#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน "โนรู" มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 29 ? 30 ก.ย. 65 พายุโซนร้อน "โนรู" ที่ปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนล่าง จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในคืนนี้ (28 ก.ย. 65) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในวันที่ 1 ? 4 ต.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในวันที่ 28 ? 30 ก.ย. 65 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงในวันที่ 28 ก.ย. ? 3 ต.ค. 65 ไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ "โนรู"" ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 29 กันยายน 2565 เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน "โนรู" มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ หรือที่ละติจูด 15.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.5 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 29 กันยายน 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และสงขลา วันที่ 30 กันยายน 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ฮือฮา! ฉลามวาฬ โผล่อวดโฉม นักท่องเที่ยว ที่เกาะห้อง กระบี่ - ฉลามวาฬ โผล่อวดโฉม นักท่องเที่ยว ที่เกาะห้อง อุทยานฯ ธารโบกขรณี สั่งเฝ้าระวัง ห้ามรบกวน พร้อมขอให้ชาวเรือขับเรือด้วยความระมัดระวัง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่ ได้เผยแพร่คลิปออกลาดตระเวน ตรวจตราความเรียบร้อยบริเวณหมู่เกาะห้อง เขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ได้พบ ฉลามวาฬ ขนาดใหญ่ จำนวน 1 ตัว กำลังว่ายน้ำหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ จึงได้หยิบโทรศัพท์ออกมาถ่ายคลิปไว้ โดยฉลามวาฬตัวดังกล่าว ว่ายมาอวดโฉมใกล้ๆเรือ ซึ่งมีปลาช่อนทะเลนับสิบตัวว่ายอยู่รอบ ๆ โดยไม่ท่าทีตื่นกลัว นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เปิดเผยว่า สำหรับฉลามวาฬตัวดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ พบบริเวณหน้าเกาะห้อง ขณะออกตรวจตราลาดตระเวนดูความเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ (27 ก.ย.) ซึ่งขณะที่กำลังลาดตระเวน พบฉลามวาฬ ที่บริเวณหน้าเกาะห้อง ห่างชายฝั่งประมาณครึ่งกิโลเมตร พบว่า มีจำนวน 2 ตัว คาดว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย มีความยาวประมาณ 5 เมตร ถือว่าเป็นฉลามวาฬ ที่ค่อนข้างใหญ่ และ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เจ้าหน้าที่ ได้พบเจอฉลามวาฬ ประมาณ 3 ครั้งแล้ว คาดว่ามาหากินอาหาร เนื่องจากบริเวณหมู่เกาะห้อง ท้องทะเลค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี กล่าวด้วยว่า ขอให้ผู้ประกอบการที่นำนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบริเวณหมู่เกาะห้อง ขอให้ขับเรือด้วยความระมัดระวัง เพราะใบพัดเรืออาจจะไปถูกตัวฉลามวาฬ ได้รับบาดเจ็บและตายได้ เนื่องจากฉลามวาฬ ที่เจอค่อนข้างจะเชื่องและคุ้นกับคน เมื่อเห็นเรือก็จะว่ายน้ำตาม นอกจากนี้ขออย่าไปรบกวน ปล่อยให้ฉลามวาฬอยู่ตามธรรมชาติ ดีที่สุด https://mgronline.com/south/detail/9650000093243
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
สถาบันวิจัยชั้นนำโลกเรียกร้องทุกชาติเร่งลดมลพิษ ................. โดย ชมัยพร ศรีขยัน สถาบันวิจัยชั้นนำโลกเรียกร้องทุกชาติเร่งลดมลพิษ ขณะผลศึกษาปี 2564 ระบุว่า ถ่านหินเป็นตัวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในปริมาณมากที่สุดในโลก รองลงมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและปูนซีเมนต์ น้ำท่วมหนักปากีสถานช่วงที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่บอกว่าแม้ประเทศเล็กๆอย่างปากีสถานที่ไม่ได้ปล่อยควันพิษ หรือก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากเท่าประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนขึ้น และปัญหามลพิษในระดับที่รุนแรงเกินคาด ล่าสุด "บ็อบ วอร์ด" ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย จากสถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ?แกรนแธม? (Grantham) ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในฐานะเป็นวิทยากรร่วมในงานสัมมนา Sustainability Expo (SX) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้หัวข้อ ?Is the world on track to avoid dangerous climate change?? หรือ ?โลกของเรา หนีพ้นจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมายหรือไม่? เมื่อวันอังคาร(27 ก.ย.) วอร์ด ได้นำเสนอข้อมูลอ้างอิงจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ที่เผยแพร่เมื่อปี 2564 ว่า การทำให้โลกร้อนขึ้น หรือการสร้างมลพิษโดยน้ำมือมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศหลายรูปแบบ เช่น เกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนัก เกิดพายุไซโคลนเขตร้อน เป็นต้น และพบว่า อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2393-2565 เพิ่มขึ้น 0.9-1.2 องศา ส่วนไทย ตั้งแต่ปี 2493-2563 มีอุณหภูมิสูงโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 25-27 องศาเซียลเซียส ขณะที่การใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ยังคงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จากสมมติฐานการปล่อยมลพิษคาดว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1.5-2 องศาเซลเซียส ในช่วงศตวรรษที่ 21 หากไม่เร่งลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก โดยครั้งล่าสุดที่โลกมีอุณหภูมิคงที่มากที่สุดคือ 3 ล้านปีก่อน หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส มีโอกาสสูงว่าอาจทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงและถี่มากขึ้นในทวีปแอฟริกาและเอเชีย รองลงมาคือภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป หรือบางภูมิภาคอาจเกิดความแห้งแล้งในภาคเกษตรและระบบนิเวศ ยกเว้นทวีปเอเชีย และหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงมากขึ้น บ็อบ ระบุว่าผลการศึกษาปี 2564 บ่งชี้ว่า ถ่านหินเป็นตัวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์มากที่สุด รองลงมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและปูนซีเมนต์ ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในราคาอาหารและราคาพลังงาน รวมถึงระบบห่วงโซ่อุปทานต่าง ๆ จะเกิดความไม่สมดุลด้วย เมื่อทั่วโลกเกิดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงจัดทำ 'ความตกลงปารีส' (Paris Agreement) ให้เป็นตัวกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้อุณหภูมิโลกต่ำกว่าอุณภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส และควบคุมให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนที่สุด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด 45% ภายในปี 2573 เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีผู้ร่วมความตกลงปารีสแล้วทั้งสิ้น 197 ประเทศ รวมถึงไทย ขณะที่ข้อมูลช่วงปี 2553-2562 บ่งชี้ว่า ต้นทุนของเทคโนโลยีที่ปล่อยมลพิษต่ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้นทุนพลังงานจากแสงอาทิตย์ลดลง 85% ต้นทุนพลังงานลมลดลง 55% แบตเตอรีลิเทียมลดลง 85% ด้านองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) เห็นว่า พลังงานทดแทนไม่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาด เนื่องจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงและราคาไฟฟ้าสูงขึ้นสูงขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ไตรมาสุดท้ายของปี 2564 พอสรุปได้ว่าโลกของเราจะไม่สามารถหลีกหนีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเลวร้ายมากขึ้นได้ หากทุกคนไม่ร่วมกันช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และควรหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นและให้ไวที่สุด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด เพื่อบรรเทาการเกิดภัยพิบัติ และรักษาโลกของเราให้ปลอดภัยและมีความยั่งยืนต่อไป ข้อเรียกร้องของวอร์ด มีขึ้นหลังจากหลายประเทศเผชิญคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศในยุโรป ส่งผลให้ผู้คนเจ็บป่วย และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อผู้คนเท่านั้น คลื่นความร้อนยังทำให้ปริมาณธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ด้วย "แอนเดรียส ลินส์บาวเออร์"นักธรณีวิทยาชาวสวิส กล่าวว่า ปกติแล้วจะมีการวัดปริมาณน้ำแข็งบริเวณธารน้ำแข็งมอเทอราท (Morteratsch Glacier) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงปลายฤดูร้อน หรือช่วงปลายเดือนก.ย. เพื่อพิจารณาจากความแตกต่างของปริมาณหิมะที่ตกลงมาในฤดูหนาว และปริมาณน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อน แต่เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ต้องตรวจเช็คปริมาณธารน้ำแข็งล่วงหน้าสองเดือน และพบว่าน้ำแข็งลดลงไปมาก การละลายของธารน้ำแข็งมอเทอราทมีขึ้นในขณะที่ธารน้ำแข็งบนภูเขาส่วนใหญ่ทั่วโลกกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เทือกเขาแอลป์ในยุโรปมีความเสี่ยงสูงกว่าที่อื่นๆ เพราะมีน้ำแข็งปกคลุมค่อนข้างน้อย ขณะที่อุณหภูมิในเทือกเขาแอลป์สูงขึ้นประมาณ 0.3 องศาฯ ทุกๆ 10 ปี ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกประมาณสองเท่าจึงเห็นได้ว่าในช่วง 60 ปี ปริมาณน้ำแข็งลดต่ำลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว มีปริมาณหิมะตกค่อนข้างน้อย และเทือกเขาแอลป์ก็เผชิญคลื่นความร้อนอย่างรุนแรงในช่วงต้นฤดูร้อน ในเดือนก.ค. อุณหภูมิบริเวณภูเขาเซอร์แมท (Zermatt)สูงเกือบ 30 องศาเซลเซียส https://www.bangkokbiznews.com/world/1029537
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|