#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีหมอกหนาบางพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกในระยะนี้ สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 14-16 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 ? 13 ก.พ. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 16 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นในวันที่ 17-18 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 12 ? 13 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 16 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
พบครั้งแรก 'อำพันทะเล' ที่ตากใบ แนะเจ้าของส่งผู้เชี่ยวชาญออกใบรับรอง "อำพันทะเล" 4 ก้อนลอยทะเลปากอ่าว ตากใบ นราธิวาส สาวใหญ่เจ้าของกิจการรับซื้อมะพร้าวแห้งได้เป็นผู้ครอบครอง ขณะที่ชาวบ้านแห่ดูความแปลก พร้อมแนะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ เพื่อขอหนังสือรับรอง เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่า มีผู้เก็บอำพันทะเล หรือ ขี้ของวาฬ ได้จากกลางทะเลปากอ่าวในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จึงเดินทางไปตรวจสอบยังบ้านเลขที่ 89/1 หมู่ 2 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ ซึ่งเป็นบ้านของนางสุวรรณา ดำอินทร์ อายุ 52 ปี เปิดเป็นกิจการรับซื้อมะพร้าวแห้ง โดยมีนายสำเริง ทองคุปต์ ผู้ใหญ่บ้านปลักช้าง หมู่ 1 ต.พร่อน อ.ตากใบ และนายสาโรจน์ ดำอินทร์ อดีตนายก อบต.พร่อน อ.ตากใบ ที่เป็นเครือญาติกับนางสุวรรณา นั่งอยู่ด้วย ก่อน น.ส.ชุลีพร ภู่ผล บุตรสาวของนางสุวรรณา ได้นำอำพันทะเล 4 ก้อน ที่ห่อด้วยผ้าเป็นอย่างดี มาวางบนโต๊ะหน้าบ้าน ซึ่งอำพันแต่ละก้อนมีน้ำหนักลดหลั่นกันไป ก้อนใหญ่สุด มีน้ำหนัก 16 ก.ก. ก้อนเล็กสุด มีน้ำหนัก 5 ก.ก. ลักษณะเป็นสีครีมผสมเหลืองและน้ำตาล ผิวเหมือนเคลือบหรือชโลมกับน้ำมัน เมื่อยกขึ้นมาดมกลิ่นค่อนข้างออกคาวๆ ระหว่างที่พากันหยิบชมก้อนอำพันทะเล น.ส.ชุลีพร เล่าว่า อำพันทะเล จำนวนดังกล่าว ลูกจ้างคนหนึ่ง ได้ใช้เวลาว่างจากงานปลอกลูกมะพร้าวแห้ง นำเรือออกไปจับปลาในทะเลปากอ่าว โดยเมื่อประมาณเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้พบเห็นก้อนอำพันลอยทะเลอยู่มีลักษณะที่แปลก จึงได้เก็บมาให้แม่ตนดู เมื่อเห็นครั้งแรก จึงได้เปิดหาข้อมูลทางโลกออนไลน์ ซึ่งพบมีลักษณะเหมือนกับอำพันทะเล หรือ ขี้วาฬ จึงได้ทำการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญตามโลกโซเชียลแนะนำ ด้วยการใช้มีดตัดชิ้นส่วนของก้อนอำพันทะเล บางส่วนนำไปใส่ช้อนแล้วใช้ไฟลน พบว่าก้อนอำพันทะเล ละลายเป็นน้ำสีน้ำตาล และเมื่อนำมาสูดดมพบว่ามีกลิ่นหอม ออกคล้ายๆ กลิ่นเผาเทียนไข น.ส.ชุลีพร เล่าต่อว่า ก้อนอำพันทะเลดังกล่าวมีคนในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สนใจได้เดินทางมาดู และยืนยันว่าเป็นอำพันทะเล พร้อมกับแนะนำให้ทำการส่งชิ้นส่วนของอำพันทะเล ไปให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตรวจสอบ เพื่อขอหนังสือรับรองว่าเป็นอำพันทะเล เมื่อได้หนังสือรับรองก็ยินดีที่จะซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ น.ส.ชุลีพร ยังบอกอีกว่า หากมีผู้สนใจก้อนอำพันทะเล เพื่อนำไปใช้ในการผลิตน้ำหอม หรือ ตกแต่งกลิ่นเครื่องดื่มไวน์ ก็สามารถเดินทางมาชมหรือตรวจสอบก่อนได้ เมื่อเป็นที่มั่นใจและพอใจของแต่ละฝ่าย จะซื้อหาไปใช้ประโยชน์กับอำพันทะเล จำนวนดังกล่าวนี้ ก็สามารถติดต่อมาได้ https://www.dailynews.co.th/news/759930/ ********************************************************************************************************************************************************* ข่าวดีพบพะยูนหากินในอ่าวไชยา บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ผวจ.สุราษฎร์ธานี เผยข่าวดี พบฝูงพะยูนว่ายอวดโฉมหากินในอ่าวไชยา แถมเต่าทะเลตามมาด้วย คาดแหล่งหญ้าทะเลสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.นายวิชวุทย์? จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้รับประสานจากนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนกลาง ได้สำรวจพะยูน โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่งบินสำรวจในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณอ่าวไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับแจ้งจากนายประเสริฐ ชัญจุกรณ์ กำนันตำบลลีเล็ด อ.พุนพิน ว่า มีลูกบ้านออกไปวางอวนบริเวณหาดเสร็จน้อย ใกล้กับเกาะเสร็จ พื้นที่ อ.ไชยา แบะได้มีพะยูนน้ำหนักประมาณ 50 กก.มาติดอวน โดยระหว่างที่ให้การช่วยเหลือได้มีพะยูนขนาดใหญ่ว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ๆ และคาดว่าเป็นแม่ลูกกัน จึงได้ขึ้นบินสำรวจ และผลการสำรวจได้พบพะยูน 3 ตัว เต่าทะเล 4 ตัว ทั้งนี้ได้บันทึกข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินสถานภาพต่อไป นายวิชวุทย์? กล่าวว่า พะยูนในบริเวณอ่าวไชยา ได้หายไประยะหนึ่งซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยไปหากินที่อื่น แต่การที่พบพะยูนหลายตัวอีกครั้ง แสดงถึงแหล่งหญ้าทะเลอ่าวไชยาได้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ จึงให้ฝ่ายปกครองในพื้นที่ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ และขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงได้ช่วยกันดูแลอนุรักษ์พะยูนและเต่าทะเลให้อยู่คู่อ่าวไชยาต่อไป https://www.dailynews.co.th/news/759968/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
คลื่นทะเลพัดคราบน้ำมันติดหาดแม่รำพึงทางยาว เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ-เริ่มมีกลิ่นเหม็น ทะเลระยอง น้ำมันดิบรั่ว เจ้าท่าระยอง น้ำมันรั่วกลางทะเล คราบน้ำมัน ท่าเรือมาบตาพุด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบคราบน้ำมันถูกคลื่นทะเลพัดมาติดชายหาด บริเวณคลองหัวรด หาดแม่รำพึง ต.ตะพง อ.เมืองระยอง เป็นทางยาว ซึ่งมีลักษณะเป็นฟิล์มบางๆ มันเงาวาว เมื่อถูกแสงแดดจะเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นแสงระยิบระยับ และมีกลิ่นเหม็นของน้ำมัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีคราบน้ำมันที่อยู่ในชั้นของทรายด้วย เบื้องต้นได้มีเจ้าหน้าที่ บ.SPRC ได้นำบูมและกระดาษซับชนิดพิเศษ เร่งซับคราบน้ำมันดังกล่าว เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป ด้านนายทวีป แสงกระจ่าง นายก อบต.