#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวญกล่าวมีอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. ? 5 มีนาคม 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. ? 5 มีนาคม 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เมื่อ 'หอยนางรม' ยังคงช่วยมนุษย์เราต้านโลกร้อน - ทราบกันหรือไม่ว่า หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางกายภาพสอดคล้องกับการช่วยให้โลกของเราเสี่ยงกับภาวะโลกร้อนน้อยลง ก็คือ ?หอยนางรม? ในมหาสมุทรนี่เอง - เหตุผลสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ หอยนางรมเป็นสัตว์ทะเลที่สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดสำคัญที่เรารู้กันดีว่าส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศตามพื้นที่ต่างๆ ของโลกได้ - อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนจากต้นทาง พวกมันก็ยังช่วยปกป้องผลกระทบอันเกิดจากภาวะโลกร้อนที่ปลายทางได้ ด้วยเปลือกแข็งๆ ของมัน และสิ่งที่เรียกว่า 'กำแพงหอยนางรม' ทราบกันหรือไม่ว่า หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางกายภาพสอดคล้องกับการช่วยให้โลกของเราเสี่ยงกับภาวะโลกร้อนน้อยลง ก็คือ 'หอยนางรม' ในมหาสมุทรนี่เอง เหตุผลสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ หอยนางรมเป็นสัตว์ทะเลที่สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดสำคัญที่เรารู้กันดีว่าส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศตามพื้นที่ต่างๆ ของโลกได้ โดยพวกมันจะดูดคาร์บอนฯ, ไนโตรเจน รวมถึงสารแปลกปลอมต่างๆ ในน้ำทะเล หรือพูดง่ายๆ คือทำหน้าที่เป็น 'ตัวกรองน้ำ' เพื่อให้มหาสมุทรใสสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตรอบตัวพวกมันมากขึ้น และขณะเดียวกัน ก็ยังให้สิ่งที่พวกมันดูดซับเข้าไปมาผลิตเป็นเปลือก เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ตัวพวกมันเองด้วย แต่ถึงอย่างนั้น นักวิจัยทางทะเลก็พบว่า หอยนางรมในปัจจุบัน ดูจะ 'อ่อนแอ' กว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเปลือกที่บางลงอย่างเห็นได้ชัด หรือขนาดของตัวหอยเองที่ดูจะเล็กลงไปมาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากสภาวะ 'น้ำทะเลเป็นกรด' อันเกิดจากมลพิษทางอุตสาหกรรมตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ที่ส่งผลให้ความสามารถในการเติบโตหรือการสร้างเปลือกเพื่อปกป้องตัวเองของพวกมันต้องลดน้อยถอยลงนี่เอง ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า ถึงแม้หอยนางรมจะยังคงมีจำนวนมากพอที่จะช่วยดูดซับคาร์บอนฯ แต่หากมนุษย์เราไม่ช่วยด้วยอีกแรง สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ก็อาจอ่อนแรงลงไปในสักวัน ไม่ต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กำลังช่วยกอบกู้สิ่งแวดล้อมไปตามวิถีของธรรมชาติ อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนจากต้นทาง พวกมันก็ยังช่วยปกป้องผลกระทบอันเกิดจากภาวะโลกร้อนที่ปลายทางได้ ด้วยเปลือกแข็งๆ ของมัน และสิ่งที่เรียกว่า 'กำแพงหอยนางรม' เพราะเปลือกของหอยนางรมที่ไม่มีตัวหอยอาศัยอยู่ภายในเนื่องจากการถูกนำมาบริโภค ยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ โดยไม่ต้องมีสถานะเป็นเพียง 'ขยะ' ไร้ค่าอย่างที่ใครเข้าใจอีกต่อไป เพราะในสหรัฐอเมริกานั้น ได้มีความพยายามที่จะนำเปลือกหอยนางรมจำนวนมหาศาลมา 'รีไซเคิล' เป็นกำแพงตามบริเวณพื้นที่ชายฝั่งต่างๆ กันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อลดภาระของมนุษย์เราที่ต้องคอยจัดการพวกมันในฐานะขยะอาหาร และที่สำคัญ เปลือกหอยนางรมเหล่านี้ -ไม่ว่าจะมีตัวหอยอยู่ภายในหรือไม่- ยังช่วยทำหน้าที่เป็น 'กำแพงตามธรรมชาติ' ที่คอยปกป้องชายฝั่งจากการกัดเซาะ เป็นที่อยู่อาศัยหรือหลบภัยของสัตว์ทะเลตัวเล็กตัวน้อย (ในกรณีที่ตัวหอยนางรมไม่อยู่ในเปลือกแล้ว) และมีส่วนช่วยในการเป็นตัวกรองให้น้ำทะเลตามชายฝั่งใสสะอาดมากขึ้น รวมถึงลดระดับความรุนแรงของคลื่นลมและพายุที่อาจส่งผลต่อหลายชีวิตในบริเวณนั้นๆ อีกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์ทางทะเลเหล่านี้ก็ดูจะมีระดับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน โดยทุกวันนี้ หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Coalition to Restore Coastal Louisiana หรือ CRCL เผยว่า พวกเขาสามารถรีไซเคิลเปลือกหอยนางรมได้เป็นร้อยๆ กิโลกรัมต่อวัน และพวกเขาก็ทำเช่นนี้มาเกือบหนึ่งทศวรรษแล้ว ซึ่งเมื่อลองคำนวณดูก็พบว่า พวกเขาเคยนำเอาเปลือกหอยเปล่าๆ จากร้านอาหารในนิวออร์ลีนส์ มารีไซเคิลเป็นปริมาณมากกว่า 4,500 ตันเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี การรีไซเคิลเปลือกหอยนางรมนี้ ก็ใช่ว่าจะเป็นกระบวนการที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วทันใจ เนื่องจากพวกมัน-ที่อาจติดเศษอาหารอื่นๆ หรือยังมีเศษหอยหลงเหลืออยู่ จากร้านอาหาร-ต้องถูกทำให้สะอาดเสียก่อน ผ่านการนำไปกองรวมกันเป็นเนินสูงเพื่อผึ่งแดดอีกเป็นเวลาหลายเดือน แล้วจึงค่อยนำพวกมันกลับคืนลงทะเลในฐานะของ 'กำแพงชายฝั่ง' จากฝีมือมนุษย์ นอกจากโครงการรีไซเคิลเปลือกหอยแล้ว ทุกวันนี้ หลายพื้นที่บนโลกก็ยังหันมาสร้างกำแพงหอยนางรมตามชายฝั่งทะเลต่างๆ โดยใช้วิธีการเพาะพันธุ์หอยนางรมแบบ 'มีชีวิต' เป็นจำนวนมหาศาล เพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนทางธรรมชาติมากขึ้น และยังเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศชายฝั่งควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะพิจารณาจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของตัวหอยหรือเปลือกแข็งๆ ของพวกมัน หอยนางรมจึงยังเป็นสิ่งมีชีวิตจากมหาสมุทรที่มนุษย์เราควรใส่ใจและอนุรักษ์ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อที่ในวันหนึ่งข้างหน้า พวกมันอาจกลายเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่จะช่วยกอบกู้มวลมนุษยชาติได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และขณะเดียวกันนั้น มนุษย์เองก็ควรที่จะหาหนทางลดการเกิดขึ้นของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ไปด้วยพร้อมกัน อ้างอิง : newyorker.com, thedenverchannel.com, cnbc.com https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/101167
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
คลื่นเเรงซัดหินภูเขาไฟ กระจายเกลื่อนชายหาดเฉวง สุราษฎร์ธานี - คลื่นลมแรง ซัดหินภูเขาไฟ กระจายเกลื่อนชายหาด สร้างความแตกตื่นและสนใจกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่เคยเห็นมาก่อนนอกจากนั้นตามชายหาด ยังมีเต็มไปด้วยขยัทะเล เมื่อช่วงเย็นวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2565 ) ผู้สื่อข่าว รายงานว่า บริเวณชายหาดสาธารณะหาดเฉวง หมู่ 2 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นชายหาดที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจมาพักผ่อน โดยพบว่าในทะเลมีคลื่นลมแรง ซัดเอาเศษขยะ และมหินภูเขาไฟจำนวนมาก ลอยมาเกยเกลื่อนอยู่บริเวณชายหาด ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่าหินดังกล่าว เป็นก้อนตะกอนหินขนาดเล็ก มีรูพรุน น้ำหนักเบา สีเทา กระจายเต็มพื้นที่ชายหาด จากการสอบถาม ชาวบ้าน ทราบว่า หินดังกล่าว เพิ่งพบครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยพบ ในบริเวณชายหาดดังกล่าว มาก่อน ชาวบ้านยังบอกว่า ลักษณะเหมือนกับหินที่ ถูกคลื่นซัดมาที่ชายหาด ใน จ.สงขลา ก่อนหน้านี้ เรียกว่า หินพัมมิช หรือที่เรียกว่า "หินภูเขาไฟ" โดยคาดว่าเป็นหินภูเขาไฟจากประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันหินดังกล่าว บางส่วนที่ลอยอยู่ตามผิวน้ำในทะเลอีกด้วย ทางพนักงานโรงแรม บริเวณชายหาด ได้ช่วยกันเก็บกวาดไว้เป็นกอง เพื่อรอเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องมาพิสูจน์ อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ตลอดแนวชายหาดเฉวง พบว่าหินภูเขาไฟ กระจายเกลื่อนมีความยาวหลายกิโลเมตร สร้างความแตกตื่นให้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนที่มาเที่ยว ได้เก็บไปดู และถ่ายภาพ เนื่องจากไม่เคยเห็น นอกจากนี้ คลื่นยังซัดเศษขยะ เช่น อวนประมง และ เศษขยะต่างๆมาเกยรวม ทำให้บริเวณชายหาดสกปรก และ กระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย ขณะที่ในทะเลนักท่องเที่ยวก็ยังคงลงเล่นน้ำ และบริเวณชายหาดผู้ประกอบการโรงแรมได้นำธงแดงมาปักเตือนไว้ตลอดแนว เพื่อเตือนอันตรายให้ระมัดระวังในการลงเล่นน้ำ https://mgronline.com/south/detail/9650000019918
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|