#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 - 2 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 7 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 2 มิ.ย. 65 สำหรับประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ตลอดช่วงไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน" ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 02 มิถุนายน 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"หาดจอมเทียน" โฉมใหม่ ไร้เตียงผ้าใบ ให้ฟีลเหมือนอยู่ไมอามี ภาพจากในคลิปของผู้ใช้ TikTok ชื่อบัญชี @big_m9126 สวยแปลกตา "หาดจอมเทียน" พัทยา จ.ชลบุรี โฉมใหม่ ที่มีการปรับปรุงทัศนียภาพใหม่ ไร้เตียงผ้าใบและร่มหลากสี นักท่องเที่ยวนิยมมาปูผ้านอนอาบแดด จนหลายคนยกฉายา "ไมอามีเมืองไทย" ให้ ผู้ใช้ TikTok ชื่อบัญชี @big_m9126 โพสต์คลิปภาพความแปลกตาของชายหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี พร้อมลงข้อความในคลิปว่า "หาดจอมเทียน แบบใหม่ แบบสับ" ก่อนที่ชาวโซเชียลจะแห่แชร์คลิปดังกล่าวออกไปจำนวนมาก โดยบรรยากาศของหาดจอมเทียนในวันนี้มีทัศนียภาพที่สวยแปลกตาไป เริ่มจากบริเวณชายหาดไม่มีเตียงผ้าใบและร่มหลากสีมาตั้งแล้ว ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวนำผ้าปูชายหาดมาปูนั่ง-นอนอาบแดด รวมถึงบริเวณถนนเลียบชายหาด ได้มีร้านสตรีทฟู้ดมาตั้งขายมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อของกินมานั่งชิลตากอากาศบริเวณชายหาด ซึ่งภาพบรรยากาศของชายหาดจอมเทียนที่ไม่มีเตียงผ้าและร่มหลากสีทำให้ดูสะอาดตา และนักท่องเที่ยวมาปูผ้าใบนั่งกันแบบนี้ มองดูแล้วคล้ายกับ "ชายหาดไมอามี" รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เลยทีเดียว https://mgronline.com/travel/detail/9650000052051
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
พบพืชใหญ่สุดในโลก นอกชายฝั่งออสซี่ ราว 200 ตร.กม. อายุ 4,500 ปี วันที่ 1 มิ.ย. บีบีซี รายงานการค้น พบพืชใหญ่สุดในโลก เท่าที่รู้จักมา นอกชายฝั่งออสเตรเลีย พืชดังกล่าวเป็นหญ้าทะเลที่ใหญ่กว่าราว 3 เท่า ของเขตแมนแฮตตันของนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียใช้การทดสอบทางพันธุกรรม ระบุว่า ทุ่งหญ้าใต้น้ำที่ใหญ่ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ความจริงแล้วเป็นพืชชนิดหนึ่ง เป็นที่เชื่อว่าขยายพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์เมล็ดเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 4,500 ปี ทีมนักวิจัยบังเอิญค้นพบหญ้าทะเลดังกล่าวซึ่งปกคลุมพื้นที่ราว 200 ตารางกิโลเมตร ที่อ่าวชาร์ก ห่างจากนครเพิร์ธไปทางเหนือราว 88 กิโลเมตร จึงทำความเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมของหญ้าทะเล หรือ "วัชพืชริบบิ้น" ซึ่งพบทั่วไปตามส่วนต่างๆ ชายฝั่งออสเตรเลีย ทีมนักวิจัยรวบรวมหน่อของพืชจากทั่วอ่าวชาร์กและตรวจสอบ 18,000 เครื่องหมายทางพันธุกรรม เพื่อสร้างรอยนิ้วมือจากแต่ละตัวอย่าง เพื่อค้นหาจำนวนพืชทั้งหมดในทุ่งหญ้าใต้น้ำ เจน เอดเลอ ผู้เขียนการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า ?คำตอบทำให้เราประหลาดใจ มีเพียงหนึ่งเดียว ?เพียงเท่านั้น พืชเพียงชนิดขยายพันธุ์ไปไกล 180 กิโลเมตรในอ่าวชาร์ก จึงเป็นพืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่รู้จักมา? พืชดังกล่าวยังมีความโดดเด่นในความแข็งแกร่ง เติบโตในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วอ่าวที่มีสภาพแปรปรวนอย่างดุเดือด ดร.เอลิซาเบธ ซินแคลร์ หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวว่า "ดูจะมีความยืดหยุ่นมาก ต้องเผชิญกับอุณหภูมิและความเค็มหลากหลาย รวมถึงสภาพแสงสูงมาก เมื่อรวมกันแล้วจะเกิดความเครียดสูงสำหรับพืชส่วนใหญ่" ปกติแล้วพืชชนิดนี้จะเติบโตเหมือนสนามหญ้าในอัตราสูงถึง 35 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งเป็นวิธีการที่นักวิจัยประเมินเวลา 4,500 ปี ในการแพร่พันธุ์จนขนาดครอบคลุม 180 กิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน การวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_7089450
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เช็ก!อัตราค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานใหม่เริ่ม 7 มิ.ย.นี้ กรมอุทยานฯ ประกาศจัดเก็บค่าเข้าอุทยานแห่งชาติอัตราใหม่มีผลวันที่ 7 มิ.ย.นี้ แบ่ง 4 กลุ่มราคาแตกต่างกัน เฉพาะกลุ่มที่ 4 มีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา คนไทยเก็บ 100 บาทต่างชาติเด็ก 250 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท วันนี้ (1 มิ.ย.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแจ้งการปรับอัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติใหม่ ที่จะเริ่มใช้วันที่ 7 มิ.ย.นี้ ซึ่งเป็นไประเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการเรียกเก็บและการยกเว้นค่าบริการหรือค่าตอบแทน และอัตราค่าบริการหรือค่าตอบแทนในการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ พ.ศ.2564 สำหรับรายละเอียดการปรับค่าธรรมเนียมใหม่ มีการจัดเก็บออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท มีจำนวน 67 อุทยาน เช่น อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ออบหลวง ขุนน่าน เขาสิบห้าชั้น ทับลาน ภูผาม่าน ภูลังกา แก่งกรุง น้ำตกหงาว เขาน้ำค้าง เขาหลัก-ลำรู่ กลุ่มที่ 2 เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท มี 55 อุทยาน เช่น กุยบุรี เขาแหลม เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ผาแต้ม ภูเวียง เขาสก สิรินาถ หาดเจ้าไหม หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ขุนพะวอ ดอยภูคา กลุ่มที่ 3 เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 60 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท มี 9 อุทยานดังนี้ ดอยผ้าห่มปก ดอยอินทนนท์ ธารโบกขรณี อ่าวพังงา เขื่อนศรีนครินทร์ ไทรโยค เอราวัณ และแก่งกระจาน กลุ่มที่ 4 เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 250 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท มี 2 แห่งคือ หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ส่วนการจัดเก็บค่ารถเข้าอุทยานมีดังนี้ รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาทต่อคัน รถจักรยานยนต์ 20 ต่อคัน https://news.thaipbs.or.th/content/316178
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
"ทบทวน ด่วนที่สุด" จากกรมทะเล ถึงกรมโยธา "กำแพงกันคลื่น หาดแม่รำพึง" กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งส่งหนังสือ ?ด่วนที่สุด? ถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง ?ขอให้ทบทวนโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง? ชี้ ?กระทบระบบนิเวศทะเลไม่คุ้ม-ชาวบ้านกังวล? จับตาเวทีรับฟังความเห็นที่กรมโยธาฯ กำหนดจัดในพื้นที่ 11 มิถุนายน 2565 (ภาพ : พัฒน์_HS7WMU CHANNEL) หนังสือด่วนที่สุด ขอให้ทบทวน "เรื่อง ขอให้ทบทวนโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (กรมโยธาฯ) ด้วยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช. หรือ กรมฯ) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง ขอให้กรมฯ ดำเนินการตรวจสอบและยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผู้ร้องเรียนมีข้อกังวลต่อการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งอาจจะส่งผลกระบต่อชายหาด ระบบนิเวศน์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมขอองประชาชนแม่รำพึง กรมฯ ตรวจสอบพื้นที่ดำเนินโครงการฯ พบว่าหาดแม่รำพึงตั้งอยู่ในระบบหาดบางสะพาน ความยาวชายฝั่งปประมาณ 4.50 กม. เป็นพื้นที่สมดุล จัดอยู่ในแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝึ่งของกรมมฯ 2 แนวทาง คือ การปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ และการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง เป็นการคงไว้ซึ่งกระบวนการชายฝั่งตามธรรมชาติ เพื่อให้ชายฝั่งฟื้นคืนสภาพธรรมชาติด้วยตนเอง โดยสามารถดำเนินการโครงการในรูปแบบที่สอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการกำหนดพื้นที่ถอยร่น การถ่ายเททราย การเติมทราย การปลูกป่าชายหาด และการปักเสสาดักตะกอน เป็นต้น ดังนั้นการดำเนินโครงการดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับแนวทางป้องกันแและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของกรมฯ อย่างไรก็ตาม ประเด็นตามข้อกังวลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากมีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึงฯ ของเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง กรมโยธาฯ ควรตระหนักถึงผลกระทบ และพิจารณาการดำเนินโครงการอย่างรอบคอบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมติคณะกรรมการนโยบายแและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่องหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงขอให้กรมโยธาฯ โปรดพิจารณาทบทวนการดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ" โสภณ ทองดี อธิบดี ทช. ส่งจดหมายประทับ "ด่วนที่สุด" ที่ ทส 0404/1466 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ถึงอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ. หรือ กรมโยธาฯ) (ภาพ : ทช.) แจ้งชาวบ้าน "ขอให้ทบทวนแล้ว-ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหาด-ทะเลเพียบ" "ตามที่ท่านและเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง ได้มีหนังสือร้องเรียน ขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการตรวจสอบและยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลและสถานภาพชายฝั่งประจำปี พ.ศ.2563 พบว่า ชายหาดแม่รำพึงตั้งอยู่ในระบบหาดบางสะพาน ความยาวชายฝั่งปประมาณ 4.50 กม.ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินเป็นพื้นที่มความสมดุล ในปี 2562 หาดแม่รำพึงเคยได้รับผลกระทบจากพายุปลาบึก จนทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝึ่งง แต่ในปัจจุบันไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากชายหาดได้ฟื้นตัวและปรับสภาพเข้าสู่คความสมดุลแล้ว นอกจากนี้ จากการสำรวจพบกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง มีสภาพเสียหายความยาว 110 เมตร สูง 50-70 ซม. อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งบริเวณด้านหลังกำแพงได้ จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการรื้อถอนเศษซากกำแพงออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ หาดแม่รำพึงจัดอยู่ในแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝึ่งของ ทช. 2 แนวทาง คือการปรับสมดุลชายฝึ่งฟื้นคืนสภาพธรรมชาติด้วยตนเอง โดยสามารถดำเนินการโครงการในรูปแบบที่สอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการกำหนดพื้นที่ถอยร่น การถ่ายเททราย การเติมทราย การปลูกป่าชายหาด และการปักเสสาดักตะกอน เป็นต้น จากการสำรวจหาดแม่รำพึง มีลักษณะเป็นหาดโคลนปนทราย (ทรายขี้เป็ด)) ชายหาดมีความลาดชันต่ำ ในช่วงเวลาน้ำลง ชายหาดมีความกว้างมาก ช่วงน้ำขึ้นความกว้างของชายหาดประมาณ 20 เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าว มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านการท่องเที่ยว การแปรรูปอาหารทะเล และการทำประมงพื้นบ้าน เช่นการวางอวน การจับหอยด้วยมืออ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ยังใช้พื้นที่ในการพักผ่อนหย่อนใจและกิจกรรมนันทนาการ หากมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล อาจจะส่งผลกกระทบต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดแม่รำพึง ด้วยโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลไม่สอดคล้องกับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ ทช. และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องบริเเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้าง รวมทั้งความสมดุลตะกอนทรายบริเวณหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลจะถูกทำลาย โดยตะกอนทรายจะเคลื่อนที่ออกจากแนวเขื่อนฯ และไม่สามารถกลับคืนได้ หากแนวการก่อสร้างเขื่อนฯ ดังกล่าวรุกล้ำแนวชายหาด หรืออยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลของคลื่นลมมรสุม ตามประเด็นข้อกังวลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของเครือข่ายฯ หากมีการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนฯ ซึ่งหน่วยงานเจ้าของงโครงการควรนำประเด็นข้อกังวล มาพิจารณาอย่างรอบคอบ ครอบคลุมทุกมิติ และถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อนดำเนินโครงการ และควรเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมติคณะกรรมการนโยบายแและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่องหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งนี้ ทช. ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ทส 0404/1466 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ขอให้กรมโยธาฯ ทบทวนโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเรียนมาเพื่อทราบ" จับตา เวทีรับฟังกรมโยธาฯ 11 มิ.ย. "ถึงแม้ข้อมูลทางวิชการจากนักวิชาการ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะระบุชัดเจนว่า หาดแม่รำพึง ไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง และ มาตรการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการนั้น เป็นมาตรการที่เกิดความจำเป็น และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพชายหาดแม่รำพึงอย่างรุนแรง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้แถลงต่อผ่านเพจ งานประชาสัมพันธ์กรมโยธาธิการและผังเมือง ว่าจะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง ในวันที่ 11 มิถุนายน 2565 ซึ่งน่าจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่บนหลักวิชาการ ที่ให้นักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ และประชาชนได้แสดงข้อห่วงกังวล รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเปิดกว้าง และมีการให้ข้อมูลผลกระทบโครงการก่อสร้างอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด" กลุ่มสิ่งแวดล้อมที่รณรงค์กรณีกำแพงกันคลึ่น Beach For Life กล่าว https://greennews.agency/?p=28818
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|