#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว และจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในคืนนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรงในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. และ 1 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 28 ? 31 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 ? 4 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27 - 31 ม.ค. 66 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 27 ? 31 ม.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 17 (38/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 27 - 30 มกราคม 2566) ในช่วงวันที่ 27 - 30 มกราคม 2566 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นเนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย และขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่ง มีดังนี้ ช่วงวันที่ 28 - 30 มกราคม 2566 ภาคใต้: จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ตะลึง ภูเขาน้ำแข็งขนาดเท่าลอนดอน แยกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งใหญ่ที่ขั้วโลกใต้ นักวิทย์เผย ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่เท่าพื้นที่ลอนดอน หรือกว่า 1,550 ตารางกิโลเมตร ได้แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งบรันต์ ในทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากเคยถูกค้นพบว่ามีรอยแตกครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 สำนักข่าว CNN รายงานอ้างคำเปิดเผยของคณะนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประจำสถานีสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ที่มีชื่อว่า The BAS Halley Research Station ที่ยืนยันว่า ภูเขาน้ำแข็งขนาดประมาณ 1,550 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดใหญ่พอๆ กับเกรทเทอร์ ลอนดอน ได้หักออกมาจากหิ้งน้ำแข็งบรันต์ (Brunt Ice Shelf) ในทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การที่ภูเขาน้ำแข็งได้แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสต์คาดการณ์ไว้แล้ว และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการธรรมชาติ คาดว่าไม่ได้เกิดจากการกระตุ้นของผลกระทบภาวะความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เนื่องจากได้เคยมีการค้นพบรอยแตกขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้เกิดรอยแตกขนาดใหญ่อีก 2 แห่ง ศาสตราจารย์โดมินิก ฮอดจ์สัน นักวิทยศาสตร์ด้านธารน้ำแข็งวิทยา เปิดเผยว่า ทีมงานสำรวจจะยังคงสอดส่องความเคลื่อนไหวของภูเขาน้ำแข็ง และหิ้งน้ำแข็งแบบเรียลไทม์ต่อไป เพื่อให้แน่ใจว่าการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่สถานีจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้านนักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ เปิดเผยรายงานเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ระบุว่า การลดลงของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกามักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ของปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนในขั้วโลกใต้ แต่การลดลงของน้ำแข็งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาในภาพถ่ายดาวเทียมได้ลดลงต่ำสุดในรอบ 45 ปี เนื่องจากสภาพอากาศอบอุ่นผิดปกติ. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2612618
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|