เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 02-02-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-7 ก.พ. 66 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มของการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2 - 7 ก.พ. 66 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 ? 4 ก.พ. 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลซียและภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 02-02-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทส.ผสานความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย ฟื้นฟูแนวปะการัง ด้วย 3D Printing

ทส.ผสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรจังหวัดภูเก็ต ขับเคลื่อนบูรณาการฟื้นฟูทรัพยากรปะการัง ในพื้นที่ ด้วย เทคโนโลยี 3D Printing มาออกแบบวัสดุคอนกรีต สำหรับนำไปฟื้นฟูแนวปะการัง



วันที่ 1 ก.พ. 66 นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยว่า จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดเดียวที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องของหาดทรายที่สวยงาม น้ำทะเลใส เหมาะสำหรับการดำน้ำดูปะการัง ความสวยงามของทะเลอันดามัน จึงเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วโลกเข้ามาเยือนทั้งบนเกาะและใต้ทะเล จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักดำน้ำปักหมุดมุ่งหน้ามาดำน้ำในพื้นที่ทะเลจังหวัดภูเก็ต สำหรับนักดำน้ำที่หลงใหลบรรยากาศความเงียบสงบ และความสวยงามของโลกใต้ทะเล คงไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ถูกทำลายไป ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวของนักดำน้ำและนักท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนเสมอ โดยผู้ประกอบการจะต้องให้ความรู้ด้านการดำน้ำอย่างถูกวิธี แก่นักดำน้ำก่อนจะลงดำน้ำดูปะการัง รวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเข้าใจด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของการดำน้ำดูปะการัง ตลอดจนอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เพื่อย้ำเตือนให้นักดำน้ำและนักท่องเที่ยวปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ในการนี้ ตนได้สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขยายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นองค์รวม โดยยึดหลักการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่หยิบจับอะไรไปจากทะเล ไม่เหยียบ เตะ หรือยืนบนปะการัง ไม่ให้อาหารสัตว์ทะเล ไม่ทิ้งอะไรไว้ในทะเล ไม่เก็บอะไรมาจากทะเล รักษาระยะห่างจากสัตว์ทะเล ไม่ส่องแสงไฟไปยังสัตว์ทะเลโดยตรง ไม่บริโภคและส่งเสริมการค้าสัตว์ทะเลหายากหรือสัตว์ต้องห้าม ให้เก็บเพียงภาพถ่ายไว้ในความทรงจำจะดีที่สุด เพื่อลดการทำลายระบบนิเวศใต้ทะเล อีกทั้งเพิ่มความคงอยู่และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำชับให้หน่วยงานในกระทรวง ทส. ที่เกี่ยวข้อง เร่งขยายพื้นที่บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ทั้ง 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล ดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่อไป

ด้านนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะทรัพยากรปะการังของไทย ซึ่งมีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 149,182 ไร่ แบ่งออกเป็นทะเลอ่าวไทยประมาณ 75,426 ไร่ และฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด ประมาณ 73,756 ไร่ โดยกรม ทช. รับผิดชอบพื้นที่แนวปะการังนอกเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 70,906 ไร่ ซึ่งในประเทศมีพื้นที่แนวปะการังอยู่ทั่วไป 17 จังหวัด ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีแนวปะการังประมาณ 13,732 ไร่ อยู่ตามเกาะ และอ่าวต่างๆ รอบเกาะภูเก็ต เช่น เกาะราชาใหญ่ ราชาน้อย เกาะเฮ เกาะโหลน อ่าวป่าตอง กะตะ กะรน รวมถึงบริเวณไม้ท่อน เป็นต้น ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง หรือประมาณร้อยละ 53 มีหลายแห่งที่อยู่ในสภาพเสียหายหรือเสื่อมโทรม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และที่ทราบกันดีว่ากิจกรรมท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือ และภัยธรรมชาติ คือ สาเหตุหลักที่ทำให้ปะการังในภูเก็ตเสื่อมโทรม รูปแบบความเสียหายในหลายพื้นที่เป็นการสูญเสียพื้นที่อย่างถาวร หมายความว่า แต่ก่อนเคยมีแนวปะการัง ต่อมา เมื่อปะการังตายจากสาเหตุต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่แนวปะการังเขากวางเมื่อตายก็จะผุกร่อนยุบตัวลง หรือถูกคลื่นซัดออกไปเหลือแต่พื้นที่ทรายหรือในหลายพื้นที่มีการเหยียบย่ำของนักท่องเที่ยวตลอดเวลา จนทำให้พื้นที่ที่เดิมเหลือแต่ทราย เกิดความไม่เหมาะสมไม่มีฐานให้ตัวอ่อนปะการังธรรมชาติที่ล่องลอยในน้ำลงยึดเกาะ ก่อเป็นตัวใหม่หรือสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องดำเนินการฟื้นฟูโดยนำวัสดุรูปแบบต่างๆ จัดวางเป็นฐานให้ตัวอ่อนลงเกาะ ดังเช่นในครั้งนี้ จึงเป็นหน้าที่ของกรม ทช. ที่จะต้องดำเนินการ เช่น ในพื้นที่เกาะไม้ท่อน เกาะราชาใหญ่ และอีกหลายพื้นที่มีพื้นที่ว่างหรือที่เคยเป็นแนวปะการัง เกาะไม้ท่อนมีพื้นที่แนวปะการังรวมประมาณ 329 ไร่ และมีพื้นที่ต้องฟื้นฟูโดยจัดวางฐานประมาณ 80 ไร่ กรม ทช. จึงได้หาวิธีการพัฒนารูปทรงให้มีความสวยงามและกลมกลืนเข้ากับธรรมชาติ จึงได้ร่วมกับบริษัท เอสซีจี นำเทคโนโลยี 3D Printing มาออกแบบวัสดุคอนกรีต โดยได้นำไปทดลองจัดวางพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เกาะไม้ท่อน เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต, เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี และเกาะสีซัง จ.ชลบุรี ซึ่งก็ได้ผลดีมีตัวปะการังลงเกาะ และสัตว์น้ำเข้าไปอาศัยมากขึ้น