ตะพง กล่าวว่า คราบน้ำมันฟิล์มบางๆ ที่พบบริเวณหาดแม่รำพึงดังกล่าว น่าจะเป็นกลุ่มก้อนของน้ำมันที่มีการรั่วไหล รอบที่ 2 ที่บริเวณทุ่นลอยขนถ่ายน้ำมันดิบของ บ.SPRC หลังเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ได้เคลื่อนย้ายท่ออ่อนจุดรั่วไหลครั้งที่แล้วขึ้นมาตรวจสอบ จนเกิดรั่วไหลซ้ำอีก และถูกคลื่นมรสุมลมพัดเข้าฝั่ง ส่วนที่พบอยู่ใต้พื้นทรายชายหาดวันนี้ก็น่าจะเป็นคราบน้ำมันที่ค้างอยู่เมื่อตอนที่รั่วครั้งแรก และยังมีความกังวลว่าในช่วงฤดูมรสุมประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน คราบน้ำมันที่เคยรั่วทุกครั้งจนสะสมอยู่ใต้ทะเลก็จะถูกคลื่นลมพัดเข้าฝั่งเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีเบื้องต้นทางด้านเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บตัวอย่างคราบน้ำมันเหล่านี้ไปทำการตรวจสอบแล้ว ขณะที่มีรายงานว่ากลุ่มคราบน้ำมันดิบที่รั่วไหลลงทะเลรอบ 2 จำนวน 5 พันลิตร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าปฏิบัติการเพื่อทำการเก็บกู้ โดยนำบูมไปวางล้อมรอบกลุ่มคราบน้ำมันดิบไว้ เพื่อป้องกันแพร่กระจายขยายวงกว้างในทะเล พร้อมทั้งโปรยสารเคมีเพื่อกำจัดคราบน้ำมันดิบจมลงทะเล ซึ่งขณะรายงานกลุ่มคราบน้ำมันดิบกลุ่มใหญ่ยังคงลอยอยู่ห่างจากชายฝั่งหาดแม่รำพึง ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจากเกาะเสม็ด 10 กิโลเมตร บริษัท SPRC เร่งกำจัดคราบน้ำมันกลางทะเลระยอง โดยนำเรือล้อมใช้เทคนิควิธีตีอวนให้คราบน้ำมันผสมกับสารเคมีสลายเร็วขึ้น ส่วนที่ลอยอยู่กลางทะเลห่างฝั่งประมาณ4กม.เป็นเพียงฟิมล์ใส มั่นใจไม่มีคราบน้ำมันที่ลักษณะเป็นคราบหนาแน่นพัดเข้าฝั่งเหมือนครั้งที่แล้ว ขณะที่ นายพงษ์กรณ์ ช่อชูวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยระบบคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย บริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ SPRC กล่าวว่า สถานการณ์คราบน้ำมันที่รั่วไหลกลางทะเลรอบ 2 ที่พบเป็นคราบน้ำมันบางๆ ห่างฝั่ง 4 กม.ขณะนี้กำลังระดมทีมงานเรือของบริษัทฯ และเรือประมงในพื้นที่ ใช้เทคนิคที่เรียกว่าการตีอวนให้คราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มบางๆ ให้ผสมกับสาร Dispersant ให้เกิดการแตกกระจายตัวออกไป และสลายเร็วขึ้น ซึ่งฟิล์มที่เกิดขึ้นเป็นบางๆ ไม่หนาแน่นแต่อย่างใด คาดว่าจะกำจัดได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ จะไม่มีลักษณะเป็นคราบน้ำมันหนาแน่นที่พัดเข้าฝั่งเหมือนอย่างครั้งที่แล้วแน่นอน ส่วนสาเหตุการรั่วไหลนั้น เกิดจากขั้นตอนที่กู้ท่ออ่อนขึ้นมาบนฝั่ง เป็นแค่การเตรียมตัวแต่ปรากฏเกิดเหตุการณ์รั่วไหลขึ้นมาจากจุดเดิม จำนวน 5,000 ลิตร ส่วนการขออนุญาตเข้าเคลื่อนย้ายท่อกับทางจังหวัดนั้น เบื้องต้นก่อนเข้าดำเนินการได้มีการทำหนังสือถึงกรมเจ้าท่าแล้วและมีหนังสือตอบกลับมา อาจจะเป็นไปได้ว่าการตีความหนังสือเกิดความคลาดเคลื่อนกัน เพราะว่าทางกรมเจ้าท่า ให้ติดต่อพนักงานสอบสวนก่อน ซึ่งทางบริษัทฯ ก็ได้ติดต่อพนักงานสอบสวนแล้ว แต่กรมเจ้าท่าตีความหมายให้เอาเจ้าหน้าที่มาวางแผนก่อนเริ่มดำเนินการเคลื่อนย้ายท่อ ซึ่งเป็นความผิดของทางบริษัทฯ ที่ตีความหมายไม่ตรงกัน เบื้องต้นหลังเกิดเหตุการณ์ได้นำเรียน ผวจ.ระยอง รับทราบ และได้ตำหนิ ทางบริษัทฯ ซึ่งตรงนี้บริษัทฯ ยอมรับผิดและตอนนี้พยายามตั้งหน้าตั้งตาแก้ไขปัญหา เร่งควบคุมคราบน้ำมันให้หมดไปเร็วที่สุด. https://www.naewna.com/local/635084
