิภาคนี้ ชาวประมงเหล่านี้หารายได้มากถึง 2,000 ยูโร (ราว 76,000 บาท) ต่อเดือนในช่วง 6 เดือน แต่สำหรับหลายๆ คน การทำประมงเป็นมากกว่าแค่งาน "งานนี้มีอิสระมาก คุณจะเป็นเหมือนนกนางนวล อยู่อย่างอิสระ" คอนชิตา วัย 58 ปี กล่าว "ฉันอยากทำงานนี้ตั้งแต่ฉันยังเป็นเด็ก" เธอกล่าว โดยหวนนึกถึงตอนที่เธอเคยโดดเรียนเพื่อดูเรือขนถ่ายที่ท่าเรือ มารี การ์เมน โรเซนเด มาโย วัย 65 ปี ที่กำลังเตรียมเกษียณอย่างไม่เต็มใจในปลายเดือนธันวาคม แม้ผ่านไปนาน 31 ปี แต่ก็ยังรู้สึกเช่นเดิม เมื่อฉันเดินริมทะเล ฉันลืมปัญหาของฉันไปหมด ฉันผ่อนคลายและไม่สนใจอะไร? เธอกล่าว ภายใต้แสงไฟจากไฟฉายบนหัว เธอได้เลือกหอยแครงที่ดีที่สุดจากถังของเธอและวางในถังที่อยู่บนห่วงยาง ภายใต้แสงไฟจากไฟฉายคาดศีรษะของเธอ เธอหยิบหอยแครงที่ดีที่สุดจากตะกร้าของเธออย่างช่ำชอง และใส่ไว้ในถังอยู่บนห่วงยางที่ผูกไว้กับตัว เพื่อไม่ให้หอยเหล่านี้ถูกจับมากเกินไป จึงมีเพียงชาวประมงหญิงที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้นที่สามารถทำได้ เฉพาะฤดูจับสัตว์น้ำในเดือนตุลาคม-มีนาคม แนวทางปฏิบัตินี้ได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งสนับสนุนการจัดการหอยแครงอย่างยั่งยืนในชุมชนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก 6 แห่ง รวมถึงที่แคว้นกาลิเซีย ในช่วงสุดท้ายของวัน พวกเธอจะนำหอยที่เก็บมาได้ซึ่งหอยกาบต้องไม่เกิน 3 กิโลกรัม ส่วนหอยแครงต้องไม่เกิน 16 กิโลกรัม ไปชั่งน้ำหนักและส่งขายต่อไป มาโยรู้ว่ามุมมองของผู้อื่นที่มีต่องานของเธอเปลี่ยนไปตามกาลเวลา "คนอื่นเคยพูดว่า คุณทำงานอะไร เป็นชาวประมงหญิงหรอ ยี้ แต่ทุกวันนี้ใครหลายๆคนอยากเป็นชาวประมงเก็บหอย" อลิดา เอเลนา วัย 35 ปี เป็นหนึ่งในชาวประมงรุ่นใหม่ที่กำลังเรียนรู้การทำอาชีพนี้ "การทำงานในทะเลทำให้คุณหลงใหล ทันทีที่หมดวัน ฉันก็แทบรอให้ถึงวันรุ่งขึ้นไม่ไหวแล้ว" เธอกล่าว กลับมาที่ฝั่งมาโยได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรหลีกเลี่ยง แต่กลับหวนนึกถึงเมื่อครั้งที่ตัวเองถูกช่วยขึ้นมาเมื่อเกิดน้ำขึ้นอย่างกะทันหัน "นอกจากเหตุการณ์นั้น ประสบการณ์ในการทำงานของฉันดีมาก ดีมากๆ งดงามมาก" https://www.matichon.co.th/foreign/news_3069441
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
เกาะอังกฤษเตือนภัย "หนาวยะเยือก" กระแสลมวนขั้วโลกทำอุณหภูมิดิ่ง -9 องศาฯ วันที่ 3 ธ.ค. มิร์เรอร์ รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักรประกาศเตือนภัยสภาพอากาศหนาวจัด พายุหิมะ และอุณหภูมิที่คาดว่าจะดิ่งต่ำถึง -9 องศาเซลเซียส หลัง กระแสลมวนขั้วโลก พัดถล่มพื้นที่ตอนเหนือ รายงานระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์จะเผชิญกับอากาศหนาวจัดช่วงสุดสัปดาห์ และอุณหภูมิอาจต่ำสุดถึง -9 องศาเซลเซียส ส่วนตอนเหนือของอังกฤษคาดว่าอุณหภูมิจะลดลงไปอยู่ที่ -4 องศาเซลเซียส พื้นที่เดียวที่อุณหภูมิไม่ลดลงเกิน 0 องศาเซลเซียสคือชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ นายจอห์น เกรเซียค นักพยากรณ์อากาศอาวุโสของเว็บไซต์แอคคูเวธเตอร์ ระบุว่าพายุหิมะอาจตกหนักและทับถมสูงกว่า 15 เซนติเมตรในพื้นที่ตอนเหนือ สกอตแลนด์อาจสูงถึง 10 เซนติเมตร และตอนกลางของประเทศจะมีหิมะตกหนาราว 5 เซนติเมตร ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ผู้นำอังกฤษ แถลงส่งเจ้าหน้าที่ททหาร 130 นายไปยังภูมิภาคแกรมเปียน ทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งมากกว่า 3,000 หลังคาเรือนยังประสบภัยไม่มีไฟฟ้าใช้ ภายหลังพายุอาร์เวนพัดถล่มอย่างหนักตั้งแต่สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้กองทัพจะใช้วิธีเคาะประตูบ้านกว่า 4,000 หลังในพื้นที่ห่างไกล เพื่อสอบถาม มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ และให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งจากพายุอาร์เวน และสถานการณ์กระแสลมวนขั้วโลกที่เพิ่งเกิดขึ้น https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6765736
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|