#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. 2564 ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกบางในตอนเช้า และมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1?3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิจะลดลง 2?4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลง 1?3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ราอี" บริเวณทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์และลงทะเลจีนใต้ในวันที่ 18 ธ.ค. 64 โดยพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือบริเวณภาคใต้ตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ธ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ตอนล่าง (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 16 ? 18 ธันวาคม 2564)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในคืนนี้ (16 ธ.ค. 2564) ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ พื้นที่ที่คาดว่าได้รับผลกระทบมีดังนี้ วันที่ 16 ธันวาคม 2564: บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในช่วงวันที่ 17-18 ธันวาคม 2564: บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. 2564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
ไทยจะจมทะเลไหม? เมื่อธารน้ำแข็งยักษ์ขั้วโลกใต้กำลังละลาย ธารน้ำแข็งทเวตส์กำลังละลายอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ อาจทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นถึง 3 เมตรในอีกไม่กี่ปี ทีมวิจัยจากสหรัฐและสหราชอาณาจักรซึ่งทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งทเวตส์ ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา แถลงในการประชุมประจำปีของ American Geophysical Union (AGU) โดยเตือนว่าธารน้ำแข็งกำลังละลายลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และละลายเร็วขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจพังทลายลงในไม่กี่ปีข้างหน้า รายงานระบุว่า ธารน้ำแข็งทเวตส์ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอๆ กับสหราชอาณาจักรหรือฟลอริดา มีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร และลึกประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร บางครั้งถูกเรียกว่า "ธารน้ำแข็งแห่งวันสิ้นโลก" (Doomsday Glacier) เพราะการพังทลายของมันอาจทำให้ธารน้ำแข็งอื่นๆ ในแอนตาร์กติกาพังทลายไปด้วย ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น 3 เมตร ทเวตส์ สูญเสียน้ำแข็งไปประมาณ 595,000 ล้านตัน (540,000 ล้านเมตริกตัน) ตั้งแต่ปี 1980 ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 4% นับแต่นั้นเป็นต้นมา การศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร The Cryosphere ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ระบุว่าธารน้ำแข็งทเวตส์และธารน้ำแข็งเกาะไพน์มีส่วนประมาณ 10% ของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก ขณะนี้น้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เพียงแต่จะทำให้ธารน้ำแข็งทเวตส์ละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้การยึดเกาะของธารน้ำแข็งใต้ทะเลสั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อธารน้ำแข็งอ่อนตัวลงก็มีแนวโน้มที่จะมีน้ำแข็งแตกออกเป็นเสี่ยงๆ หรือหลุดออกจากแนวสันดอนภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ โดยภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นรอยแยกใหม่บนพื้นผิวของน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกาอาจเกิดขึ้นภายใน 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า โดยดร.เอริน เพตติต จากมหาวิทยาลัย Oregon State University อธิบายว่ารอยแตกของน้ำแข็งคล้ายกับรอยร้าวบนกระจกรถ ซึ่งจะรอยร้าวจะค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ และหากได้รับการกระทบกระเทือนมันก็จะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ สะเทือนถึงไทยไหม? อย่างที่ทราบกันว่ากรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของเรา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 ถึง 2 เมตร ดังนั้นหากถึงวันที่ธารน้ำแข็งทเวตส์พังทลายลง ซึ่งนักวิจัยชี้ว่าจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น 3 เมตร ก็มีความเป็นไปได้ที่กรุงเทพมหานครจะได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วแผ่นดินก็กำลังทรุดตัวลงทุกปีๆ ซึ่งนอกจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติเองแล้ว การสูบน้ำบาดาล และการเติบโตของเมืองยิ่งส่งผลให้แผ่นดินกรุงเทพทรุดตัวเร็วขึ้น ประกอบกับพื้นดินซึ่งเป็นดินเหนียวที่มีความหนาแน่น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วมมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Deltares พบว่า ประเทศในแถบพื้นที่ราบลุ่มเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพื้นดินมีแนวโน้มที่จะจมเนื่องจากการทรุดตัว อาทิ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากในประเทศเหล่านี้อาจต้องเผชิญภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีแนวโน้มเลวร้ายลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่แค่ธารน้ำแข็งทเวตส์ องค์กรการกุศลเพื่อการพัฒนา Christian Aid ของอังกฤษ เคยเตือนว่า 8 เมืองใหญ่ใกล้ชายฝั่งทั่วโลก รวมถึงลอนดอน เซี่ยงไฮ้ จาการ์ตา มะนิลา และกรุงเทพมหานคร จะจมบาดาลในอีก 14 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเพิ่มระดับของน้ำทะเลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็งทเวตส์เท่านั้น แต่ยังมีน้ำแข็งในอีกหลายพื้นที่ทั่วโลกที่กำลังละลายลงไปเพราะภาวะโลกร้อน โดยวารสาร Nature ตีพิมพ์บทความที่พบว่าการละลายของธารน้ำแข็งของโลกมีความเร็วเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วง 20 ที่ผ่านมา รวมถึงน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งหากมันละลายจนหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 5 ถึง 7 เมตร โดยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีจังหวัดอื่นที่จะจมไปด้วย เช่น สมุทรปราการ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร จันทบุรี และตราด ขณะที่การละลายของ ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย ก็มีแนวโน้มว่าจะส่งผลสะเทือนมาถึงไทยเช่นกัน เนื่องจากธารน้ำแข็งหิมาลัยเป็นแหล่งน้ำจืดของแม่น้ำหลายสายในเอเชีย รวมทั้งแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านประเทศไทย ซึ่งหากธารน้ำแข็งหิมาลัยละลาย ระดับน้ำในทะเลจะสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อพื้นที่แถบชายฝั่ง จากข้อมูลของศูนย์นานาชาติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ภูเขาแบบบูรณาการ (ICIMOD) พบว่า หากธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายทั้งหมดจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นราว 1.5 เมตร ยิ่งไปกว่านั้นในระยะยาวหากธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายหมดแล้ว แม่น้ำสายสำคัญโดยเฉพาะแม่น้ำโขงที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านจะขาดน้ำ ประเทศที่จะเดือดร้อนคือ ไทย ลาว เมียนมา จีน นอกจากนี้ยังมี ภูเขาน้ำแข็ง 3 แห่งสุดท้ายในแอฟริกา ซึ่งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) ออกคำเตือนเมื่อเดือนต.ค. ที่ผ่านมาว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขณะนี้กำลังจะทำให้ภูเขาน้ำแข็ง 3 แห่งสุดท้ายในแอฟริกาละลายหายไปภายใน 20 ปีข้างหน้า โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า ในปัจจุบันการละลายของธารน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ที่มา: BBC, Channel NewsAsia, Live Science https://www.posttoday.com/world/670708
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
สลด!? พบซาก'เต่าตนุ'เกยตื้นตายคาหาด โดนเชือกรัดขาและคอ สลด!? เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม พบซาก ?เต่าตนุ? คาดตายจากเชือกรัดขาและคอ วันที่ 15 ธันวาคม 2564 นายณัฐพงษ์ อ่อนทอง หัวหน้า?เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม เปิดเผย?ว่า? เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม พบซากเต่าทะเลเกยตื้น บริเวณชายหาดบ้านบ่อโชน ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จึงประสานกับสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เพื่อผ่าชันสูตรซาก พบว่าเป็นเต่าตนุ อายุไม่เกิน 10 ปี เพศเมีย สภาพสมบูรณ์ สาเหตุการตาย เกิดจากเชือกรัดขาและคอ และตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ ทั้งนี้นำซากเต่าตนุดังกล่าวฝังไว้ภายในบริเวนจุดสกัดหาดสะกอม พร้อมลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ขยะทะเล คือของเสียที่เกิดจากมนุษย์ที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งขยะดังกล่าวเป็นขยะพลาสติกมีน้ำหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาที่สั้นจึงถูกพัดพาไปในที่ที่ห่างไกลจากแหล่งกำเหนิด โดยคลื่น ลม กระแสน้ำ และน้ำขึ้นน้ำลง ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ประกอบด้วยของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุง ขวด ภาชนะใส่อาหาร และวัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น สายรัด แผ่นพลาสติก หมวกนิรภัย และ เครี่องมือประมง เช่น แห อวน ลอบ ซึ่งเป็นอันตราย?ต่อสัตว์?ทางทะเล https://www.naewna.com/local/622476
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|