#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ต.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุ "โนรู" บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองสูงประมาณ 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4 ? 6 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งไปจนถึงวันที่ 2 ต.ค. 65
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฤดูร้อนนี้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติก มีระดับต่ำสุด ในแต่ละปี น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะละลายในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนที่อุ่นขึ้น และมักถึงระดับต่ำสุดเมื่อเข้าถึงเดือน ก.ย. เมื่ออากาศเย็นลงและความมืดในฤดูหนาวเริ่มมาเยือน ซึ่งน้ำแข็งจะเติบโตอีกครั้ง และถึงระดับสูงสุดประมาณเดือน มี.ค. ล่าสุด มีข้อมูลเปิดเผยจากการสังเกตการณ์ของดาวเทียม Global Change Observation Mission 1st-Water ?SHIZUKU? ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น พบว่า น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกถึงระดับต่ำสุดประจำปีเมื่อ 18 ก.ย. โดยน้ำแข็งที่ปกคลุมได้หดตัวลงเป็นพื้นที่ 4.67 ล้านตารางกิโลเมตรในปีนี้ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยขั้นต่ำปี 2524-2553 ที่ 6.22 ล้านตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ ระดับน้ำแข็งในฤดูร้อนและรอบๆ มหาสมุทรอาร์กติกลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ดาวเทียมเริ่มตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอในปี 2521 นักวิจัยน้ำแข็งในทะเลที่ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ปีนี้นับเป็นความต่อเนื่องของการที่น้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลลดลงอย่างมากจากช่วงทศวรรษที่ 1980 แต่ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนไปโดยบังเอิญ นี่คือการแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเล เพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ร้อนขึ้น. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2512486
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
สลด! พะยูนเกยตื้นตาย คาดกินขยะถุงพลาสติก 30 ก.ย. 2565 ? เมื่อเวลา 09.30 น. พลเรือตรีสรวุท ชวนะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ผบ.สอ.รฝ.) รับการประสานจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ ได้รับแจ้งจาก นายทิวัตถ์ ลิ้มกุล อายุ 18 ปี พนักงานขับสปีดโบ๊ต ได้พบพะยูนตายเกยตื้น บริเวณชายหาดนางรอง ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จึงส่งกำลังทหาร และเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบ ที่เกิดเหตุพบซากพะยูน ไม่ทราบเพศ ความยาวเกือบ 2 เมตร น้ำหนักราว 100 กิโลกรัม ที่บริเวณหัวเริ่มมีสภาพเน่า จากการตรวจสอบ ไม่พบบาดแผล หรือร่องรอยการถูกทำร้าย เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ทหารเรือได้ทำการเคลื่อนย้ายซากพะยูน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการผ่าพิสูจน์ เพื่อหาสาเหตุการตาย ซึ่งสันนิษฐานว่า พะยูนน่าจะกินเศษถุงพลาสติก หรือขยะมูลฝอยเข้าไป ทำให้อุดตันระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ หลังทำการผ่าพิสูจน์ จะรายงานผลเพื่อทราบภายหลัง ซึ่งสามารถติดตามผลผ่านได้ทางเพจ facebook ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ. https://www.thaipost.net/district-news/232990/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|