เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 21-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 21 กันยายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 26 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ตลอดช่วง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 21-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


2537 เรือ Genar-II เกยหาดชลาทัศน์ บทเรียนที่ไม่ควรลืม .............. โดย อภิศักดิ์ ทัศนี Beach for life



ช่วงมรสุมปี 2537 พายุได้ซัดเรือ Genar-II สัญชาติปานามา เข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา คนสงขลาหลายคนรู้จักเรือลำนี้เเละเรียกง่ายๆติดปากกันว่า ?เรือปานามา? การเกยตื้นของเรือปานามา นำมาซึ่งบทเรียนการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งที่สังคมควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้เป็นอย่างยิ่ง

การเกยตื้นของเรือ เรือจีน่าร์-2 (Genar-II) ด้านเหนือของชุมชนเก้าเส้ง ชายหาดชลาทัศน์ ไม่นานหลังจากการเกยตื้นเรือลำดังกล่าวได้ทำให้ชายหาดเปลี่ยนเเปลงไป เนื่องจากลำเรือได้ขวางกั้นการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่ง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทรายชายฝั่งด้านทิศใต้ จำนวนมหาศาล เเละเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านเหนือของเรือจีน่าร์-2 (Genar-II)

ชายหาดชลาทัศน์ นั้นมีทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายสุทธิ์ คือ เคลื่อนที่จากทิศใต้ไปยังทิศเหนือ เมื่อเรือจีน่าร์-2 (Genar-II) มาเกยตื้น ซึ่งมีลักษณะตั้งฉากกับเเผ่นดิน ทำให้เรือนั้นเป็นเสมือนรอดักทราย ซึ่งทำให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนตัวตามเเนวชายฝั่งนั้นถูกขวางกั้น เเละทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทรายจำนวนมหาศาลบริเวณด้านใต้ของเรือจีน่าร์-2 (Genar-II)

หลักฐานจากภาพถ่ายในปี พ.ศ.2538 หลังจากที่เกิดเหตุเรือปานามาได้เกยตื้น ประจักษ์ชัดว่าหาดทรายทางด้านเหนือของซากเรือถูกกัดเซาะอย่างฉับพลัน เเละเกิดการทับทบตะกอนด้านทิศใต้

หลังจากนั้นไม่นานหน่วยงานได้รื้อถอนซากเรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ออกจากชายหาด ทำให้ชายฝั่งได้คืนสภาพกลับมาสู่สภาพปกติ ไม่ปรากฏการกัดเซาะชายฝั่งเเละการทับถมของตะกอนทราย ดังภาพถ่ายทางอากาศในปี 2544

ปรากฏการณ์การเกยตื้นของเรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ได้ให้บทเรียนสำคัญของการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่ง อันเกิดขึ้นจากการขัดขวางกระบวนการทางธรรมชาติของหาดทราย เรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ทำตัวเหมือน รอดักทราย หรือ คันดักทราย ทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งนั้นทับถมด้านหนึ่งเเเละเกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านหนึ่ง เมื่อรื้อถอนออกชายฝั่งก็กลับคืนสภาพปกติดังเดิม การเกยตื้นของเรือปานามา เป็นบทเรียนสำคัญที่อธิบายการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งทะเลได้ดีที่สุดบทเรียนหนึ่ง


https://thecitizen.plus/node/62789?u...25e0%25b8%2597

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 21-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


วาฬหัวทุย 14 ตัวเกยตื้นตายในออสเตรเลีย

เกิดภาพน่าสลดใจที่มีซากวาฬหัวทุยอย่างน้อย 14 ตัวกระจายอยู่ตามชายหาดบนเกาะคิงในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย



สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออสเตรเลีย เปิดเผยในวันนี้ว่า วาฬหัวทุยเพศผู้ทั้งหมด 14 ตัวถูกพบบนชายหาดของเกาะคิงเมื่อวันจันทร์ โดยทุกตัวตายแล้วตอนที่มีคนพบเห็นซากวาฬเกยตื้น ผู้เชี่ยวชาญถูกส่งไปลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และอาจมีการส่งเครื่องบินบินลาดตระเวนว่ายังมีซากวาฬกระจายอยู่ในจุดอื่นอีกหรือไม่

ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาว่าจะเคลื่อนย้ายซากวาฬเหล่านี้อย่างไร แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะปล่อยให้ซากเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ เพราะสภาพแวดล้อมของชายฝั่งเต็มไปด้วยโขดหินอาจกีดขวางทำให้เรือไม่สามารถเข้าไปลากซากวาฬลงทะเลได้

การเน่าเปื่อยอาจใช้เวลาหลายเดือน และทางการเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเข้าใกล้เพราะอาจมีเชื้อโรคได้ หรือ อาจชนกระแทกได้ตามกระแสน้ำขึ้นลง รวมทั้งขอให้นักว่ายน้ำหรือนักเซิร์ฟระวัง เพราะมีความเสี่ยงที่ซากวาฬจะล่อให้ฉลามว่ายเข้าหาชายฝั่งได้

ที่ผ่านมาเยมีวาฬเกยตื้นตามชายฝั่งเกาะคิงในอดีต แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จำนวนวาฬเกยตื้นที่พบครั้งนี้น้อยกว่าเหตุการณ์ในปี 2563 ที่มีวาฬนำร่องเกือบ 500 ตัวเกยตื้นที่ชายฝั่งของเกาะแทสเมเนีย


https://www.nationtv.tv/news/foreign/378887098

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:53


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger