#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มของการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 ? 8 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 ก.พ. 66 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 1 - 6 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ตะลึง! ลูกพะยูนขี่เต่า "ดร.ธรณ์" ไขปริศนาที่มาของภาพสุดมหัศจรรย์ ลูกพะยูนขี่เต่า ภาพมหัศจรรย์สัตว์โลก (ภาพจาก : FB Chananpat Surachaikul) "ดร.ธรณ์" ออกมาเผยถึงเหตุที่ลูกพะยูนน้อยเกาะหลังเต่าตนุที่อ่าวดงตาล จ.ชลบุรี ว่า เนื่องจากลูกพะยูนพลัดหลงกับแม่จึงต้องหาสัตว์ใหญ่ที่ยอมรับตัวเองให้เข้าไปอยู่ด้วย ซึ่งเป็นภาพมหัศจรรย์สัตว์โลกที่หาชมได้ยากมาก อย่างไรก็ดีแม้ภาพนี้จะดูน่ารัก แต่เบื้องหลังนั้นกลับเป็นเหตุการณ์ที่แสนเศร้าไม่น้อยเลย จากกรณีที่มีภาพมหัศจรรย์สัตว์โลกหาชมได้ยากมาก ของ "ลูกพะยูน" น้อยเกาะบนหลังเต่าตนุ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีรายชื่อ Chananpat Surachaikul ได้โพสต์ภาพดังกล่าว พร้อมข้อความว่า ว้าว?พะยูนน้อยไร้แม่พะยูน คลอเคลียกับเต่าตนุตัวใหญ่ ภารกิจลับ ณ อ่าวดงตาล สัตหีบ?.หนึ่งในล้าน หลังจากนั้นได้มีผู้แชร์ภาพดังกล่าวในโลกโซเชียลเป็นจำนวนมาก รวมถึงได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพมหัศจรรย์ดังกล่าว โดยได้โพสต์เฟซบุ๊กผ่านบัญชีรายชื่อ Thon Thamrongnawasawat ว่า อ.บอยโชว์ภาพลูกพะยูนกับเต่าตนุที่อ่าวดงตาล ลูกพะยูนว่ายเกาะอยู่บนหลังน่ารักมาก ???? ธรรมชาติของลูกพะยูน เมื่ออยู่กับแม่ จะลอยตัวเหนือแม่เพราะภัยอันตรายจะมาจากด้านล่าง เช่น ฉลามจู่โจม ศัตรูทางธรรมชาติจากด้านบนไม่มี เพราะไม่มีนกกินพะยูน การอยู่ด้านบนยังมีแม่คอยหนุนเวลาโผล่หายใจ เป็นพฤติกรรมของลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่มเกิด เมื่อเกิดพลัดหลงกับแม่ด้วยสาเหตุต่างๆ ลูกพะยูนจะหาสัตว์ใหญ่ที่ยอมรับตัวเองให้เข้าไปอยู่ด้วย ปรกติยากมากครับ พะยูนตัวอื่นก็คงไม่เอาด้วย อีกทั้งภาพนี้มาจากอ่าวดงตาล สัตหีบ แม้มีรายงานเรื่องพะยูนเป็นระยะ แต่ไม่ได้มีมากขนาดนั้น (ตามข้อมูล 5+ ตัว) สัตว์ใหญ่ที่โผล่ขึ้นมาหายใจเป็นระยะ คงมีแต่เต่าตัวใหญ่ที่มีอยู่พอสมควร เนื่องจากพื้นที่สัตหีบมีเกาะคราม เกาะแห่งเต่าอันดับหนึ่งของไทย ลูกพะยูนสับสนในชีวิต กลัวไปหมดทุกอย่าง เมื่อว่ายไปเจอเต่าตนุ จึงขออยู่ด้วย แม่หนูหายไปไหนก็ไม่รู้ ขอหนูอยู่ด้วยคนได้ไหม ? ลูกพะยูนคงร้องขอเต่าด้วยเสียงสะอื้น เต่าใหญ่คงไม่ว่าอะไร อยากอยู่ก็อยู่ไปนะหนูเอ๊ย จึงกลายเป็นภาพที่เด็ดขาดมาก การพึ่งพาของ 2 ชีวิต เต่าตนุกินอาหารหลายอย่าง รวมถึงหญ้าทะเล จึงเป็นเรื่องปรกติที่เราพบเต่าอยู่ในแหล่งหญ้า ในการสำรวจทางอากาศแทบทุกครั้ง เราพบเต่ามากกว่าพะยูน ลูกพะยูนจึงคอยพึ่งพิงเต่า อาศัยอยู่ในแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารร่วมกัน ปัญหาสำคัญคือเธอหย่านมหรือยัง กินแต่หญ้าอย่างเดียวจะรอดไหม จะเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อดำรงชีวิตจากใคร โลกนี้โหดร้าย แต่โลกนี้มีปาฏิหาริย์ แค่ลูกพะยูนมาอยู่เต่าได้ แค่นี้ก็เป็นที่สุดของปาฏิหาริย์ ผมยังไม่เคยเห็นที่ไหน ในทะเลมีความตาย ในทะเลมีน้ำใจ อวยพรให้ลูกพะยูนอยู่รอดต่อไปให้นานที่สุด รอดจนเติบใหญ่ กลายเป็นเมาคลีแห่งท้องทะเล เป็นเครื่องเตือนใจเราว่า เมื่อไม่ยอมแพ้ ชีวิตย่อมมีหนทาง แม่หาย กำพร้า หลงทางกลางทะเล ยังสู้ต่อไป ความหวังแม้ริบหรี่ยิ่งกว่า 1 ในล้าน ก็ยังคงว่ายน้ำ ไม่มีคำว่ายอมแพ้อยู่ในความคิดลูกพะยูน จวบจนเจอน้ำใจกลางทะเลอันเวิ้งว้าง เป็นภาพเด็ดสุดในรอบหลายปีของทะเลไทยเลยครับ ???????????? ขอบคุณ อ.บอยและผู้อยู่เบื้องหลังทุกท่าน สำหรับภาพนี้ครับ https://mgronline.com/travel/detail/9660000009628 ****************************************************************************************************** "ฤดูวางไข่" เต่าหญ้า-เต่ามะเฟือง ยังเสี่ยงสูญพันธุ์ 'กรมทะเล' แนะขั้นตอนช่วยเหลือเต่าเกยตื้น! ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่แม่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ตามชายหาดทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน สะทัอนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในบ้านเราที่เพิ่มขึ้น แต่เต่าหญ้า-เต่ามะเฟือง ในท้องทะเลไทยยังสุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์ ?ดร.ธรณ์? ย้ำทุกคนช่วยเต่าได้ ถ้าลดขยะพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผยภารกิจหนึ่งที่สำคัญของเต่าทะเล คือ การวางไข่ แม่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดที่เงียบสงบ ซึ่งในช่วงฤดูวางไข่แม่เต่าสามารถขึ้นวางไข่ได้มากถึง 10 ครั้ง ในทุกๆ 10-12 วัน และจะกลับมาวางไข่ในทุกๆ 2-4 ปี โดยมีอัตรารอดของลูกเต่าเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเลได้เพียง 1 ใน 1,000 ตัวเท่านั้น จะเห็นว่ากว่าลูกเต่าทะเลตัวน้อยๆ เติบโตจนกลายเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้นั้นมีโอกาสน้อยมาก ด้วยหลากหลายสาเหตุปัจจัยในระบบนิเวศทะเลที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของเต่าทะเล ดังนั้นบทบาทที่สำคัญต่อการอนุรักษ์เต่าทะเล ตกมาอยู่ที่มนุษย์ โดยเฉพาะชุมชน ผู้อยู่อาศัยตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ กรม ทช. แนะนำการช่วยเหลือเต่าทะเล หากพบว่าแม่เต่าติดอวน เบ็ด หรือเกยตื้น และยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สามารถรีบช่วยได้ทันทีตามวิธีการที่ถูกต้อง และปล่อยคืนสู่ทะเล (ดูภาพ : การช่วยเหลือเต่าทะเลเกยตื้นเบื้องต้น) แต่ถ้าต้องการความช่วยเหลือ ให้รีบแจ้งกรม ทช. หรือสายด่วน 1362 หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นเพื่อประสานหน่วยงานมาที่กรม ทช. ในแต่ละพื้นที่ต่อไป เผย "เต่าหญ้า-เต่ามะเฟือง" ยังสุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์ ปัจจุบันเต่าหญ้าและเต่ามะเฟือง เป็น 2 ใน 5 ชนิดในท้องทะเลไทย ยังอยู่ในภาวะวิกฤตที่ใกล้สูญพันธุ์ ส่วนเต่าตนุและเต่ากระมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากแหล่งวางไข่เต่าตนุและเต่ากระทั้งในอ่าวไทย และเกาะหูยงทางฝั่งทะเลอันดามัน ล้วนอยู่ในความดูแลของทหารเรือ ผู้คนทั่วไปไม่สามารถขึ้นเกาะได้หากไม่ได้รับอนุญาต นั่นทำให้ปัญหาเรื่องการลักลอบเก็บไข่เต่าทะเลเกิดน้อยมาก แต่ปัญหาใหญ่มาจากการประมงที่หนาแน่นมากในอ่าวไทย และมีการประมงหลายชนิดที่ขาดความรับผิดชอบและเป็นอันตรายต่อเต่าทะเล นอกจากนั้นยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งทะเล เช่น ปริมาณของขยะผลิตภัณฑ์พลาสติกในทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลต่อแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเลอย่างต่อเนื่องและทำให้กระทบโดยตรงต่อประชากรเต่าทะเล ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันปัญหาใหญ่ที่สุดในเรื่องของการพัฒนาการท่องเที่ยว ทำให้แหล่งวางไข่เต่าทะเลส่วนใหญ่ ซึ่งมีหาดทรายที่สวยงาม ถูกบุกรุกเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และไม่มีความเหมาะสมในการเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเลอีก นั่นที่ทำให้เต่าทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว ดร.ธรณ์ ย้ำทุกคนร่วมมือช่วยได้ แค่ "ลดขยะทะเล" ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ช่วงฤดูเต่าวางไข่ในอันดามันตั้งแต่เดือน ต.ค.-ก.พ. ซึ่งหาดไม้ขาวและหาดท้ายเหมืองนั้นเป็นสองหาดสำคัญของประเทศไทยที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่ โดยปัจจุบันเต่าหญ้าคือเต่าทะเลหายากที่สุดของไทย "เต่าทะเลเกือบทั้งหมดประสบชะตากรรมจากขยะทะเล เช่น เศษอวน พลาสติก ฯลฯ ติดที่ขา รัดบาดลึกที่คอ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่จะตาย แต่ก่อนตายถามว่าทรมานมั้ย ขอตอบว่ามาก เต่ายังไม่ตายหายใจได้เรื่อยๆ แต่เธอไปไหนไม่ได้ ได้แต่ลอยไปกับเศษขยะ หลายต่อหลายวันแดดแผดเผา แผลบาดลึกลงเรื่อยจนบางครั้งขาแม่เต่าขาด พวกเธอมาถึงหาดที่เธออยากมาให้กำเนิดลูกน้อย แต่มาในสภาพของซากศพหรือใกล้ตายเต็มที สภาพที่จบชีวิตเต่าทะเล คือติดขยะหรือกินขยะจนตาย" "ถ้าเราช่วยกันเพียงลดปริมาณการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ท่านย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็ต้องพยายามในส่วนของเราให้ดีที่สุด ช่วยกันลดขยะพลาสติก สนับสนุนสินค้าทางเลือกจากการรีไซเคิลหรือ Upcycling เพื่อให้การตลาดขยับไปข้างหน้าได้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะหาซื้อยาก แต่เชื่อว่าอีกไม่นานคงมีวางจำหน่ายมากขึ้นครับ" https://mgronline.com/greeninnovatio.../9660000009564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ-โลมากระโดด เกยตื้น พบรอยฉลามกัดบริเวณหลัง วันที่ 31 มกราคม นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รักษาราชการแทนอธิบดี ทช.) ได้รับรายงานสถานการณ์ด้านการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างว่า พบซากโลมาบริเวณพื้นที่หาดบางหอย อ.สิงหนคร จ.สงขลา ด้านเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง พร้อมทีมสัตวแพทย์ เข้าตรวจสอบและผ่าชันสูตรซากเพื่อหาสาเหตุการตาย เบื้องต้นทราบว่า เป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ เพศผู้ ความยาวลำตัว 1.18 เมตร สภาพซากเน่ามาก สภาพภายนอกไม่พบครีบข้างทั้ง 2 ข้าง พบบาดแผลลักษณะเป็นวงกลมบริเวณลำตัว พบรอยฉลามกัดบริเวณหลัง โดยภายในไม่พบอาหารในกระเพาะอาหาร อวัยวะภายในอื่นๆ เน่าสลาย ส่วนสาเหตุการตายคาดว่าเกิดจากการถูกฉลามกัด จากนั้นในเวลาถัดมา เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (ศวทล.) ได้รับแจ้งจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ผ่านทางสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล ว่าอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ได้พบซากโลมาเกยตื้น บริเวณโรงแรมโคโค่ วันบีช โฮเต็ลแอนด์ เรสเตอรองท์ หมู่ 1 ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ได้เข้ารับซากโลมาและส่งมอบซากให้กับทาง ศวทล. จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นโลมากระโดดแคระ เพศเมีย โตเต็มวัย ยาว 1.02 เมตร น้ำหนัก 8.2 กิโลกรัม รูปร่างค่อนข้างผอม และพบบาดแผลที่บริเวณด้านข้างลำตัวฝั่งซ้ายและพบรอยฟันทั่วลำตัว จากการชันสูตรพบฟองอากาศในหลอดลม ปอดบวม หัวใจมีลักษณะคล้าย tiger heart disease ม้ามมีเนื้อตาย ทั้งนี้ โลมามีภาวะซีด ส่วนสาเหตุการตายคาดว่าโลมาป่วยจากการติดเชื้อไวรัส จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทางจุลพยาธิ และพันธุศาสตร์ ต่อไป นายอภิชัยกล่าวว่า ทช.พร้อมจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนการทำงานระหว่างพี่น้องเครือข่ายในพื้นที่และภาคส่วนต่างๆ ในการช่วยกันสอดส่องดูแลสัตว์ทะเลหายาก พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเข้าใจด้านการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธีให้กับชุมชนชายฝั่ง อันเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น อย่างไรก็ตาม ตนย้ำเสมอว่า ถ้าพี่น้องประชาชนพบเห็นเบาะแสสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ให้รีบแจ้งมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร 1362 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่จะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_3800316
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
แห่ดูพะยูนโชว์ตัวกินหญ้าทะเล อันซีนแห่งใหม่ของ จ.ตรัง ตรัง 31 ม.ค.- นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเกาะมุก อ.กันตัง จ.ตรัง ต่างตื่นเต้นและดีใจ ได้เห็นพะยูนมากินหญ้าทะเลให้เห็นกันชัดๆ แถมยังว่ายน้ำพลิกตัวโชว์หน้าท้องสีขาวอย่างสบายใจ กลายเป็นอันซีนแห่งใหม่ของจังหวัด ที่บริเวณท่าเรือบ้านเกาะมุก อ.กันตัง จ.ตรัง นักท่องเที่ยวและชาวบ้านจำนวนมากกำลังบันทึกภาพพะยูนเพศผู้ ความยาวประมาณ 2.30 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 200-220 กิโลกรัม กำลังกินหญ้าทะเลอยู่บริเวณท่าเรือ โดยจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำทุกๆ 2-3 นาที พร้อมพลิกตัวโชว์หน้าท้องสีขาวอวดนักท่องเที่ยวให้ฮือฮาเป็นระยะ ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ 2566 คนที่เดินทางไปเที่ยวเกาะมุก มักจะพบพะยูน 1-3 ตัว ว่ายเข้ามากินหญ้าชะเงา ซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่งบริเวณท่าเรือเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00-11.30 น. และในช่วงเย็นเวลาประมาณ 15.00-18.00 น. หรือช่วงเวลาน้ำขึ้น แม้จะมีเรือหางยาวแล่นผ่าน ทำให้พะยูนว่ายหนี แต่สักพักก็จะกลับเข้ามาใหม่ เพื่อกินหญ้าทะเล พร้อมหงายท้องโชว์ตัวใต้น้ำทะเลสวยใส แสดงให้เห็นถึงความร่าเริง สบายใจ และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านพบเจอได้ทุกวัน จนกลายเป็นอันซีนแห่งใหม่ที่นักท่องเที่ยวแชร์ต่อๆ กันในโลกโซเชียล https://tna.mcot.net/region-1105860
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|