เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนน้อย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 12 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ต.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ปรากฏการณ์ลานีญา 3 ปีซ้อน เกิดจากภูมิอากาศโลกรวนด้วยฝีมือมนุษย์


ภาพถ่ายมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออกจากสถานีอวกาศนานาชาติ

เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ได้ประกาศว่าปรากฏการณ์ลานีญา (La Ni?a) ซึ่งทำให้ฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในแถบแปซิฟิก มีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปอีกนานหลายเดือนในปีนี้และปีหน้า ทำให้นับเป็นปีที่สามแล้วที่สภาพภูมิอากาศแบบดังกล่าวเกิดขึ้นติดต่อกัน

ปรากฏการณ์ลานีญารอบปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก.ย. 2020 และมีความเป็นไปได้ 55-70% ที่จะดำเนินต่อไปจนถึง ก.พ. 2023 หรือยาวนานยิ่งกว่านั้น

การเกิดลานีญาถึง 3 ปีซ้อน จัดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่หาพบได้ยากมาก โดยเคยมีการบันทึกไว้เพียง 2 ครั้งในประวัติศาสตร์ ระหว่างช่วงปี 1973-1976 และ 1998-2001

ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันการศึกษาในสหรัฐฯ นำโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (UW) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานวิจัยว่าด้วยความผิดปกติของปรากฏการณ์ลานีญาดังข้างต้น ลงในวารสาร Geophysical Research Letters ฉบับวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา

ทีมผู้วิจัยระบุว่า หลักฐานจากการติดตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำ ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชี้ว่าปรากฏการณ์ลานีญาที่รุนแรงและยาวนานเกินกว่าที่เคยเป็นมา ไม่ใช่วงจรความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยฝีมือมนุษย์

ข้อมูลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ชี้ว่าอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณนอกชายฝั่งอเมริกาใต้เย็นตัวลง ในขณะที่อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก และมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออกกลับร้อนขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับห้วงน้ำอื่น ๆ ของโลก

สภาพการณ์นี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกกับตะวันออกเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดเป็นกระแสลมพัดแรงเข้าหาอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ลานีญารุนแรงขึ้นตามไปด้วย

ดร. โรเบิร์ต เจนกลิน วิลส์ ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันบอกว่า "ตามปกติแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกจะมีวงจรของภูมิอากาศที่สลับสับเปลี่ยนไปมาปีละครั้ง ระหว่างปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Ni?o) กับลานีญา แต่ภาวะโลกร้อนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก กำลังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดลานีญาอย่างรุนแรงและยาวนาน ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"

ทีมผู้วิจัยยังระบุในรายงานว่า ปรากฏการณ์ลานีญาแบบผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้น ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในแบบจำลองภูมิอากาศโลก (climate model) ซึ่งใช้เป็นหลักในการทำนายความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ความผิดปกตินี้น่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มากกว่าจะเป็นวงจรความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยมองว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในระยะยาว จะส่งผลเอื้อให้ปรากฎการณ์เอลนีโญซึ่งตรงข้ามกับลานีญาเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่า โดยคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างยาวนานในภูมิภาคแปซิฟิก แทนที่ภาวะฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในขณะนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นเท่านั้น


https://www.bbc.com/thai/articles/c13xz00lzpzo

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:51


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger