#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกฉียงเหนือในวันนี้ (วันที่ 15 ม.ค. 66) และภาคอื่น ๆ ในวันถัดไป ทำให้ภาคตะวันออกฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 15 - 20 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 -3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 ? 20 ม.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 4 (14/2566) ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฝรั่งเศสพบปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล นับพันตัวตายเกลื่อนชายหาดทางตต. ปลานับพันตัวตายเกลื่อนชายหาด 2 แห่งในฝรั่งเศส ทำให้ทางการเร่งตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุธรรมชาติ ขณะที่บางคนเชื่อว่าเป็นเพราะมลพิษทางน้ำทำให้ปลาตาย เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2566 ชาวบ้านในฝรั่งเศสพบปลานับพันตัว มีทั้งปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล ตายกระจัดกระจายอยู่เต็มชายหาด ในเมืองดูอาร์เนเนซ และเมืองฟีนิสแตร์ ในแคว้นเบรอตาญ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยทางการระบุว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ และกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ พร้อมเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นว่า ห้ามไปเก็บซากปลาเหล่านี้มาบริโภค เพราะอาจเกิดอันตรายได้. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2602578
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
ลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากหลุม รังแรกของฤดูกาล ลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากหลุม เป็นรังแรกของฤดูกาล พร้อมปล่อยกลับสู่ทะเล 64 ตัว หลังจากที่แม่เต่ามะเฟืองได้ขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา นับเป็นข่าวดีต้อนรับวันเด็ก นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า วันนี้ (14 มกราคม 2566) เวลา 02.00 น. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ จ.พังงา สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน แจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์เฝ้าระวังหลุมฟักไข่เต่ามะเฟือง หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมของรังที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 จนกระทั่งผ่านไปอย่างยาวนานไม่พบลูกเต่าขึ้นมาจากหลุมฟักแต่อย่างใด ทีมสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงตัดสินใจเปิดปากหลุมเพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักตัวคลานออกมา พอขุดลงไปกลับพบรากไม้ที่มีขนาดใหญ่และเป็นรากฝอยเป็นจำนวนมาก จึงเร่งดำเนินการขุดรังเต่ามะเฟืองเพื่อช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุม เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไปนานมากกว่านี้ลูกเต่ามะเฟืองจะตายได้ จากนั้นได้ช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองในหลุมที่ยังแข็งแรงและนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 64 ตัว รวมถึงช่วยลูกเต่ามะเฟืองที่อ่อนแอรอการพักฟื้นในตู้ ICU Box เพื่อกระตุ้นการฟัก จำนวน 4 ตัว อีกทั้งยังพบไข่เต่ามะเฟืองที่ไม่พัฒนาจำนวน 37 ฟอง และลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอดจำนวน 1 ตัว รวมทั้งหมดแม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 106 ฟอง ทั้งนี้สำหรับรังไข่เต่ามะเฟืองรังถัดไป กรมทะเลชายฝั่งได้วางแผนนำเต่ามะเฟืองที่ได้จากการฟักตามธรรมชาติ นำมาเลี้ยงอนุบาลให้แข็งแรงในระยะเวลา 1 ปี หรือกระดองเต่ามีขนาดมากกว่า 30 เซนติเมตร ก่อนที่จะปล่อยกลับไปสู่ทะเล เพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองนั้นมีโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตจนสามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้ตามธรรมชาติต่อไป สำหรับการฟักไข่ของลูกเต่ามะเฟืองรังดังกล่าว นับเป็นรังแรกของฤดูกาล ที่แม่เต่ามะเฟืองได้ขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา และเป็นข่าวดีที่ตรงกับวันเด็กแห่งชาติ สร้างความยินดีแก่บรรดานักอนุรักษ์และพี่น้องประชาชนที่เฝ้ารอคอยการฟักไข่ของลูกเต่ามะเฟือง พร้อมให้ข้อมูล สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมในพื้นที่ และจัดเวรเฝ้าระวังในช่วงดึกต่อเนื่องเช้ามืดโดยร่วมกับชุมชนเดินเต่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่แม่เต่ามะเฟืองที่อาจจะขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง เต่ามะเฟืองเป็นสัตว์ที่จะขึ้นวางไข่ เมื่อสภาพแวดล้อมดีและพื้นที่ปลอดภัย เมื่อลูกเต่าฟักออกจากไข่จะมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์และสามารถรอดปลอดภัย เมื่อสัตว์ทะเลไว้ใจหมู่บ้านเรา จังหวัดเรา หรือประเทศของเรา พวกเรายิ่งต้องดูแลทรัพยากรทางทะเลของเราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม https://www.mcot.net/view/OG1PZGan
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
แช่แข็งตัวอ่อนปะการัง ความหวังคืนชีพ "Great Barrier Reef" นักวิทย์ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งตัวอ่อนจากปะการังที่ใหญ่สุดในโลก "Great Barrier Reef" ด้วยอุณหภูมิ -196 องศา ความหวังอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่รอดไปถึงอนาคต "ปะการัง" คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีความเปราะบางต่ออุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากปะการังนั้นได้รับสารอาหารส่วนใหญ่มาจาก "สาหร่ายซูแซนเทลลี" (Zooxanthellae) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถสังเคราะห์แสงได้คล้ายกับพืช ซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังอีกทีหนึ่ง ได้พากันอพยพออกไปจากปะการังเมื่อน้ำทะเลเริ่มอุ่นขึ้นกว่าปกติ การจากไปของสาหร่ายซูแซนเทลลีนี้ จึงส่งผลให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ขาดแคลนแหล่งอาหาร และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อได้ง่าย ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะแนวปะการัง "เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ" (Great Barrier Reef) ในชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแนวปะการังนี้เป็นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้เกิดการฟอกขาวมาแล้วถึง 6 ครั้งด้วยกัน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะอยู่เฉย และปล่อยให้แนวปะการังสุดล้ำค่านี้หายไป เนื่องจากแนวปะการังเป็นปราการที่ช่วยลดผลกระทบของคลื่นลมทะเลที่รุนแรงต่อชายฝั่งได้ แถมยังเป็นสถานที่ที่สัตว์น้ำสายพันธุ์ต่าง ๆ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูตัวอ่อนอีกด้วย แต่ถึงกระนั้น เราก็ไม่อาจหยุดยั้งวิกฤตภาวะโลกร้อนได้โดยเร็ววันอยู่ดี ทำให้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of Marine Sciences) ได้พยายามหาหนทางสำรองที่จะรักษาปะการังให้อยู่รอดปลอดภัยไปยังอนาคตได้ นั่นก็คือการแช่แข็งตัวอ่อนของปะการังไว้ เผื่อว่าสักวันหนึ่งอุณหภูมิของโลกจะกลับมาอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมอีกครั้ง โดยกระบวนการแช่แข็งปะการังที่มีชื่อเรียกว่า "ไครโอเมช" (cryomesh) จะเก็บตัวอ่อนของปะการังไว้ในอุณหภูมิติดลบ 196 องศาเซลเซียส ซึ่งได้รับการทดสอบมาก่อนหน้านี้แล้ว จากการเก็บรักษาแนวปะการังที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา โดยตัวอ่อนของสายพันธุ์ปะการังที่อยู่อาศัยในเกรตแบร์ริเออร์รีฟนั้น มักมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าที่รัฐฮาวายเป็นอย่างมากจึงทำให้ยากต่อการเก็บรักษา ในท้ายที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งตัวอ่อนปะการังเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา https://www.thaipbs.or.th/news/content/323381
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|