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
13 กุมภาพันธ์ "วันรักนกเงือก" สัตว์โบราณที่ส่งต่อ DNA คู่แท้มา 60 ล้านปี 13 กุมภาพันธ์ "วันรักนกเงือก" สัตว์โบราณที่ส่งต่อ DNA คู่แท้มา 60 ล้านปี เนื่องใน "วันรักนกเงือก" ที่ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี ชวนรู้จัก "นกเงือก" ในฐานะเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์แห่งรักแท้ และเป็นสัตว์โบราณที่ส่งต่อ DNA สืบต่อสายพันธุ์มายาวนาน 60 ล้านปี เป็นที่รู้กันดีว่า "นกเงือก" นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของรักแท้ ยังเป็นนักปลูกป่ามือฉมัง เป็นกลไกสำคัญตามกระบวนการทางธรรมชาติในการขยายพันธุ์พืช และสร้างความหลากหลายให้กับป่าใหญ่ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์นกเงือก ต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน และทำให้เห็นคุณค่าของงานอนุรักษ์ จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันรักนกเงือกโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา นกเงือก (Hornbills) เป็นสัตว์โบราณถือกำเนิดมาเมื่อประมาณ 50-60 ล้านปี มีจุดเด่นตรงจะงอยปากหนาที่ใหญ่ รวมทั้งมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ซึ่งภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ เนื่องจากธรรมชาติของนกเงือกมีลิ้นที่สั้น เราจึงมักได้เห็นภาพการกินอาหารของพวกมันโดยการจับอาหารอยู่ที่ส่วนปลายปากแล้วโยนกลับลงคอ อาหารหลักๆ ของนกกลุ่มนี้ คือ ผลไม้ และสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ ลักษณะของตัวนกจะมีทั้งที่มีขนสีดำ-ขาว บางชนิดอาจจะมีสีอื่นๆ บ้าง อย่าง น้ำตาล หรือเทา ส่วนที่ถือว่าฉูดฉาดที่สุดบนตัวนกเงือกจะอยู่ที่บริเวณหนังคอ ไม่ก็ขอบตา มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่มาก บางชนิดอาจใหญ่ถึง 1.5 เมตร ขณะที่เมื่อกางปีกออกอาจวัดความยาวของปีกได้ถึง 2 เมตร เลยทีเดียว และด้วยความที่มีปีกใหญ่และแข็งแรง เวลานกเงือกบินจึงมักส่งเสียงดัง จากการศึกษาของนักวิชาการพบว่า นกเงือกทั่วโลกมีอยู่ราว 55 ชนิด สำหรับประเทศไทยพบอยู่ 13 ชนิด ได้แก่ - นกกก (Great Hornbill) - นกเงือกกรามช้าง (Wreathed Hornbilll) - นกแก๊ก (Oriental Pied Hornbill) - นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) - นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) - นกชนหิน (Helmeted Hornbill) - นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) - นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) - นกเงือกดำ (Black Hornbill) - นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) - นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) - นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) - นกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) "นกเงือก" มีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างเช่น ต้นมาง ตาเสือใหญ่ และค้อ นกเงือกจึงเป็นนักปลูกต้นไม้ที่สำคัญและปลูกได้ในป่าสูงๆ ที่คนเรายากจะปีนป่ายไปถึง และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา โดยในการศึกษาพื้นที่มรดกโลก 2 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นกเงือกคอแดง