อย่างเช่นวันนี้ (1 ก.พ. 2566) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมมือกับจังหวัดภูเก็ต กรมเจ้าท่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และสโมสรโรตารีเหมืองแร่ภูเก็ต ลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังจังหวัดภูเก็ต ซึ่งตนเป็นผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ กับ นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และนายศาสวัส หลิมพานิชย์ นายกสโมสรโรตารีเหมืองแร่ภูเก็ต สำหรับการลงบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดวางวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังจำนวน 39 ชุด โดยมีรูปทรงสวยงามและกลมกลืนเข้ากับธรรมชาติ เป็นการนำเอาเทคโนโลยี 3D Printing มาออกแบบวัสดุคอนกรีต สำหรับนำไปฟื้นฟูแนวปะการังในพื้นที่เกาะไม้ท่อน ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติ ในรูปแบบการจัดวางฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง เพิ่มความสมบูรณ์ความสวยงามของแนวปะการังและท้องทะเล รวมทั้งส่งเสริมสร้างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต อีกทั้งสร้างการมีส่วนร่วม และส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนวปะการัง ให้กับเยาวชนและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือและการสนับสนุน รวมถึงการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ อย่างจังหวัดภูเก็ต องค์กรบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สโมสรโรตารีเหมืองแร่ภูเก็ต ซึ่งเป็นหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูแนวปะการังของจังหวัดภูเก็ต อันเป็นทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล เป็นแหล่งรายได้ทั้งด้านการท่องเที่ยว และการประมงของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ภายใต้ข้อตกลงบูรณาการความร่วมมือ เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังจังหวัดภูเก็ตให้เกิดความสมบูรณ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของทุกฝ่ายในอนาคตต่อไป "นายอภิชัย กล่าวทิ้งท้าย"


https://www.thairath.co.th/news/politic/2618440

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 02-02-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


อวดโฉมโชว์ตัว



ที่บริเวณท่าเรือบ้านเกาะมุก หมู่ที่ 2 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวบ้านจำนวนมาก กำลังบันทึกภาพพะยูน เพศผู้ ความยาวประมาณ 2.30 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 200-220 กิโลกรัม กำลังกินหญ้าทะเลอยู่บริเวณท่าเรือ โดยจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำทุก ๆ 2-3 นาที พร้อมพลิกตัวโชว์หน้าท้องสีขาวอวดนักท่องเที่ยวให้ได้ฮือฮาเป็นระยะ โดยตั้งแต่ช่วงปีใหม่ 2566 เป็นต้นมา ชาวเกาะมุกและนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเกาะมุก มักจะพบพะยูน 1-3 ตัว ว่ายเข้ามากินหญ้าชะเงา ซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่งบริเวณท่าเรือเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00 น.-11.30 น. และในช่วงเย็นเวลาประมาณ 15.00 น.-18.00 น. หรือช่วงเวลาน้ำขึ้น

ทำให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมพะยูนตัวเป็น ๆ อย่างใกล้ชิดเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน โดยพบว่าที่ท่าเรือบ้านเกาะมุก ยังคงมีหญ้าทะเลอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงดึงดูดให้พะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลทุกวัน แม้จะมีเรือหางยาวแล่นผ่าน ทำให้พะยูนว่ายหนี แต่สักพักก็จะกลับเข้ามาใหม่เพื่อกินหญ้าทะเล พร้อมหงายท้องโชว์ตัวใต้น้ำทะเลใส แสดงให้เห็นถึงความร่าเริง สบายใจ และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านพบเจอได้ทุกวัน จนกลายเป็นอันซีนแห่งใหม่ที่นักท่องเที่ยวมีการแชร์ต่อ ๆ กันในโลกโชเชียล และทำให้มีนักท่องเที่ยวที่อยากเห็นพะยูนตัวเป็น ๆ อย่างใกล้ชิด พากันเดินทางไปที่เกาะมุกมากขึ้น

ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษคนนี้ ที่เธอบอกว่า ได้เดินทางตามหาพะยูนมาหลายปีแล้ว เคยมาที่จ.ตรังเพื่อหาพะยูนเมื่อปีที่แล้ว แต่หาไม่เจอก็รู้สึกผิดหวัง แต่วันนี้จะไม่ได้เจอใกล้ ๆ แต่ยังรู้สึกโชคดี และตัวใหญ่กว่าที่คิดไว้ เห็นแล้วรู้สึกดีใจ และอยากจะว่ายน้ำไปเจอใกล้ ๆ

สำหรับพะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เลี้ยงลูกด้วยนม อายุยืนประมาณ 70-80 ปี ซึ่งจ.ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของพะยูน เพราะจากการบินสำรวจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชในทุก ๆ ปี พบว่า มีพะยูนอาศัยอยู่มากที่สุดที่เกาะลิบงและเกาะมุก อ.กันตัง จ.ตรัง โดยที่เกาะมุก มีพะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลใกล้กับชาวบ้านมากที่สุด ทำให้เกาะมุกมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น หลังซบเซาจากพิษโควิด 19 มานาน

อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ไม่มีการจัดระเบียบเรือหางยาวจากบุคคลภายนอก ที่วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสาร เรือบางลำยังวิ่งผ่านแหล่งหญ้าทะเลที่พะยูนกำลังหากิน ทำให้พะยูนตื่นตกใจ จนนักท่องเที่ยวต้องช่วยกันห้าม หวั่นว่าใบพัดเรือจะทำลายพะยูนโดยไม่ตั้งใจ นักท่องเที่ยวจึงวอนชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันเป็นหูเป็นตา จัดระเบียบการรับส่งผู้โดยสารให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่พะยูนกำลังกินหญ้าทะเล เพื่อให้พะยูนไม่เกิดความหวาดระแวง และเข้ามากินหญ้าทะเลเพิ่มมากขึ้น


https://www.mcot.net/view/qNh2uj6Q


******************************************************************************************************


อุดมสมบูรณ์! พบ 2 "วาฬบรูด้า" กำลังหากิน ในบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง



วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 นายสาธิต ตันติกฤตยา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ได้รับรายงานการพบสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ฯ

โดยเวลาประมาณ 11.30 น. เจ้าหน้าที่ชุดสายตรวจส่วนกลางซึ่งออกปฏิบัติงานลาดตระเวนทางทะเล ได้สำรวจพบ "วาฬบรูด้า" จำนวน 2 ตัว กำลังหากินอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเกาะนายพุด จึงได้ทำการบันทึกภาพถ่ายเพื่อตรวจสอบรายชื่อโดยเปรียบเทียบอัตลักษณ์กับฐานข้อมูลการจำแนกประชากรวาฬบรูด้าในอ่าวไทย โดยใช้ภาพถ่าย (Photo Identification)ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการและการติดตามสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป

นายสาธิต ตันติกฤตยา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ได้ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนเรือนำเที่ยวโดยรอบบริเวณให้ลดความเร็วและไม่เข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกอบการท่องเที่ยวฯ เน้นย้ำให้ผู้บังคับเรือและไกด์นำเที่ยว ปฏิบัติตามคำสั่งและข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ฯ ในการนำนักท่องเที่ยวชมวาฬบรูด้า ดังนี้

- ดับเครื่องยนต์เรือ ไม่ควรนำเรือเข้าใกล้วาฬมากกว่ารัศมี 100 เมตร และไม่ควรเปลี่ยนทิศทางและความเร็วเรือ

- ไม่แล่นเรือขวางหรือไล่ตามวาฬ รวมถึงถ้าวาฬว่ายน้ำออกจากตำแหน่งที่มองเห็น ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ตาม

- งดใช้เสียงดัง หรือใช้เสียงให้น้อยที่สุด เพราะวาฬจะใช้คลื่นเสียงในการสื่อสาร หาอาหาร และเดินทาง หากเสียงดังอาจจะเป็นการรบกวนการสื่อสารของวาฬได้

สำหรับวาฬบรูด้าเป็นสัตว์ทะเลหายาก พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์


https://www.mcot.net/view/1U2DZrq9

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:03


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger