#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 4 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และหนาวเย็นไว้ด้วย รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5 ? 8 มกราคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวณ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 6 ? 8 มกราคม 2566 บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 5 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 9 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายการสัญจร ในบริเวณที่มีหมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ธ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สาวข้องใจ ซื้อ "หอยแครง" จากตลาด แกะเจอตัวประหลาดอยู่ข้างใน กินได้ไหม สาวข้องใจ ซื้อหอยแครงจากตลาดมา 1 กิโลกรัม นำมาลวกเตรียมรับประทาน แต่ตกใจ เจอตัวประหลาดอยู่ในตัวหอย ด้านโซเชียลคอมเมนต์รับประทานได้ ไม่เป็นอันตราย วันที่ 3 มกราคม 2566 มีรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้ TikTok @jib_jib2512 ได้เผยคลิปหอยแครงที่ซื้อมาจากตลาด 1 กิโลกรัม แต่ไม่กล้ารับประทาน เนื่องจากนำหอยแครงไปลวกแล้ว เปิดฝาออกมาพบตัวประหลาดอยู่ในหอยแครง พร้อมกับถามโซเชียลว่า ใครรู้ช่วยบอกหน่อยว่าเป็นตัวอะไร กินได้ไหม แล้วกินอย่างไร ต่อมาพบว่าได้มีคนเข้ามาไขข้อสงสัย โดยระบุว่า ตัวประหลาดที่อยู่ในหอยแครงคือ "ปูถั่ว" หรือ Pea Crab มักพบในหอยต่างๆ ไม่เป็นอันตราย สามารถรับประทานได้ มีร้านอาหารทะเลนำปูถั่วมาชุบแป้งทอดก็มี. https://www.thairath.co.th/news/society/2593681
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 04-01-2023 เมื่อ 03:02 |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
นักท่องเที่ยวเดือดโพสต์คลิปแฉผู้ค้าปูตลาดท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลาเปลี่ยนสินค้าจนได้ของไม่สด ศูนย์ข่าวศรีราชา - นักท่องเที่ยวเดือดโพสต์คลิปแฉซื้อปูม้าตลาดท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา กลับถึงบ้านเจอถูกเปลี่ยนจากปูตัวเมียมีไข่เป็นปูตัวผู้ ซ้ำได้ของไม่สด ร้อนถึงนายกฯ อ่างศิลา ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบก่อนสั่งปิดร้านต้นเหตุ 7 วัน จี้องค์การสะพานปลา เจ้าของพื้นที่ลงตรวจสอบเหตุทำเสียชื่อชาวอ่างศิลา จากกรณีที่มีผู้ใช้ติ๊กต็อกชื่อบัญชี "คุณนาย รีวิว" ได้โพสตภาพขณะเลือกซื้อปูที่อ่างศิลา จ.ชลบุรี ในราคากิโลกรัมละ 480 บาท และยังบรรยายว่าขณะเลือกซื้อเป็นปูตัวเมียมีไข่เพื่อให้ทางร้านนึ่งให้ แต่เมื่อกลับถึงบ้านปูต้มกลายเป็นตัวผู้แถมสภาพเนื้อเละ ไม่สดและยังเรียกร้องให้นายกเทศมนตรีเมืองอ่างศิลา ดำเนินการกับผู้ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากการกระทำดังกล่าวทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ส่วนผู้คนในโลกออนไลน์ต่างคอมเม้นท์ในทางเดียวกันว่าถูกผู้ค้าเปลี่ยนของแน่นอนนั้น เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ ( 3 ม.ค.) นายวินัย พ้นภัยพาล นายกเทศมนตรีเมืองอ่างศิลา พร้อมเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองอ่างศิลา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและในเบื้องได้สั่งให้ร้านขายปูที่ถูกระบุในคลิปหยุดการขายเป็นเวลา 7 วันแล้ว นอกจากนั้นยังกำชับไม่ให้ผู้ค้าในตลาดดังกล่าวนำปูม้ากล่องมาขายอีก เนื่องจากเพราะเป็นปูม้ากล่อง เป็นปูแช่แข็งที่นำมาจากประเทศกัมพูชา ที่ส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับการรับประทานดิบ และหากนำไปนึ่งหรือต้มจะทำให้เนื้อเละ ไม่เหมาะที่จะนำมาขายให้กับลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว นายวินัย พ้นภัยพาล นายกเทศมนตรีเมืองอ่างศิลา กล่าวว่าตลาดท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรสะพานปลา และอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงทำให้เทศบาลเมืองอ่างศิลา ไม่สามารถที่จะเข้าไปกำกับดูแลได้อย่างเต็มที่ เบื้องต้นจึงทำได้เพียงสั่งการให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ตรวจสอบจนได้ข้อมูลว่าปูที่นักท่องเที่ยวซื้อไป ไม่ใช่ปูม้าพื้นที่ แต่เป็นปูกล่องจึงสร้างความเสียหายให้กับคนขายปูม้าในพื้นที่อ่างศิล และอยากจะฝากถึงพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ให้นำปูในลักษณะดังกล่าวมาขายอีก "เรื่องนี้อยากให้ผู้อำนวยการสะพานปลา ลงพื้นที่มาดูข้อเท็จจริงเพราะคนที่ซื้อปูไปแต่กินไม่ได้ก็จะเสียความรู้สึก ซึ่งในเบื้องต้นได้โทรศัพท์ไปคุยทำความเข้าใจกับผู้นำคลิปไปลงในติ๊กต๊อกแล้ว" นายกเทศมนตรีเมืองอ่างศิลา กล่าว ด้าน นางรสิตา สุภาพเกรียงไกร อายุ 49 ปี เจ้าของร้าน "เจ้แมม ปูม้า" ผู้ค้าปูในตลาดดังกล่าวบอกว่า ปูที่ถูกร้องเรียนผ่านติ๊กต๊อก เป็นปูที่ถูกแช่แข็งมาหรือที่เรียกกันว่า ปูเขมร เพราะไม่ใช่ปูที่มาจากท้องทะเลไทยจึงอยากแนะนำให้ลูกค้าเลือกซื้อปูจากร้านที่ขายปูเป็นจะดีกว่า และยังได้ฝากเตือนไปยังผู้ค้าปูในตลาดว่า ไม่ควรนำปูม้าในลักษณะดังกล่าวมาขาย เพราะจะทำให้ผู้ค้ารายอื่นเสียชื่อไปด้วย https://mgronline.com/local/detail/9660000000605 ****************************************************************************************************** เรือเกยตื้น สงขลา จุดถ่ายภาพยอดฮิตเฉพาะกิจระหว่างรอกู้ หลังจากวันที่ 18 ธ.ค.65 ที่ผ่านมา เรือบรรทุกน้ำมัน "ภัทรพัณณ์" ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดแหลมสนอ่อน อ.เมือง จ.สงขลา และยังไม่สามารถกู้เรือลากจูงออกจากฝั่งได้ เนื่องจากยังมีคลื่นลมแรงเป็นอุปสรรค ทำให้ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ที่ผ่านมา จุดที่เรือเกยตื้น ได้กลายเป็นจุดถ่ายภาพ เช็กอินแห่งใหม่ ไปแบบเฉพาะกิจของชาวสงขลา สำหรับ "เรือภัทรพัณณ์" เป็นเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ มีขนาด 2,037 ตันกรอส ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดปลายแหลมสนอ่อน แหลมสมิหลา อ.เมืองสงขลา ซึ่งอยู่ใกล้กับปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ภายในเรือไม่มีน้ำมัน สาเหตุมาจากสมอเรือขาด เรือยังอยู่ในสภาพดี ตั้งตรง ไม่เอียง และยังมีลูกเรือประจำอยู่บนเรือตลอดเวลา เพื่อรอเวลากู้เรือ ทำให้ตลอดเดือนธันวาคม และช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ที่ผ่านมา มีประชาชนทยอยเดินทางมาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกไม่ขาดสาย ทั้งนี้ ชายหาดในจังหวัดสงขลา เคยมีเหตุการณ์ เรือ GENA II สัญชาติปานามา ซึ่งเป็นเรือบรรทุกขนส่งสินค้าพลาสติกเกยตื้นบริเวณชายหาดชลาทัศน์มาแล้ว ในปี พ.ศ. 2537 https://mgronline.com/travel/detail/9660000000367
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
มาตรการทางกฎหมายเพื่อการใช้งานยานไร้คนขับ ............. โดย ณัชชา สุขะวัธนกุล เป็นที่ทราบกันดีว่า น่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้น ถูกใช้ประโยชน์จากกิจกรรมทางทะเลหลากหลายส่วนแตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และประเพณีทางการค้า บ้างเป็นพื้นที่รัฐชายฝั่งที่มีอำนาจการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางน้ำ บ้างก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ เมื่อมีการใช้ประโยชน์ทางทะเล ประเด็นในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากจะปรากฏการเข้าออกของเรือ รวมถึงพาหนะรูปแบบอื่นในแต่ละรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อพิจารณาประเด็นในด้านความมั่นคงทางทะเล จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อัตราส่วนของการใช้งานเรือ พาหนะทางทะเลรูปแบบอื่น และวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานทางด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเหตุเพราะสถานการณ์ความมั่นคงและภาวะสงครามที่มีอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในบทความนี้จะพิจารณาถึงยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned vehicle ) ในมิติของภัยหรือความมั่นคงทางทะเล โดยจะพิจารณาถึงความหมาย บทนิยาม ประเภท การใช้งานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ดีการใช้งานของวัตถุเคลื่อนที่ชนิดนี้ยังมีความคลุมเครือของวัตถุประสงค์การใช้งาน แม้ว่าในจุดเริ่มต้นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมทางทหาร (Military Purpose) ต่อมาถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติก็ดี การถ่ายภาพก็ดีและเพื่อวัตถุในการขนส่งในอนาคต แม้กระนั้นการใช้งานวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ ยังคงถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและปกป้องสเถียรภาพและความมั่นคงของรัฐ ยานไร้คนขับเองนั้น (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ Archytas ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์นกพิราบ (Mechanical Pigeon) ซึ่งสามารถบินได้สูง 200 เมตร ทำให้มีผู้กล่าวว่าการประดิษฐ์ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของการสร้างอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) ต่อมายานไร้คนขับได้ถูกนำมาใช้ในช่วงของสงครามโลก โดยเฉพาะในช่วงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่มีการประดิษฐ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นเครื่องมือต่าง ๆ นำมาใช้ในการทำสงคราม ในปัจจุบัน แบ่งเป็นประเภท Unmanned surface vehicle (USVs) คือ ยานพาหนะพื้นผิวไร้คนขับ หรือที่เรียกว่าเรือผิวน้ำไร้คนขับ มีการใช้งานและปฏิบัติการโดยการวิ่งบนผิวน้ำ ซึ่งไม่มีลูกเรือควบคุมอยู่บนตัวยานหรือเรือดังกล่าว USVs จะแล่นไปบนผิวมหาสมุทรเหมือนเรือผู้ปฏิบัติงานในทะเลหรือบนชายฝั่งสามารถควบคุม USVs ได้จากระยะไกลหรือสามารถติดตั้งโปรแกรมให้ USVs ปฏิบัติภารกิจที่วางแผนไว้ล่วงหน้าได้ หน้าที่ของยานผิวน้ำไร้คนขับด้านการทหาร เช่น การรักษาความปลอดภัยทางทะเล การรบผิวน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การตรวจสอบสภาพแวดล้อมบริเวณน้ำตื้นสำหรับงานด้านอุทกศาสตร์ การเก็บข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ ด้านการพาณิชย์ เช่น การสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Unmanned underwater vehicles (UUV) หมายถึง ยานที่ปฏิบัติการใต้น้ำได้โดยปราศจากคนขับเคลื่อนบนยาน มีทั้งการควบคุมระบบระยะไกลและระบบกึ่งอัตโนมัติ หน้าที่ของยานใต้น้ำไร้คนขับด้านการทหาร เช่น การต่อต้านทุ่นระเบิด และสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาทะเลสาบ มหาสมุทร รวมถึงพื้นมหาสมุทรและการสำรวจความลึกของน้ำ ด้านการพาณิชย์ เช่น การสำรวจใต้น้ำด้วยคลื่นเสียง การตรวจวัดความลึกของทะเล การตรวจหาชั้นตะกอนด้านการค้นหาซากวัตถุต่าง ๆ เช่น การค้นหาซากเครื่องบินตกหรือซากเรือที่ล่มอยู่ใต้ทะเล และการค้นหาซากวัตถุโบราณ อย่างไรก็ตาม การใช้ยานพาหนะใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) ในการใช้งานทางทะเลทำให้เกิดปัญหาบางประการ เช่น การสื่อสารที่มีเสียงดัง ความไม่แน่นอนของตำแหน่ง และโอกาสที่เครื่องยนต์จะเกิดความล้มเหลว เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การใช้งานวัตถุทางทะเลดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุเพื่อการป้องกันราชอาณาจักรของแต่ละรัฐ แม้ว่าจะสามารถสร้างความอุ่นใจในการช่วยการลาดตระเวน หรือป้องกันการรุกล้ำน่านน้ำได้อย่างมาก หากแต่สิ่งที่เกิดผลขึ้นคู่ขนานกันไปกับความก้าวหน้า และการส่งเสริมการเทคโนโลยีชนิดนี้กล่าวคือ ผลกระทบต่อรัฐใกล้เคียงหรือพื้นที่ทางทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้กล่าวคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี ค.ศ.1982 (United Nation Convention on the Law of the Sea 1982) และ The 1988 SUA convention ในด้านความปลอดภัยในการเดินทะเล ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ยังไม่มีการกำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน การรบกวนโดยวัตถุดังกล่าวและกระทำละเมิดต่อกฎหมายของแต่ละรัฐจากการใช้งานวัตถุเคลื่อนที่ทางทะเล ประเด็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ การชั่งน้ำหนักระหว่างความจำเป็น เพื่อการใช้งานปกป้องราชอาณาจักรและปัญหาคุกคามทางการรุกล้ำดินแดนและพื้นที่ทางน้ำจากการใช้งานวัตถุดังกล่าว ในด้านของรัฐผู้ใช้งาน จะอ้างถึงการใช้อำนาจอธิปไตยในพื้นที่ทางทะเลของตนและสิทธิในการใช้งานวัตถุดังกล่าว ในขณะที่รัฐอันถูกละเมิดสิทธิจากการใช้งานวัตถุดังกล่าว อาจอ้างถึงหลักทางกฎหมายในด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Privacy) และความมั่นคงของราชอาณาจักร รวมถึงความโปร่งใสในการใช้งานวัตถุดังกล่าวอีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตและพิจารณาว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็มีการพัฒนาและใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ด้วยเช่นเดียวกันเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงเป็นที่น่าสนใจว่าสำหรับพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย รวมถึงบทบัญญัติทางกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ยังไม่มีบทบัญญัติที่รองรับเทคโนโลยีชนิดนี้ได้โดยตรง และเป็นที่น่าจับตามองมากในอนาคตข้างหน้าต่อไป. https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1046160
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|