#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 11 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งไว้ด้วย สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากมีฝนตกในบริเวณดังกล่าว กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11 ? 14 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 11 ? 12 ม.ค. 66 ส่งผลทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 15 - 16 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ระวังอันตรายการสัญจร ในบริเวณที่มีหมอก รวมถึงฝนฟ้าคะนองบริเวณประเทศไทยตอนบนที่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 11 ? 12 ม.ค. 66 สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ประมงฯ บ้านแหลม ล่าระทึกเรือคราดหอย ตามข้าม 2 จังหวัดได้ผู้ต้องหา 2 ราย หน่วยป้องกันฯ ประมงทะเลบ้านแหลม ควบเรือล่าระทึก ข้ามน่านน้ำ 2 จังหวัด จนเรือคราดหอยเครื่องพังจึงจับผู้ต้องหาได้ 2 รายพร้อมนำตัวไปดำเนินคดี ส่วนของกลางหอยกระปุกที่ยังมีชีวิตได้ปล่อยคืนธรรมชาติ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 6 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา นายสายัญ สุวรรณชาตรี หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลบ้านแหลม (เพชรบุรี) ได้รับแจ้งจากกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ว่ามีเรือคราดหอยทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง บริเวณท้องที่ทะเลอ่าวไทย ปากแม่น้ำเพชรบุรี อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งห้ามใช้เครื่องมือทําการประมงจับสัตว์น้ําเขตทะเลชายฝั่ง จึงมอบหมายให้ ว่าที่ร้อยโท ภาณุพงศ์ สวัสดี เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงาน (ใส่แมสก์) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เรือตรวจประมงทะเล 108 รวม 3 นายออกปฏิบัติงานตรวจปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ร.ก.การประมงฯ เบื้องต้นพบเรือประมงชายฝั่ง 1 ลำกว้างประมาณ 1.5 เมตรยาวประมาณ 9 เมตร อยู่ในพิกัดที่ได้รับแจ้งซึ่งเป็นเขตน่านน้ำทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวขอตรวจค้นแต่ปรากฏว่าเรือลำดังกล่าวได้เร่งเครื่องยนต์หลบหนีด้วยความรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ได้ขับเรือตรวจประมงทะเลติดตาม และพยายามใช้ไฟฉายพร้อมตะโกนให้จอดเรือ แต่เรือลำดังกล่าวขับเร่งความเร็ว และขับฉวัดเฉวียนหลบหนี เจ้าหน้าที่ต้องใช้ระยะเวลาติดตามนานกว่า 1 ชั่วโมง เป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 13 กิโลเมตร กระทั่งเรือลำดังกล่าวเกิดอาการเครื่องยนต์สะดุด และจอดลอยลำในพื้นที่น่านน้ำทะเลแม่กลอง เขต จ.สมุทรสงคราม เจ้าหน้าที่จึงเข้าจับกุม ตรวจสอบเบื้องต้นพบใบจักรเรือได้รับความเสียหาย เนื่องจากการใช้กำลังเครื่องยนต์ต่อเนื่องอย่างรุนแรง จึงทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถไปต่อได้ ตรวจสอบเรือผู้กระทำผิดเป็นเรือประมงไม่มีชื่อ ไม่มีทะเบียน ผู้ต้องหา 2 ราย ทราบชื่อ คือ นายภัทรพล สำเภาเงิน อายุ 33 ปี และนายคณาวุฒิ เกตุแก้ว อายุ 30 ปี ชาว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ภายในเรือพบของกลางเป็นเครื่องมือคราดหอยประกอบเรือกล จำนวน 1 ชุด สัตว์น้ำเป็นหอยกระปุก สภาพสดขณะจับกุม (ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ) เบื้องต้นได้จับกุมผู้ต้องหาทั้ง 2 รายส่งมอบ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านแหลมดำเนินคดีฐานร่วมกันลักลอบทำการประมงคราดหอยซึ่งเป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต มีความผิดตามมาตรา 36 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 และร่วมกันลักลอบทำการประมงโดยใช้เครื่องมือคราดหอยประกอบเรือยนต์ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง มีความผิดตามมาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2560 นายสายัญ สุวรรณชาตรี หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลบ้านแหลม (เพชรบุรี) กล่าวว่า พื้นที่ที่ผู้กระทำผิดเข้ามาทำการลักลอบคราดหอย เป็นพื้นที่ที่ห้ามใช้เครื่องมือประมงจับสัตว์น้ำในเขต 