#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมา ในวันนี้ (22 มี.ค. 65) สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 22 มี.ค. 65 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 22 - 24 มี.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 26 มี.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 22 - 23 มี.ค. 65 สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 มี.ค. 65 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 22-24 และ 27 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 22 มี.ค. 65 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลอันดามันตอนบน(มีผลกระทบถึงวันที่ 22 มีนาคม 2565)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2565 เมื่อเวลา 04.00 น.ของวันนี้ (22 มี.ค. 65) พายุไซโคลน?อัสนี?บริเวณทะเลอันดามันตอนบนได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 14.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 94.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 60 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 13 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาในวันนี้ (22 มี.ค. 65) ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 22 มี.ค. 65
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผุดถนนเลียบชายทะเลอันดามัน! สนข.เท 95 ล้านลุยศึกษาเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ "ระนอง-สตูล" ยาว 600 กม. สนข.เทงบ 95 ล้านบาท ลุยสำรวจออกแบบถนนเลียบทะเลใต้ฝั่งอันดามัน "ระนอง -สตูล" กว่า 600 กม.หนุนท่องเที่ยว 6 จังหวัด "ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล" ศึกษา 18 เดือน เริ่ม ต.ค. 65 เพิ่มเส้นทางเชื่อมแหล่งท่องเที่ยว นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การประชุม ครม. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ได้มอบกระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางถนนเพื่อการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งอันดามัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้มอบหมายให้ สนข.ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบเบื้องต้นเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ตรัง และสตูล ระยะทาง 600 กม. โดย สนข.ได้เสนอตั้งงบประมาณปี 2566 วงเงิน 95 ล้านบาท ในการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิศวกรรมเศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน (ช่วงจังหวัดระนอง-จังหวัดสตูล) โดยจัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ระยะเวลาศึกษา 18 เดือน คาดว่าเริ่มศึกษาเดือน ต.ค. 2565 หลักการรูปแบบ จะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีไหล่ทางกว้าง เพื่อการท่องเที่ยว และอาจมีเส้นทางจักรยานคู่ในช่วงจุดที่สวยงาม ขณะที่ลักษณะเส้นทางจะมีทั้งถนนพื้นราบและทางยกระดับขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมื่อศึกษาแล้วเสร็จจะพิจารณามอบให้กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) รับผิดชอบตามรูปแบบ และศักยภาพของแต่ละช่วงต่อไป เบื้องต้นอาจจะมีทั้งเส้นทางช่วงที่บริการแบบฟรีเวย์ หรือเป็นแบบทางพิเศษ เก็บค่าผ่านทางให้เอกชนลงทุนเพื่อประหยัดงบประมาณภาครัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการศึกษาจะเห็นควรอย่างไร โดยการศึกษาโครงการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เช่น อุทยานแห่งชาติแหลมสน จ.ระนอง, อ่าวนาง จ.กระบี่, เขาหลัก จ.พังงา, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง, หาดนาใต้ จ.พังงา, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราจ.สตูล และพัฒนาแห่งท่องเที่ยวใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกรมทางหลวงชนบท (ทช.) อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการถนนท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยภาคใต้ (Thailand Riviera) จากจ.สมุทรสงคราม-จ.นราธิวาส โดยแผนการพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วง จ.สมุทรสงคราม-จ.เพชรบุรี-จ.ประจวบคีรีขันธ์-จ.ชุมพร มีระยะทาง 514.616 กม. จำนวน 42 โครงการ ดำเนินการปี 2562-2566 ระยะที่ 2 ช่วง จ.ชุมพร-จ.สุราษฎร์ธานี -จ.นครศรีธรรมราช-จ.สงขลา อยู่ระหว่างทบทวนแนวเส้นทาง และศึกษาวิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แผนก่อสร้าง ระยะเวลา 6 ปี (65-70) ระยะที่ 3 ช่วง แบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วง จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร-จ.สมุทรสงคราม (3 สมุทร) อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจออกแบบ และศึกษา EIA ดำเนินการก่อสร้าง ปี 2567-2571 (ระยะเวลา 5 ปี) 2. ช่วง จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ตะนาวศรี) อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจออกแบบ และศึกษา EIA ดำเนินการก่อสร้างปี 2567-2571 (ระยะเวลา 5 ปี) ระยะที่ 4 ช่วง จ.สงขลา-จ.ปัตตานี-จ.นราธิวาส ดำเนินการสำรวจออกแบบและศึกษา EIA ปี 2566-2567 ดำเนินการก่อสร้างปี 2569-2573 (ระยะเวลา 5 ปี) https://mgronline.com/business/detail/9650000027373
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|