#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับภาคใต้และอ่าวไทยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 21 มี.ค. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 23 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณใกล้เกาะสุมาตรามีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น โดยคาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมาและปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ในช่วงวันที่ 19 - 22 มี.ค. 65 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 22 - 23 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สึนามิไม่ใช่เรื่องไกลตัว หากต้องเจอกับตัวเองจะต้องรับมืออย่างไร จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวถึง 7.3 แมกนิจูด ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา มีการแจ้งเตือนภัยว่าอาจเกิดคลื่นยักษ์สึนามิตามพื้นที่บริเวณชายฝั่งได้ โดยล่าสุดเช้านี้ญี่ปุ่นได้ยกเลิกเตือนภัยสึนามิแล้ว ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้เกิดขึ้นที่บ้านเรา แต่ก็ใช่ว่าที่ผ่านมาจะไม่เคยเกิดขึ้น และถ้าหากบังเอิญว่าต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองจากสึนามิ เรารวมข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มาให้ดังนี้ 1. เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเล หรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เพราะคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง 2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาอย่างเร่งด่วน 3. สังเกตบริเวณชายฝั่ง หากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้รีบอพยพคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงออกห่างจากฝั่งให้มากที่สุด และควรอยู่ในพื้นที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง 4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เนื่องจากคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลจากชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก 5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้ 6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 7. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน 8. คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาท ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ 9. หากอยู่ที่โรงเรียน อย่าตื่นตระหนก ปฏิบัติตามคำแนะนำของครูอาจารย์ และไปรวมกับคนอื่นๆ บนพื้นที่สูง หรือที่ปลอดภัยอื่นๆ 10. หากอยู่ในรถ และอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ให้หยุดรถแล้วออกจากรถทันที จากนั้นอพยพไปสู่พื้นที่สูง หรืออาคารสูงที่มั่นคง ไม่ควรหลบภัยในรถ ผลกระทบจากคลื่นสึนามิ หากเกิดสึนามิขึ้นจะส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อผู้คนและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ดังต่อไปนี้ ผลกระทบต่อผู้คน - เสียชีวิตหรือสูญหาย - บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น โดนไม้หรือสิ่งของกระแทก - เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ หลังจากเกิดภัยสึนามิ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคน้ำกัดเท้า - สุขภาพจิตเสื่อม เนื่องจากการหวาดผวา หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลที่รักและทรัพย์สิน - ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ หรือธุรกิจการค้าต่างๆ หยุดชะงัก ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อทรัพย์สิน - อาคารบ้านเรือน ร้านค้า โรงเรียน พื้นที่สาธารณสถาน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก - การสื่อสารระบบโทรคมนาคมถูกตัดขาด ไฟฟ้า น้ำประปา ได้รับความเสียหาย - แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศชาติ ผลกระทบจากคลื่นสึนามิที่จังหวัดพังงา ประเทศไทย เมื่อ 18 ปีก่อน ย้อนกลับไปเมื่อ 18 ปีก่อน ประเทศไทยเคยพบกับเหตุการณ์สึนามิที่บริเวณ 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ระนอง และสตูล ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คน บาดเจ็บกว่า 8,000 คน และสูญหายอีกจำนวนมาก ไม่รวมถึงความเสียหายด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมอีกมหาศาล โดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว สึนามิเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้ประสบเหตุไม่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์มาก่อน จึงไม่มีการเตรียมพร้อม ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โดยเหตุการณ์สึนามิในครั้งนั้นเกิดจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลก ในรอบทศวรรษที่ 90 ในบริเวณทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ถึง 8.9 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกิดภัยจากคลื่นสึนามิขึ้นที่ประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย เมียนมา มัลดีฟส์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ บังกลาเทศ และทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลคริสต์มาสและใกล้เฉลิมฉลองปีใหม่ จึงทำให้มีผู้คนทั่วโลกเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2343620 ********************************************************************************************************************************************************* ครึ่งศตวรรษแห่งการพิทักษ์คุ้มครองเต่าทะเล เต่าตนุ (Green turtle) เป็นสัตว์ทะเลที่เคยถูกล่าอย่างกว้างขวางในแนวประการังอัลดาบรา อะทอลล์ (Aldabra Atoll) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะอัลดาบรา ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะชั้นนอกของประเทศกลุ่มเกาะเซเชลส์ จนกระทั่งถูกห้ามล่า เต่าชนิดนี้ในปี 2511 ผลจากการสั่งห้ามล่าเต่าตนุในพื้นที่ดังกล่าวก็ทำให้เกิดความพยายามในการอนุรักษ์อย่างกว้างขวางมามากกว่า 50 ปี โดยนักวิจัยได้มีการติดตามตรวจ สอบการวางไข่ของเต่าตนุเป็นประจำทุกปี ล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ในอังกฤษ รายงานว่า การวางไข่ของเต่าตนุต่อปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากงานอนุรักษ์ที่จริงจังและกว้างขวาง ทีมพบว่าเต่าตนุวางไข่เพิ่มขึ้นจาก 2,000-3,000 ฟองต่อปีในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และก็มาเป็นจำนวนมากกว่า 15,000 ฟองในปี 2562 จำนวนเต่าใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถูกพบที่หาด Settle ment Beach บนเกาะพิคาร์ด ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งในกลุ่มเกาะเซเชลส์ นักวิจัยเผยว่าจำนวนประชากรเต่าตนุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการคุ้มครองในระยะยาวที่ได้ผล อย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องช่วยกันอนุรักษ์ติดตามกันต่อไปในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2342345
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
ศรชล.จับต่อเนื่อง 'ไอ้โง่' เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย 17 มีนาคม 2565 นาวาเอก กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รองผู้อำนวย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ชุมพร บูรณาการร่วมกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ออกตรวจพื้นที่ ตามที่ได้รับแจ้งว่า มีการทำประมง ด้วยเครื่องมือลอบพับ หรือ "ไอ้โง่" ทั้งนี้ ได้ทำการกู้ลอบพับบริเวณพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 10 ลูก โดยที่ลอบพับ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก.การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เรื่องห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือลอบพับได้หรือไอ้โง่ ที่มีช่องทางเข้าของสัตว์น้ำสลับซ้ายขวาอยู่ทางด้านข้าง ใช้สำหรับดักสัตว์น้ำ มีความผิดตามมาตรา 67 มีโทษตามมาตรา 147 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่า ของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน ของกลางทั้งหมดเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะชุมพร https://www.naewna.com/local/642167
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|