#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันอออกเฉียงตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออก และภาคกลางในวันนี้ (27 ธ.ค. 2564) ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกยังคงเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนเกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรระวังความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 27 - 29 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะเริ่มจะลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงในระยะต่อไป สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3?5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2?4 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 30 ? 31 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า หลังจากนั้น บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 30-31 ธ.ค. 64 ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค. 64 ส่วนชาวเรือบริเวณภาคใต้ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
สนามแม่เหล็กจากคลื่นยักษ์สึนามิ ช่วยส่งสัญญาณเตือนก่อนระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงได้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หาดไร่เลย์ จ. กระบี่ พากันวิ่งหนีคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มหลายประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปนับแสนคน ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งเป็นปีที่ 17 แล้วในวันนี้ (26 ธ.ค.) ท่ามกลางบรรยากาศอันเศร้าสลดเนื่องจากการรำลึกถึงผู้ที่จากไป ทีมนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นกลับมีข่าวน่ายินดี ในเรื่องการค้นพบวิธีเตือนภัยสึนามิแบบใหม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้โศกนาฏกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวในวารสาร JGR Solid Earth โดยระบุว่าแนวคิดที่จะใช้สนามแม่เหล็กขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากความเคลื่อนไหวของมวลน้ำที่กำลังจะกลายเป็นคลื่นยักษ์ มาเป็นตัวช่วยส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้านั้น เป็นแนวคิดที่มีมานานแล้วแต่ยังขาดหลักฐานยืนยันความถูกต้อง ทำให้พวกเขาลงมือทำการศึกษา เพื่อหาหลักฐานมาสนับสนุนว่าแนวคิดนี้นำไปใช้ได้จริง ไทยพร้อมรับมือสึนามิอีกครั้งแค่ไหน จากผู้ประสบภัยสู่ผู้ช่วยชีวิต ครอบครัวหมอเล่าความทรงจำจากหายนะสึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติค้นพบใหม่ "สตอร์มเควก" ทำแผ่นดินไหวเมื่อพายุพัดแรง มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุภัยพิบัติสึนามิ 2 ครั้ง คือที่ประเทศซามัวเมื่อปี 2009 และที่ประเทศชิลีเมื่อปี 2010 โดยผลการศึกษาชี้ว่า สนามแม่เหล็กที่เกิดจากความเคลื่อนไหวของมวลน้ำทะเลที่นำไฟฟ้า สามารถจะใช้ทำนายการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้ ก่อนที่ระดับน้ำทะเลตามแนวชายฝั่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังใช้ทำนายถึงขนาดของคลื่นยักษ์ได้อีกด้วย ดร. หลิน จี้เหิง หัวหน้าทีมผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยเกียวโตบอกว่า ตามปกติแล้วสัญญาณเตือนภัยสึนามิจะมาจากอุปกรณ์วัดแรงดันที่ติดตั้งกับพื้นทะเลส่วนตื้น หรือทุ่นลอยบริเวณใกล้ชายฝั่ง ซึ่งมันจะบอกว่ามีคลื่นยักษ์ได้ก็ต่อเมื่อสึนามิเคลื่อนผ่านไปแล้ว ทำให้การเตือนภัยล่าช้าไม่ทันการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าถล่มเมืองมิยาโกะ ในจ.อิวาเตะของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 แต่เมื่อนำเซนเซอร์ที่ตรวจวัดสนามแม่เหล็กและระดับน้ำทะเลได้พร้อมกันมาใช้งานแทน กลับทำให้ทราบว่ามีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นจริงก่อนที่คลื่นยักษ์สึนามิจะเกิดติดตามมา โดยในกรณีที่ทีมวิจัยทำการศึกษานั้น สนามแม่เหล็กแผ่มาถึงเซนเซอร์ตรวจจับก่อนคลื่นยักษ์ราว 1 นาที "เซนเซอร์ตรวจวัดสนามแม่เหล็ก สามารถนำออกไปติดตั้งที่พื้นทะเลลึก ตรงส่วนที่เป็นทะเลเปิดซึ่งไกลออกไปจากชายฝั่งมาก ๆ ได้ ทำให้โอกาสที่จะส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้นานหลายนาทีเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย " ดร. หลิน กล่าว https://www.bbc.com/thai/international-59793472
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|