3.7 กิโลเมตรจากชายฝั่ง อนุญาตให้ชาวประมงพื้นบ้านทั่วไปจะใช้วิธีถีบกระดานหาหอย โดยใช้มือตามวิถีดั้งเดิม และไม่ใช้เครื่องมือประมงต้องห้าม นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำขนาดเล็ก การใช้เครื่องมือคราดหอยและเครื่องมือประมงต้องห้ามต่างๆ จะเป็นการขุดพลิกหน้าดินสัตว์น้ำตัวเล็กจะตายหมด ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลสูญเสียหนัก. https://www.thairath.co.th/news/local/central/2599515 ****************************************************************************************************** สร้าง semi-sub ยานกึ่งดำน้ำไร้คนขับ ยานพาหนะกึ่งดำน้ำไร้คนขับไม่ใช่เรื่องใหม่ ยานพาหนะประเภทนี้ประกอบได้ไม่ยากเกินความสามารถของนักประดิษฐ์ ทว่า บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ลับๆ โดยเฉพาะการทำเป็นยานสอดแนมข้อมูลต่างๆนานา และหลายครั้งก็ไม่รอดพ้นการตรวจจับ แต่เมื่อเร็วๆนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สเตท ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ได้พัฒนาสร้างยานพาหนะกึ่งดำน้ำไร้คนขับเรียกว่า semi-sub เป็นยานต้นแบบขนาดค่อนข้างเล็กมีความยาว 45 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร สร้างด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเองและใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ เมื่อทดสอบความเสถียรและความสามารถในการเคลื่อนที่ก็พบว่า semi-sub มีความเร็วสูงสุด 1.5 เมตรต่อวินาที และด้วยความเร็วที่สูงกว่านั้น เรือจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ทำให้เกิดการกวนและใช้พลังงานมากขึ้น แต่ที่ความเร็วต่ำ ยานเกือบจะจมอยู่ใต้น้ำและแทบไม่กระเพื่อม ทีมเผยว่า แม้จะยังไม่ขับเคลื่อนแบบอิสระอย่างสมบูรณ์ แต่ semi-sub ก็ตั้งโปรแกรมล่วงหน้าให้ทำงานในลักษณะบางอย่างได้ เช่น ว่ายตามเส้นทางหนึ่งๆด้วยตัวเอง หรือตอบสนองต่อวัตถุบางอย่างด้วยการไล่ตามหรือว่ายหนี หากการทำงานของ semi-sub สมบูรณ์ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างยานพาหนะขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อบรรทุกสินค้าจำนวนมาก เช่น บรรทุกเชื้อเพลิงไปเติมให้กับเรือหรือสถานีในทะเล เนื่องจาก semi-sub ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเรือลำใหญ่ๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ. Credit : Washington State University https://www.thairath.co.th/news/foreign/2597480 ****************************************************************************************************** กรมทะเลชายฝั่ง เร่งจัดการคราบน้ำมันรั่วไหล จากเหตุเพลิงไหม้ "เรือสปีดโบ๊ต" กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ ชมรมอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก เร่งสกัดและจัดการคราบน้ำมันที่รั่วไหล จากเหตุเพลิงไหม้เรือสปีดโบ๊ต บริเวณอ่าวทองหลาง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) กล่าวว่า วานนี้ตนได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ถึงเหตุน้ำมันรั่วไหลจากเหตุเพลิงไหม้เรือท่องเที่ยวสปีดโบ๊ต บริเวณอ่าวทองหลาง ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าจุดเกิดเหตุเป็นบริเวณท่าจอดเรือ อ่าวทองหลาง สภาพน้ำทะเลมีฟิล์มน้ำมันลอยบนผิวน้ำ มีหลุดรอดจากทุ่นกักน้ำมันบริเวณแนวเขื่อนเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี (KM1-3) โดยผลคุณภาพน้ำทั่วไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานฯ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง 7.92-8.03 อุณหภูมิ 26.7-26.9 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31.2-31.3 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 5.56-6.98 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนั้น ได้สำรวจแนวปะการังใกล้เคียงจุดเกิดเหตุ เบื้องต้นพบว่าแนวปะการังมีสภาพปกติ ไม่พบคราบน้ำมันและตะกอนน้ำมันบนผิวโคโลนีปะการังและในมวลน้ำทะเล และจากการสัมภาษณ์ คุณธานินทร์ สุทธิธนกุล รองประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ทราบว่าหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้ ทางอบต.เกาะหมาก และชมรมอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก ได้ร่วมกันประดิษฐ์ทุ่นกักน้ำมันไปวางติดตั้งป้องกันบริเวณปากอ่าวเพื่อไม่ให้น้ำมันรั่วไหลออกสู่ทะเลอีกด้วย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนปะการังเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ตนจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และเร่งหาวิธีที่จะป้องกันน้ำมันที่รั่วไหลให้ไหลลงสู่ทะเลน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อทรัพยากรทางทะเล ทั้งนี้ กรม ทช. ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก อบต.เกาะหมาก และชมรมอนุรักษ์ปะการัง เร่งหาวิธีจัดการคราบน้ำมันโดยด่วน เพื่อไม่ให้กระทบต่อแนวปะการังที่กำลังเพาะพันธุ์ในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว ช่วยกันสอดส่องดูแล โดยหากพบเหตุอุบัติเหตุทางทะเล หรือการกระทำความผิด สามารถแจ้งมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร.1362 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่เร่งเข้าตรวจสอบ และช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป. https://www.thairath.co.th/news/local/2599108
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
จากการศึกษาพบว่าธารน้ำแข็งครึ่งหนึ่งของโลกจะหายไปภายในปี 2100 เอเอฟพี เผยรายงานวิจัยที่เผยแพร่ผ่านวารสาร Science เมื่อวันพฤหัสบดี 5 ม.ค. คาดการณ์ว่า ธารน้ำแข็งร้อยละ 49 ของธารน้ำแข็ง 215,000 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะธารน้ำแข็งที่มีขนาดเล็กจะหายไปภายในปี 2100 เนื่องจากภาวะโลกร้อน แต่หากจำกัดอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นสามารถช่วยรักษาธารน้ำแข็งส่วนอื่นๆ ของโลกไว้ได้ จากการศึกษาผู้เขียนได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อจำกัดผลที่ตามมาจากการละลายของธารน้ำแข็ง เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการลดลงของทรัพยากรน้ำ ขณะที่นางเรจีน ฮอค ผู้ร่วมวิจัย กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาได้พิจารณาผลกระทบของ 4 กรณี ตั้งแต่ 1.5 2 3 และ 4 องศาเซลเซียส ย้ำว่า การเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลกทำให้เกิดการละลายและสูญเสียมากขึ้น นั่นก็หมายความว่าถ้าคุณลดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น คุณก็สามารถลดการสูญเสียได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะสูงขึ้นราว 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลให้ธารน้ำแข็งในยุโรปกลาง แคนาดาตะวันตก ทวีปอเมริกา และนิวซีแลนด์ละลายหายไปแทบทั้งหมด โดยตัวเลขอุณภูมิโลกปัจจุบันสูงกว่าระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่อยู่ระดับไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามที่ให้คำมั่นไว้ในความตกลงปารีสก็ตาม นักวิจัยคาดการณ์ว่าร้อยละ 49 ของธารน้ำแข็งในโลกจะหายไปภายในปี 2100 นั่นจะคิดเป็นประมาณร้อยละ 26 ของความหนาแน่นของธารน้ำแข็งโลก เพราะธารน้ำแข็งขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกันหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 4.0 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ธารน้ำแข็งในอลาสกาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยร้อยละ 83 ของธารน้ำแข็งจะหายไปภายในปี และยังส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้นางฮอค กล่าวเพิ่มเติมว่า หากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9 เซนติเมตร ในขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้น 4.0 องศาเซลเซียสจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 15 เซนติเมตร ทำให้ส่วนใหญ่เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด ซึ่งกระทบแก่ประชากรราวสองพันล้านคนทั่วโลก โดยธารน้ำแข็งจะชดเชยน้ำที่สูญเสียไปในฤดูร้อนเมื่อฝนไม่ตกมากนัก https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_7452667
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|