มีขนาดพื้นที่อาศัยตลอดปี 288 ตารางกิโลเมตร และมรดกโลกอีกแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน พบว่า นกเงือกกรามช้าง มีพื้นที่อาศัยตลอดปี 995 ตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมไปถึงอุทยานแห่งชาติทับลาน ส่วน นกกก มีพื้นที่อาศัยตลอดปี 434 ตารางกิโลเมตร ทำให้มันกลายเป็นนักกระจายเมล็ดพันธุ์แห่งผืนป่าไปโดยปริยาย ข้อมูลวิจัยของ ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ระบุว่า แค่มีต้นไม้ที่รอดตายจากการถ่ายมูลของนกเงือก เพียงวันละ 1 เมล็ดในแต่ละวัน ผืนป่าทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ก็จะต้นไม้เพิ่ม 700,000 ต้นแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยของโครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือก ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่บอกว่า นกเงือกเป็นตัวกลางเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้นต่อสัปดาห์ ต้นไม้เหล่านี้จะมีอัตรารอดตายเติบโตเป็นไม้ใหญ่ราว 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจึงสามารถปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ป่าได้ถึงราว 500,000 ต้น ส่วนชีวิตครอบครัวของนกเงือกนั้น จะเป็นสัตว์ที่จับคู่ครั้งเดียวในชีวิต เริ่มต้นราวกลางเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ช่วงนั้นนกเงือกอยู่กันเป็นคู่ ตัวผู้จะเที่ยวเสาะหาโพรงรังให้ตัวเมียสำหรับกกไข่ เพราะนกเงือกไม่ได้สร้างเองเหมือนนกตัวเล็กๆ แต่อาศัยโพรงรังในต้นไม้ที่เกิดจากการเจาะของนกหัวขวาน โพรงที่เกิดจากรอยเล็บหมีมากินผึ้ง หรือโพรงที่เกิดจากฟ้าผ่า และโพรงรังต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร โดยต้องมีความสูงของชั้นเรือนยอดไม่น้อยกว่า 30 เมตร ต้นไม้ใหญ่ที่มีลักษณะอย่างนี้ มักจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ซึ่งปัจจุบันเหลือน้อยมาก นกเงือกจะใช้โพรงเดิมเป็นรังประมาณ 10 ปี จากนั้นก็จะเสาะหาโพรงรังใหม่ ทำให้ในผืนที่มีปัญหาการตัดไม้ จะส่งผลถึงการหาโพรงรังไปโดยปริยาย ด้วยความสำคัญดังกล่าว บวกกับสถานการณ์การล่านกเงือกในปัจจุบัน ทำให้ ได้มีการกำหนดให้ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันรักนกเงือก โดยกิจกรรมหลักๆ ของวันรักนกเงือกจะมีการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ จากหลายภาคส่วน ทั้งทีมงานวิจัย ผู้สนับสนุน หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยจุดประสงค์ในการจัดงานนั้น เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนกเงือก ธรรมชาติ และการอนุรักษ์ มีการรายงานสถานภาพของนกเงือก และงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งหมดก็เพื่อนำไปสู่การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของนกเงือก ที่ไม่ได้มีเพียงเรื่องราวของความโรแมนติกอย่างรักแท้ หากแต่ยังเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของการปกปักษ์รักษาผืนป่า และการคงความหลากหลายทางธรรมชาติให้อยู่คู่กับโลกของเราต่อไป ท่ามกลางความท้าทายของการพัฒนาที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนี้อีกด้วย https://www.bangkokbiznews.com/social/866001
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|