#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (6 เม.ย. 66) ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนบริเวณอื่นๆ มีการสะสมน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมและมีฝนตกในบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 6 ? 9 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 5 ? 6 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (94/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6 - 9 เมษายน 2566) ในช่วงวันที่ 6 - 9 เมษายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ วันที่ 6 เมษายน 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และจันทบุรี วันที่ 7 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 8 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 9 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตรพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
รู้ก่อนเที่ยว "อ่าวมาหยา" สวรรค์แห่งอันดามันบนหมู่เกาะพีพี มีกติกาอย่างไรบ้าง เตรียมตัวก่อนเที่ยว อ่าวมาหยา แลนด์มาร์กสำคัญในหมู่เกาะพีพี มีกฎกติกาและเงื่อนไขอย่างไร หนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญของหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป และพลาดไม่ได้ คือ อ่าวมาหยา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะพีพีเล โดยอ่าวมาหยาขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์แห่งอันดามัน เนื่องมาจากการพังทลายและยุบตัวของหน้าผาตามธรรมชาติ จนเกิดลักษณะพื้นที่เป็นอ่าว คล้ายรูปทรงพระจันทร์ที่โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูน "อ่าวมาหยา" อยู่ในพื้นที่ดูแลรักษาของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางได้ในทุกวันที่ 1 ตุลาคม - 30 กรกฎาคม และจะมีการปิดเกาะเพื่อให้ธรรมชาติได้รักษาและฟื้นฟูเป็นเวลา 2 เดือน ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน ของทุกปี หลังจากธรรมชาติฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้อ่าวมาหยามีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมากขึ้น มีปลาน้อยใหญ่ รวมถึงไฮไลต์สำคัญอย่าง "ฉลามครีบดำ" ที่วนเวียนให้ได้เห็นกันจำนวนมากที่สุดในรอบหลายปี จนในปี พ.ศ.2566 นี้ ที่การท่องเที่ยวไทยเริ่มผ่อนคลายและครึกครื้นมากขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองทำให้ฉลามครีบดำที่เคยอาศัยอยู่บนอ่าวมาหยากลับเริ่มทยอยหายไปหลังจากการกลับมาของนักท่องเที่ยว ซึ่งทาง อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ ทำให้มี กติกา เงื่อนไขให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไป "อ่าวมาหยา" เพิ่มขึ้นมาในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวดังนี้ - ปัจจุบันไม่สามารถเข้าอ่าวมาหยาจากหน้าเกาะได้แล้ว จึงมีการเปิดให้เข้าได้ทางด้านหลังเกาะของอ่าวมาหยา โดยมีท่าเรือรองรับ และเรือที่สามารถเดินทางเทียบท่าได้ คือ เรือหางยาว สปีดโบ๊ต และเรือยาง เท่านั้น - หาดด้านหน้าของอ่าวมาหยาสามารถถ่ายรูปได้ หรือเดินเล่นได้ แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้ หากต้องการดำน้ำตื้น และเล่นน้ำ ต้องใช้หาดด้านหลังของอ่าวมาหยาเท่านั้น - อ่าวมาหยา จำกัดนักท่องเที่ยวจำนวน 4,125 คนต่อวัน โดยจะแบ่งการขึ้นเกาะเป็น 11 รอบ รอบละไม่เกิน 1 ชั่วโมง จำกัดที่ 375 คนต่อรอบ ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. - ระบบชำระค่าเข้าอุทยานแบบ E-Ticket นักท่องเที่ยวสามารถจ่ายออนไลน์ได้บนแอปพลิเคชัน QueQ เพื่อลดความแออัด และง่ายต่อการท่องเที่ยว - ห้ามบินโดรนโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต - ห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสม Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben ซึ่งเป็นอันตรายต่อปะการัง และสัตว์ทะเล โดยกติกา เงื่อนไข และข้อปฏิบัติทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสัตว์ที่อาศัยอยู่อีกทางหนึ่ง และเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยว ไฮไลต์สำคัญของประเทศไทยอย่าง "อ่าวมาหยา" ให้ยังคงฉายาว่า "สวรรค์แห่งอันดามัน" ไปอีกนานๆ. https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2672718
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ "ปลาใต้ทะเลลึกที่สุดในโลก" ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ทำลายสถิติเดิมที่ 8,336 เมตร ทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น เผยภาพ "ปลาใต้ทะเลลึกที่สุดในโลก" ลึกที่สุดที่เคยถ่ายมาได้ ที่ระดับความลึก 8,336 เมตร บริเวณร่องน้ำลึกทางตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น โลกใบนี้ยังมีความลับอีกมากมายซ่อนอยู่ โดยหนึ่งในความลึกลับที่มนุษย์ยังค้นพบเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ คือ โลกใต้ทะเลลึก ซึ่งล่าสุดทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยทะเลลึกมหาวทิยาลัยไมน์เดอรูแห่งออสเตรเลียตะวันตก ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลโตเกียว เปิดเผยฟุตเทจภาพอันน่าตื่นเต้นในการสำรวจใต้ทะเลลึก นั่นคือ ปลาใต้ทะเลลึกที่ระดับ 8,336 เมตร ซึ่งนับเป็นการทำลายสถิติความลึกที่สุดที่เคยมีการถ่ายมาได้ สำหรับสปีชีส์ของปลาชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์ "สเนลฟิช" ประเภท Pseudoliparis ซึ่งมีแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ตั้งแต่บริเวณน้ำตื้นไปจนถึงใต้ทะเลลึก ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้อุปกรณ์กล้องอัตโนมัติใต้น้ำทิ้งลงไปจากร่องลึกอิซุ-โอกาซาวาระ ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยระบุว่า สเนลฟิชกลุ่มนี้ อยู่ในจุดที่ลึกแทบจะที่สุดแล้ว เท่าที่ปลาตัวหนึ่งจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ปัจจัยที่สเนลฟิชสามารถดำรงชีวิตอยู่ใต้ทะเลลึกขนาดนี้ได้ เพราะไม่มีถุงลม หรือกระเพาะปลา เพราะการพยายามรักษาแก๊สเป็นเรื่องยากมากในความลึกกว่า 8,000 เมตรใต้น้ำ เนื่องจากความดันจะมากกว่าที่ผิวน้ำถึง 800 เท่า โดยเวลาเข้าหาอาหาร พวกมันจะใช้การดูดอาหารเข้าไป และกินอาหารประเภทสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากในร่องลึก นอกจากนี้สเนลฟิชไม่มีเกล็ด แต่มีชั้นวุ้นเพื่อลดและต้านทานความดันที่สูง ซึ่งเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมสุดโหดใต้ทะเลลึก ทั้งนี้ สถิติเดิมที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้า คือ ปี 2017 ที่มีการค้นพบปลามาเรียนาสเนลฟิช (Mariana Snailfish) ในบริเวณร่องลึกมาเรียนา ที่ความลึก 8,178 เมตร https://mgronline.com/travel/detail/9660000031705
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
ปลามีชีวิตรอดในทะเลลึกระดับ "ขุมนรก" ได้อย่างไร ปริศนาของปลาทะเลลึกในจุดที่ดำมืด และอันตรายต่อชีวิตที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มาของภาพ,ALAMY นักวิทยาศาสตร์ค้นพบและบันทึกภาพปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเลลึกที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า ปลาปรับตัวให้อยู่ในความมืดมิดและสภาพแวดล้อมที่มีแรงดันสูง ได้อย่างไร เมื่อต้นเดือน เม.ย. 2023 นักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกภาพปลาฝูงหนึ่ง ว่ายอยู่ในน้ำทะเลถึงกว่า 8 กิโลเมตร (27,000 ฟุต) ทำลายสถิติการค้นพบปลาในระดับน้ำลึกที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบเห็น ปลาปริศนานี้เป็นสายพันธุ์ "สเนลฟิช" ประเภท (Genus) Pseudoliparis โดยกล้องอัตโนมัติบันทึกภาพมันได้ ขณะว่ายน้ำอยู่ที่ความลึก 8,336 เมตร (27,349 ฟุต) บริเวณร่องลึก อิซุ-โอกาซาวาระ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ปลาลึกที่สุดที่เคยค้นพบก่อนหน้านี้ คือ ปลา มารีอานา สเนลฟิช (Pseudoliparis swirei) ถูกพบที่ความลึก 8,178 เมตร (26,831 ฟุต) ในร่องลึกมารีอานา ระหว่างญี่ปุ่นกับปาปัวนิวกินี ส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทร รู้จักกันในชื่อ "ฮาดัลโซน" เป็นเขตน้ำลึกในระบบนิเวศ ที่ตั้งชื่อตามเทพเจ้ากรีก ผู้ปกครองขุมนรกเฮดีส ฮาดัลโซน อยู่ที่ระดับความลึก 6-11 กิโลเมตร (20,000-36,000 ฟุต) เป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับมนุษย์ มีสภาพมืดสนิท แสงอาทิตย์ส่งไม่ถึง ท่ามกลางแรงดันมหาศาล และอุณหภูมิที่หนาวจัด นักวิทยาศาสตร์เชื่อมานานว่า ชีวิตในความลึกของมหาสมุทรระดับนี้ เป็นไปไม่ได้ จากสภาพแวดล้อมที่อันตรายต่อการมีชีวิต แต่ทัศนคตินี้เปลี่ยนไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือในปี 1977 หลังทีมวิจัยสหรัฐฯ ทิ้งยานพาหนะควบคุมทางไกลลงไปที่ความลึก 2,440 เมตร ลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อถ่ายภาพปล่องน้ำร้อนใต้สมุทร หรือปรากฎการณ์ที่น้ำทะเลสัมผัสกับแมกมา แต่แล้วพวกเขากลับค้นพบว่า ใต้ทะเลลึกกลับเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต นับแต่ปี 1977 นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ค้นพบสปีชีส์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนถึง 600 สปีชีส์ อาศัยอยู่รอบปล่องน้ำพุร้อนใต้มหาสมุทรเหล่านี้ รวมถึง หอยทะเลเกราะเหล็ก (Chrysomallon squamiferum) ซึ่งเป็นหอยทากชนิดหนึ่ง ที่ห่อหุ้มด้วยเกราะเหล็ก รวมถึงปูชนิดใหม่ชื่อ "เดอะ ฮอฟฟ์" (Kiwa tyleri) ตั้งชื่อตามนักแสดงอเมริกัน เดวิด แฮสเซลฮอฟฟ์ เพราะมันมีขนบนหน้าอกหนา นักวิทยาศาสตร์ต่างตื่นตะลึงกับการค้นพบเหล่านี้ รวมถึงความสามารถของสปีชีส์น้ำลึก ที่สามารถเอาชีวิตรอดจากแรงดันมหาศาล น้ำอุณหภูมิเย็นจัด และความมืดสนิด ของฮาดัลโซน แอบบี แชปแมน นักวิจัย มหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (UCL) ที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รอบปล่องน้ำพุร้อน ยกตัวอย่างว่า ที่ความลึกของร่องลึกมารีอานา จะมีแรงดันถึง 1,086 บาร์ หรือเทียบง่าย ๆ เท่ากับมีช้าง 100 ตัวยืนอยู่บนศีรษะของคุณ แล้วสัตว์เหล่านี้ มีชีวิตรอดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุดโต่งเช่นนี้ได้อย่างไร คำอธิบายคือ สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในฮาดัลโซน ปรับตัวในระดับเซลล์ เพื่อให้พวกมันสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หนักหน่วงได้ สัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู ขนาดยักษ์ (giant amphipod) และ มารีอานา สเนลฟิช จะมีโมเลกุลธรรมชาติที่เรียกว่า "ไพโซไลตส์" (piezolytes) อยู่หนาแน่น (ตั้งชื่อจากภาษากรีกว่า "piezin" ที่แปลกว่า แรงดัน) เป็นโมเลกุลยับยั้งไม่ให้เซลล์เมมเบรน และโปรตีน ถูกบดขยี้จากแรงดันสูงมหาศาล โมเลกุลเหล่านี้ จะมีปฏิสัมพันธ์กับน้ำทะเล ทำให้โปรตีนภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีความยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อม แม้จะเป็นสภาพแวดล้อมที่สุดโต่งมากก็ตาม ทิม แชงค์ นักชีววิทยาทะเลลึก ของสถาบันวูดส์โอล โอเชียนโนกราฟิก ในรัฐแมสซาชูเซตส์ อธิบายว่า ?มันเหมือนตั้งท่อนไม้ไว้เพื่อกางเตนท์? นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งลีดส์ สรุปในการศึกษาเมื่อปี 2022 ว่า โมเลกุลไพโซไลตส์ใน trimethylamine N-oxide หรือ TMAO (สารโปรตีนที่พบมากในปลาทะเลน้ำลึก) ทำหน้าที่เหมือน ?จุดยึดเหนี่ยวภายในเครือข่ายน้ำ? ด้วยการสร้างไฮโดรเจนที่เข้มข้นเชื่อมโยงเข้ากับโมเลกุลน้ำ ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีศักยภาพต้านทานแรงดันได้จากภายในร่างกาย ปลาที่อาศัยอยู่ใกล้พื้วผิวทะเล จะมีกระเพาะปลา ซึ่งเป็นอวัยวะทำให้พวกมันลอยตัวโดยไม่จม หรือลอยขึ้นไปถึงพื้นผิวทะเลได้ แต่ปลาน้ำลึก ยกตัวอย่าง สเนลฟิช จะไม่มีกระเพาะปลา เพราะระดับแรงดันในทะเลน้ำตื้นกับน้ำลึก แตกต่างกันมาก ถ้าปลาทะเลลึกมีกระเพาะปลา แรงดันจากภายนอก จะทำให้กระเพาะรั่วได้ ใต้ทะเลลึก แสงอาทิตย์ส่องลงมาไม่ถึง ดังนั้น สัตว์ทะเลลึกจึงไม่สามารถสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กลายเป็นน้ำตาล เพื่อให้พลังงานแก่ตัวมันเองได้ แต่พวกมันจะใช้กระบวนการที่เรียกว่า สังเคราะห์เคมี เพื่อสร้างน้ำตาล โดยใช้พลังงานที่ปล่อยออกมาจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นรอบปล่องน้ำพุร้อนในพื้นมหาสมุทร "พวกมันอาศัยอยู่ได้ด้วยสารเคมีที่ถูกปล่อยออกมาจากพื้นทะเล" แชงค์ กล่าว ปลาทะเลลึกยังปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ออกซิเจนต่ำได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง ปลาถ้ำเม็กซิกัน ที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ และผลิตฮีโมโกลบินที่มีความเข้มข้นกว่า เพื่อนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้มากกว่าปลาที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นฟิวทะเล การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกเหล่านี้ ทำให้พวกมันมีชีวิตรอดอยู่ใต้มหาสมุทรลึกระดับ "ขุมนรก" ซึ่งถือเป็นสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ https://www.bbc.com/thai/articles/cyjrwmek4m8o
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|