เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-03-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เว้นแต่ภาคเหนือที่ยังมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 ? 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 ? 5 มี.ค. 66 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	topchart_03_march_2023_00.jpg
Views:	0
Size:	106.0 KB
ID:	22489   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	246.jpg
Views:	0
Size:	89.0 KB
ID:	22490   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	forecast7days_01-03-66.jpg
Views:	0
Size:	80.3 KB
ID:	22491   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	summer-2566-ig.jpg
Views:	0
Size:	87.3 KB
ID:	22492  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-03-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน ?ระบบจัดการ นิเวศน์ทางทะเลคงอยู่คู่ความมั่งคั่ง



?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? คือหนทางของความยั่งยืนทางทะเลเป็นรูปแบบสำคัญของการฟื้นฟู และดูแลธรรมชาติ และความหลากหลายในทางทะเล และเศรษฐกิจในอนาคต

ข้อมูลของธนาคารโลก ระบุว่า เศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือ ?การใช้ทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการมีงานทำในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสุขภาพของระบบนิเวศน์ในมหาสมุทรด้วย?

ส่วนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเสริมว่า ?เศรษฐกิจสีน้ำเงินยังรวมถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่อาจไม่มีจำหน่าย เช่น การกักเก็บคาร์บอน การปกป้องชายฝั่ง คุณค่าทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ?

?มหาสมุทร? มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสามารถสร้าง โอกาสในการเติบโตของประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาซึ่งกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ได้พบว่ามีความท้าทายที่สำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินนั่น คือ การเข้าใจ และจัดการได้ดีขึ้น และยั่งยืนในระดับตั้งแต่การประมงอย่างยั่งยืนไปจนถึงสุขภาพของระบบนิเวศน์ไปจนถึงการป้องกันมลพิษ

สุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่าเศรษฐกิจทางทะเลจะสร้างมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สร้างงาน 31 ล้านตำแหน่ง ในปี 2030 แต่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากนำแนวคิด ?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? มาใช้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและทรัพยากรให้มีอย่างยั่งยืนด้วย

โดยองค์ประกอบของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ได้แก่ ความยั่งยืน คือ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินกิจกรรม การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม ต้องคำนึง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง

?ผลที่จะได้รับของไทย 1.สิ่งแวดล้อมของไทยจะดีขึ้น 2. ทำให้ผู้ประกอบการชุมชนที่อยู่รอบชายฝั่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่การดำเนินการมาตั้งแต่ 6 ปี การฟื้นฟูธรรมชาติอย่างเห็นได้ไม่ชัดเจนแต่ก็ยังถือว่าระยะเวลาดำเนินการยังน้อยอยู่มาก?

??ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุว่า กำลังขยายการจัดหาเงินทุนเพื่อมหาสมุทร และเศรษฐกิจสีน้ำเงินที่ยั่งยืน เพราะมหาสมุทรของโลกเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากมลพิษ จากภาคเกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ไม่ยั่งยืนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน



?ADB จึงจัดตั้งศูนย์กลางการเงิน Blue SEA (อาเซียน) เมื่อปี 2564 ศูนย์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากอาเซียน และยังมี Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 2562 เพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน?

การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่ระดับนโยบายในทุกประเทศ และประชาชนในท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการแต่หากกิจกรรมดังกล่าวสร้างผลเสียต่อพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก อย่าง ?มหาสมุทร? การพัฒนานั้นอาจเป็นการเร่งตัวเองไปสู่หายนะ ?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? จึงเป็นเข็มทิศที่ดีที่จะไม่นำไปสู่ ?การพัฒนาที่หลงทาง?
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-03-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด

สดจากเยาวชน: ?ดุหยง? 2023 เจ้าถิ่นเกาะลิบง กับภารกิจฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล




3 มี.ค. 2566 - 09:00 น.

สดจากเยาวชน: ?ดุหยง? ? มีคำเปรียบเปรยว่า เกาะลิบง คือ เมืองหลวงของพะยูน ก็เพราะว่าเกาะลิบงเป็นแหล่งอาศัยของพะยูนมากที่สุดในประเทศไทย สำรวจพบมากกว่า 200 ตัว

คนเกาะลิบงผูกพันกับพะยูน ดูแลกันมานานหลายสิบปีแล้ว เด็กๆ และชาวบ้านที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกพะยูนว่า ?ดุหยง?

พะยูนไม่ใช่ปลา ถึงแม้จะอยู่ในทะเลและว่ายน้ำคล้ายปลาก็ตาม เด็กๆ ชี้ให้ดูจมูกของพะยูนเมื่อพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ มันว้าว! มาก ด.ช.ฮัสซิน สารสิทธิ์ ชั้นป.4 บอกว่า ?มันไม่ใช่ปลานะ มันเป็นดุหยง ถ้าปลาหายใจด้วยเหงือก แต่ดุหยงมันคล้ายๆ คน มันขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ท่าว่ายน้ำไม่เหมือนปลา ดูที่ครีบหางมันจะโบกขึ้นลงคล้ายโลมา ถ้าเป็นปลาจะโบกซ้ายขวา?



ด.ช.ฮัสซิน สารสิทธิ์

เด็กๆ ช่างสังเกต มีประสบการณ์เกี่ยวกับพะยูนเยอะก็เพราะเกิดและเติบโตที่เกาะลิบง คุ้นเคยกับพะยูนเหมือนเพื่อน พะยูนอยู่แบบไหน อยู่อย่างไร นอนอย่างไร กินอะไร ที่ไหน รู้ไปหมด ?ดุหยงเป็นสัญลักษณ์ของเกาะลิบงนะครับ ใครมาเที่ยวเกาะลิบงต้องได้เห็นดุหยง? เด็กชายฮัสซินบอกอย่างภูมิใจ

คนเกาะลิบงหากินกับท้องทะเล ทั้งใกล้บ้านและไกลออกไป อาชีพและรายได้หลักมาจากการทำประมงพื้นบ้าน กุ้ง หอย ปู ปลา ล้วนอาศัยหญ้าทะเลเป็นที่ฟักตัวอ่อนและหลบภัย จนกว่าจะเติบโตออกสู่ทะเลใหญ่ หญ้าทะเลยังเป็นอาหารหลักของดุหยงหรือพะยูนด้วย

หญ้าทะเลสำคัญอย่างไร ถ้าถามเด็กๆ เกาะลิบง ทุกคนตอบได้หมด ?หนึ่งเป็นอาหารของพะยูน สองเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำทุกชนิด สามเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำตอนยังเล็ก สี่เป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ? ความรู้ในห้องเรียนบวกประสบการณ์ตรงของลูกทะเลชั้นป.4 บอกอย่างนี้



ด.ช.ปิยวัฒน์ เสียมไหม

ในขณะที่คนเกาะลิบงประกอบอาชีพการท่องเที่ยวมากเป็นที่สองรองจากอาชีพประมง ท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวประทับใจในบริการทริปดูพะยูน ท่องทะเล สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่บนเกาะ

แต่วันนี้ความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ สะสมมาทีละน้อย เริ่มส่งผลต่อวิถีการท่องเที่ยวแบบสัมผัสถึงชุมชนแล้ว จะหาหอยก็ไม่ได้ง่ายดายและมากมายเหมือนเก่า จะดูพะยูนก็พบน้อยลงกว่าเดิม เริ่มสัมผัสได้ด้วยตาว่าหญ้าทะเลหายไปไหน

ด.ช.ปิยวัฒน์ เสียมไหม น้องป๊อก บอกว่า ?ถ้าไม่มีหญ้าทะเล อย่าว่าแต่ดุหยงเลย ชาวบ้านก็เดือดร้อนเพราะเขาต้องหาปูหาปลา? เด็กชายชั้นป.4 กล่าว


พะยูนหรือดุหยง เจ้าถิ่นเกาะลิบง

ในวันที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเลที่เคยงอกงามกินอาณาบริเวณกว้างไกล ลดจำนวนลงไปมาก คงส่งผลกระทบต่อพะยูนที่เกาะลิบงไม่ช้าก็เร็ว ที่ไหนมีหญ้าทะเล มีอาหาร พะยูนจะไปอยู่ที่นั่น ในอนาคตเมืองหลวงของพะยูนอาจไม่ใช่ที่เกาะลิบงอีกต่อไป

จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกันอย่างไร คงต้องทบทวนผลกระทบจากการพัฒนาทั้งจากภายนอกและภายในชุมชน สำรวจและหาวิธีการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลให้กลับคืนมา เพราะแหล่งหญ้ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทั้งพะยูน สัตว์น้ำ และชีวิตผู้คนบนเกาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไปเยี่ยมพะยูน 2023 เยี่ยมชาวบ้านและเกาะลิบงด้วยกันในทุ่งแสงตะวัน ตอน ดุหยง เสาร์นี้ 4 มีนาคม 2566 เช้าๆ เวลา 05.05 น. ที่ช่อง 3 กด 33 และทางเพจเฟซบุ๊กทุ่งแสงตะวัน ยูทูบอีกครั้งในเวลา 07.30 น. เอาใจช่วยพะยูนและหญ้าทะเลให้กลับมาสดชื่นมีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:00


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger