เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 4 เมษายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-9 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนบริเวณอื่นๆ มีการสะสมน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมและมีฝนตกในบางพื้นที่


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 4 ? 5 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้


ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


กทพ.ผุดทางด่วนเชื่อมเกาะช้างปักธงลุยศึกษาปีนี้



กทพ.กางแผนโปรเจกต์ทำทางด่วนเชื่อมไปเกาะช้าง จ.ตราด เร่งเข็น TOR จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม-ออกแบบปีนี้ แล้วเสร็จปีหน้า ส่วนทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ลุ้นเอกชนยื่นข้อเสนอ วันที่ 7 เม.ย.นี้

3 เม.ย. 2566 ? นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จ.ตราด ระยะทาง 6 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีข้อสั่งการให้ กทพ. ประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ในการดำเนินการสำรวจศึกษา และออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง โดยเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2566 กทพ. ได้ประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก ทช.

ทั้งนี้เพื่อนำมาประกอบการศึกษาความเหมาะสม และขณะนี้ กทพ. อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) เพื่อศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการฯ ภายในปีนี้ จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี เบื้องต้นโครงการดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นในพื้นที่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด เชื่อมข้ามทะเลอ่าวไทย สิ้นสุดโครงการที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด

สำหรับจุดประสงค์ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันการเดินทางเข้าเกาะช้างโดยเรือเฟอร์รี่ที่ให้นำรถยนต์เข้าเกาะต้องใช้เวลาในการเดินทางเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการรอลงเรือเฟอร์รี่ที่ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว และเทศกาลสำคัญที่มีการเดินทางเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากมีการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างนอกจากจะส่งผลดีป็นกาคอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวและให้คนในพื้นที่เกาะช้างได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อถึงโครงการทางพิเศษ สายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน มีกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอฯ วันที่ 7 เม.ย.2566 ส่วนโครงการทางพิเศษ สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม คืบหน้า 70.96% คาดว่าจะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 ในเดือน พ.ค.2566 และโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุยวงเงิน 3.3 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสม และออกแบบกรอบรายละเอียดโครงการฯ คาดว่าจะเริ่มศึกษาความเหมาะสมในเดือน เม.ย.2566

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


กรุงไทยเสริมแกร่งเกาะเต่า พัฒนาชุมชน สู่หมู่บ้านประมงแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน



"เกาะเต่า" เกาะเล็กๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า สวรรค์ของนักดำน้ำ ต้องประสบปัญหาอย่างหนักจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโควิด 19 จะยังไม่หมดไป แต่โลกก็ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด 19 ด้วยวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ขณะที่ประเทศไทยได้เปิดประเทศ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกอย่างเต็มรูปแบบ และในวันนี้ เกาะเต่าได้ถูกพลิกฟื้นให้กลายเป็นชุมชนหมู่บ้านประมงแบบยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
ธนาคารกรุงไทย สนับสนุนการบูรณาการเกาะเต่าในทุกมิติ วางแผนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการ #UNDPกรุงไทยรักเกาะเต่า ซึ่งธนาคารร่วมกับ UNDP ประเทศไทย และมูลนิธิรักษ์ไทย เมื่อปี 2563 ระดมทุนได้กว่า 2.7 ล้านบาท ในรูปแบบ Crowd Funding ด้วยการรับบริจาคผ่านระบบ e-Donation ของธนาคาร เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนขับเรือท่องเที่ยวขนาดเล็กและช่วยเหลือคนในชุมชนเกาะเต่าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และเงินบริจาคส่วนที่เหลือ นำไปดำเนินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกาะเต่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการประกอบอาชีพของคนในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาทักษะให้กลุ่มอาชีพต่างๆ อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีเกาะเต่า สนับสนุนโครงการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมธรรมชาติ และ โครงการด้านประมงและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของเกาะเต่ามาอย่างยาวนาน

โครงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยซั้งปลา อีกหนึ่งโครงการที่ธนาคารสนับสนุน จุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการทำอาชีพประมงควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน ทำซั้งปลาจากไม้ไผ่และทางมะพร้าว เพื่อสร้างบ้านปลาแบบยั่งยืน สำหรับเป็นตู้เสบียงชุมชน และช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาเศรษฐกิจ อาทิ ปลาอินทรีย์ ปลาแข้งไก่ และปลาหูบาง ที่ชาวประมงจับได้บริเวณรอบๆ ซั้งปลา และกองหินธรรมชาติ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงขึ้น แม้รายได้จากการท่องเที่ยวจะยังไม่เป็นปกติ แต่เกาะเต่ายังคงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมต่อยอดไปสู่บริการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมทำซั้งปลากับชุมชน เพื่อเรียนรู้การทำประมงพื้นบ้าน และศึกษาธรรมชาติรอบเกาะ ซึมซับแนวคิดด้านการอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

ธนาคารกรุงไทยตระหนักว่า การพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ จึงนำความรู้และนวัตกรรมทางการเงินมาเป็นประโยชน์กับชุมชน โดยพนักงานธนาคารได้ผนึกกำลังกันลงพื้นที่ สร้างความรู้การวางแผนทางการเงิน และการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชมรมประมงพื้นบ้านเกาะเต่า และกองทุนสวัสดิการเรือรับจ้างขนาดเล็ก เพื่อช่วยเหลือสมาชิกกรณีฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน รวมทั้งร่วมกับเทศบาลเกาะเต่าวางแนวทางจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

จากผลสำเร็จของโครงการ #UNDPกรุงไทยรักเกาะเต่า ทำให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติดีขึ้น เกิดความความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตได้รับการฟื้นฟู ปกป้อง และเกื้อกูลกันระหว่างธรรมชาติกับคนในเกาะ โดยได้รับเลือกจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ The United Nations Development Programme (UNDP) ประเทศไทย ให้เป็นโครงการตัวอย่างในการพัฒนาด้านการเงิน เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Finance for Biodiversity) จัดแสดงในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ United Nation Biodiversity Conference สมัยที่ 15 (COP15) ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีการประชุมเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่สำคัญที่สุดในรอบทศวรรษ แสดงถึงความสำเร็จในการนำเครื่องมือทางการเงินมาพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจและสังคมไทย

เกาะเต่าในวันนี้ ผ่านการพัฒนาก้าวสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ สอดคล้องกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 4 รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน (Quality Education) เป้าหมายที่ 13 เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Action) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (Life Below Water) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (Life On Land) เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Peace Justice And Strong Institutions) ส่งผลให้ชุมชนเกาะเต่ามีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง พัฒนาองค์ความรู้ให้พึ่งพาตนเอง มีระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จัดการขยะอย่างเป็นระบบ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้คนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างการเติบโตให้กับทุกภาคส่วนของสังคม ตามวิสัยทัศน์ "กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน"


https://www.nationtv.tv/advertorials/news/pr/73

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 04-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


กระแสน้ำเย็นหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตของแอนตาร์กติกาใกล้ล่มสลาย



ในแต่ละปีน้ำเย็นปริมาณ 250 ล้านล้านตันจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทรใต้หรือมหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) ทำให้เกิดการหมุนเวียนแทนที่ของมวลน้ำจากเบื้องล่างที่อุ่นกว่าสู่ด้านบน ซึ่งนำพาสารอาหารที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตหลากหลายชนิดพันธุ์ขึ้นมาด้วย

แต่ปัญหาภาวะโลกร้อนกำลังเป็นภัยคุกคามต่อระบบหมุนเวียนตามธรรมชาตินี้ โดยผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่าระบบหมุนเวียนน้ำแอนตาร์กติก (Antarctic overturning) กำลังเคลื่อนตัวช้าลงเรื่อย ๆ จนคาดว่าจะเหลือความเร็วเพียง 40% จากเดิม ภายใน 30 ปีข้างหน้า และระบบอาจหยุดทำงานจนถึงกับล่มสลายได้ในไม่ช้า

รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด ชี้ว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาละลายกลายเป็นน้ำจืดในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำเค็มที่เย็นจัดไม่จมตัวลงอย่างที่เคย ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสลมและอุณหภูมิในส่วนลึกของมหาสมุทรที่เริ่มร้อนผิดปกติ ทำให้ระบบหมุนเวียนน้ำจากก้นมหาสมุทรสู่ด้านบนชะลอความเร็วลง

ศาสตราจารย์ แมตทิว อิงแลนด์ ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียบอกว่า ผลการคำนวณด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยใช้ข้อมูลล่าสุด ชี้ว่าหากอัตราการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศโลกยังคงเป็นเช่นในปัจจุบัน เราจะไม่อาจหลีกเลี่ยงหายนะภัยที่ใหญ่หลวงได้

เหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากระบบหมุนเวียนน้ำแอนตาร์กติกช่วยหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในมหาสมุทร โดยนำพาสารอาหารและออกซิเจนให้กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันกระแสน้ำในมหาสมุทรอื่น ๆ อีกหลายแห่งทั่วโลกด้วย

ศ. อิงแลนด์อธิบายเพิ่มเติมว่า "หากมหาสมุทรมีปอด ระบบหมุนเวียนน้ำแอนตาร์กติกนี้ก็ถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลลึกได้หายใจ แต่อย่างไรก็ตาม หากระบบหมุนเวียนน้ำนี้ทำงานช้าลงหรือหยุดลงอย่างสิ้นเชิง น้ำอุ่นจากทางตอนเหนือจะไหลเข้ามาแทนที่ และจะยิ่งทำให้แผ่นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาละลายตัวหนักขึ้นไปอีก"

ความผิดปกติของระบบหมุนเวียนน้ำแอนตาร์กติก ยังส่งผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำทั่วโลกด้วยแรงดันเกลือ (Global Thermohaline Circulation ? GTC) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ขับเคลื่อนการไหลเวียนของกระแสน้ำสายหลักและการกระจายความร้อนในมหาสมุทร

เมื่อระบบ GTC ถูกรบกวน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่ทั่วโลกจะมีความรุนแรงขึ้น เพราะระบบดังกล่าวมีหน้าที่สำคัญในการปรับสมดุลภูมิอากาศ โดยทำให้พื้นที่เขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตรเย็นลงและเขตหนาวแถบยุโรปเหนืออบอุ่นขึ้น แต่ในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ระบบควบคุมสมดุลตามธรรมชาตินี้อาจใช้งานไม่ได้อีกต่อไป


https://www.bbc.com/thai/articles/cw09pynkyvqo

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:49


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger