เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 11-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 11 เมษายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ในขณะที่ลมใต้กำลังอ่อนที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 11 - 14 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 ? 16 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 11-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


'กำแพงกันคลื่น' ปราการใหญ่กั้นทะเลกับพื้นดิน ทำลายนิเวศ แวดล้อมไม่คุ้มงบ

'กำแพงกันคลื่น' แนวกันคลื่นเซาะชายฝั่งสูงใหญ่กั้นระหว่างทะเลและพื้นดิน ทุ่มงบประมาณมากมายแต่ทำลายนิเวศ แวดล้อม ความเป็นอยู่ หนักสุดคือช่วงยกเลิกทำ EIA ทำกำแพงซีเมนต์ผุดเหมือนดอกเห็ด



"กำแพงกันคลื่น" สิ่งปลูกสร้างริมชายฝั่งทะเลที่ดูเหมือนว่าจะเป็นป้อมปราการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นจำนวนมหาศาล แต่ในทางกลับกัน กำแพงกันคลื่นกลับแฝงไปด้วยผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อชาวบ้าน ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ผลกระทบด้านสาธารณสุข ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบอันสุดท้ายเราอาจจะคิดไม่ถึง

ในประเทศไทยมีแนวขายฝั่งทะเลยาวทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามันประมาณ รวม 3,148 กม. ซึ่งการก่อสร้าง "กำแพงกันคลื่น" อยู่ในความดูแลของกรมโยธาธิการและผังเมือง และยังมีที่เป็นแนวชายฝั่งที่อยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่าอีกจำนวนหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการประกาศยกเลิกการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปเมื่อปี 2556 พบว่ามีโครงการ "กำแพงกันคลื่น" ระบาดมากมาย และส่งผลกระทบอย่างมาก


8 ปีที่ผ่านมาที่ไม่มี EIA ผุด "กำแพงกันคลื่น" กว่า 100 โครงการงบพันล้าน

ข้อมูลจาก Beach for life ระบุว่า หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 รัฐบาลได้มีมติให้ยกเลิกการทำงาน EIA ในโครงการก่อสร้าง กำแพงกันคลื่น ช่วงเวลาดังกล่าวพบว่า มีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นจำนวนมาก "กำแพงกันคลื่น" เกิดขึ้น 125 โครงการทั่วทุกชายหาดในประเทศไทย ใช้งบประมาณในการดำเนินการรวม 8,400 พันล้านบาท โดยกรมโยธาธิการฯ ดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 107 โครงการระยะทาง 70 กม. ตลอดแนวชายฝั่ง งบประมาณ 6,600 ล้านบาท ส่วนของกรมเจ้าท่ามีทั้งหมด 18 โครงการ งบประมาณ 1,700 ล้านบาท

โดยการก่อสร้าง "กำแพงกันคลื่น" ทุก ๆ 1 กม.จะใช้งบประมาณราวๆ 100-200 ล้านบาท ส่วนใหญ่การก่อสร้างจะเป็นรูปแบบคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี หรือในทางภาคใต้จะมีการใช้หินขนาดใหญ่วางซ้อนทับกัน ซึ่งรูปแบบนี้จะใช้งบประมาณราว ๆ 80 ล้านบาทต่อกม. แต่ทั้งนี้กลับพบว่า บางจุดมีการก่อสร้าง กำแพงกันคลื่นเพื่อป้องกันถนนเพียงเส้นเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจะลักษณะงานก่อสร้างที่ไม่รู้จบหากมีการก่อสร้าง 1 เมตร ก็จะต้องก่อสร้างต่อไปเรื่อยๆ จนสุดทะเล


เทียบตัวเลขก่อนและหลังยกเลิก EIA สร้าง "กำแพงกันคลื่น"

ข้อมูลจาก Beach for life ระบุว่า ในปี 2552-2556 กำแพงกันคลื่น 2002 เมตรขึ้นไปต้องทำ EIA พบว่ามีการก่อสร้างโครงการขนาดต่ำกว่า 200 เมตร จำนวน 13 โครงการ มากกว่า 200 เมตรเพียง 3 โครงการ หลังจากนั้นในปี 2557-2566 เป็นระยะเวลาที่กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA พบว่า เกิดการระบาดของ กำแพงกันคลื่นจำนวน 125 โครงการ นอกจากนี้ยังพบว่างบประมาณในการทำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ระยะเวลากว่า 8 ปี กรมโยธาฯ ใช้งบประมาณมากถึง 1,365,697,000 บาท


"กำแพงกันคลื่น" ปราการสูงใหญ่ กระทบตั้งแต่ทะเลยันบนบก

นายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach for life ให้ข้อมูลกับ คมชัดลึก ว่า ที่ผ่านมามีการก่อสร้าง กำแพงกันคลื่น เพื่อกั้นการกัดเซาะระหว่างทะเลและพื้นดินจำนวนมาก ซึ่งการก่อสร้างในลักษณะดังกล่าวเราพบว่า บางจุดไม่ได้มีการกัดเซาะจนกระทบต่อความเป็นอยู่ แต่กลับมีการทำแนวกันคลื่นจนกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน การท่องเที่ยว รวมถึงระบบนิเวศของชายทะเล

อย่างไรก็ตามพบว่า กำแพงกันคลื่นส่งผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยจากข้อมูลระบุว่าชายหาดจะมีความกว้างประมาณ 35 เมตร ขนาดของกำแพงกันคลื่นอยู่ที่ 22 เมตร เท่ากับว่าหากมีการก่อสร้างจะทำให้ชายหาดเหลือพื้นที่เพียงแค่ 10 เมตรเท่านั้น หรือบางจุดไม่เหลือชายหาดเลย เช่น ในพื้นที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากก่อสร้างแนวกันคลื่นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านระบบนิเวศน์ เศรษฐกิจ ท่องเที่ยง นอกจากนี้การทำแนวกันคลื่นยังเป็นการรุกรานบริเวณหากินของสัตว์ทะเลบางประเภท เช่น กุ้งเคย

ไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจาก กำแพงกันคลื่นแต่พบว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา โครงการก่อสร้างแนวกันคลื่นยังสร้างความแตกแยก และความขัดแย้งให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย

นายอภิศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า มีประชาชนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างดังกล่าว เช่น บริเวณหาดแม่รำพึง ที่เกิดคววามขัดแย้งในชุมชนอย่างมาก เพราะชาวบ้านในพื้นที่มีความเห็นว่า การก่อสร้าง กำแพงแนวกันคลื่น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด อีกทั้งยังทำลายความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพราะไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านของหน่วยงานที่ดูแล

อีกหนึ่งปัญหาที่หนักไม่แพ้กัน คือ หลายครั้งที่พบว่ามีประชาชนจำนวนมากได้รับบาดเจ็บ จากกรณีที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนว่า มีเพียงไม่กี่เคสที่ไปถึงระบบสาธารณสุข เเต่เชื่อว่ามีเคสอีกมากมาย เช่น ล้มถลอก ล้มขาพลิก ฯลฯ ที่ไม่ไม่ไปหาหมอ อย่างกรณีชะอำ มีเคสล้มเเล้วเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยกว่า 100 ครั้ง จากที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการมา ในอนาคตหากปล่อยไว้ก็จะกระทบต่อระบบสาธารณสุขได้เช่นกัน


ข้อเรียกร้องจาก Beach for life เสียงเตือนล่าสุดให้รัฐรับผิดชอบ

กรมโยธาฯ ต้องทบทวนแนวทางในการป้องกันชายฝั่ง และเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของกรมโยธาธิการที่ต้องดำเนินการ เพื่อไม่ให้เป็นที่ครหาว่ากรมโยธาฯ เป็นกรมที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมและสารทุกข์สุขของประชาชน จึงขอเรียกร้องไปยังกรมโยธาฯ ดังนี้

1. กรมโยธาฯ ต้องยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เเละเเสดงรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันเป็นผลสืบเนื่องจากโครงการของกรมโยธาฯ รวมถึงผลกระทบในมิติอื่น ที่เกิดขึ้นจากการที่กรมโยธาฯ ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดให้กลายสภาพเป็นกำแพงกันคลื่น

2. กรมโยธาฯ ต้องเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับอุบัติเหตุจากการดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการอย่างเป็นธรรม และครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกมิติโดยไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ

3.กรมโยธาฯ ต้องมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายซ้ำรอยกรณีดังกล่าวนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ชายหาด

4.กรมโยธาฯ ต้องปรับรูปแบบโครงการหรือแสวงหามาตรการเพื่อลดผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของกรมโยธาฯ

5.กรมโยธาฯ ต้องไม่ผลักภาระความรับผิดชอบโดยการส่งมอบโครงการให้กับท้องถิ่นรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากบางท้องถิ่นนั้น มิอาจมีศักยภาพ งบประมาณ บุคลากร หรือ ความรู้ในการบริหารจัดการโครงสร้างที่กรมโยธาธิการก่อสร้างไว้ได้แต่เพียงฝ่ายเดียว

"อย่างไรก็ตามเราคาดหวังว่ากรมโยธาฯ จะนำเอาเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ชายหาด เป็นบทเรียนตอกย้ำความล้มเหลวในการดูแลโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และตระหนักถึงผลกระทบของกำแพงกันคลื่นในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การแสวงหาแนวทางในการป้องกันชายฝั่งที่จะสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และคงรักษาสภาพแวดล้อมชายหาดไว้ มากกว่าการป้องกันด้วยแนวคิดวิศวกรรมที่มุ่งเน้นความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างชายฝั่ง โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิต สวัสดิภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อมดังเดิม" นายอภิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย


https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/546579

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 11-04-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


"กรุงเทพเสี่ยงจมใน 50 ปี ผลจากโลกร้อน" ผลวิเคราะห์คณะวิทย์ฯ มธ.



"ไม่แนะให้ย้ายเมืองหลวง เสนอปรับผังเมืองแทนด้วย 3 มาตรการ คือลดพื้นที่ชั้น 1 เพิ่มทางเดินลอยฟ้า เสริมแนวคันกั้นน้ำ" บทวิเคราะห์ล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.

นอกจากนี้ยังเสนอ "ปลูกป่าชายเลน แก้การกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดชายทะเล" และ "จัดการฝุ่นระยะยาวด้วย ชุมชนปลอดเผา-ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์"


3 ปัจจัยทำให้ กทม. เสี่ยง

"จากบทวิเคราะห์ผลกระทบจากภาวะโลกรวน (Climate Change) กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในมหานครที่มีความเสี่ยงจมบาดาลภายใน 50 ปี ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจาก 3 ปัจจัย คือ 1. การทรุดตัวของชั้นดินเฉลี่ย 2 ? 3 เซนติเมตรต่อปี 2. น้ำทะเลหนุน 3. การสูญเสียน้ำใต้ดินจากการใช้น้ำบาดาลในอดีต? ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) กล่าว จากการเปิดเผยขของประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. วันนี้ (10 เม.ย. 2566)

"นอกจาก กทม. แล้ว ยังพบว่าเมืองหลวงหรือมหานครหลายแห่งของประเทศต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน อาทิ อินโดนีเซีย, ไนจีเรีย, รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา, รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา, รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา, รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา, บังคลาเทศ, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, อิยิปต์

ซึ่งส่วนใหญ่มีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ติดทะเล มีลักษณะเป็นเมืองท่า ที่มีความสำคัญง่ายต่อการเดินทางสัญจร การติดต่อค้าขายตั้งแต่อดีต ที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน และเป็นปัญหาที่หลายประเทศเร่งหาทางออก ซึ่งบางประเทศได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวง อาทิ อินโดนีเซีย" ผศ.ดร.ไตรเทพ อธิบาย


ไม่แนะย้ายเมืองหลวง ? 3 ข้อเสนอปรับผังเมือง

"จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลรุกคืบจาก ภาวะโลกรวน (Climate Change) และ 3 ปัจจัยเสี่ยงของมหานครที่เป็นเมืองท่าติดทะเล พบว่า การย้ายมหานครควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากกระทบต่อประชาชนที่ต้องเคลื่อนย้าย และใช้งบประมาณที่สูงมากกับการจัดผังเมืองเมือง สร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค

คณะวิทย์ มธ. มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ 'ปรับผังเมือง' โดยยึดหลักไม่ 'ทุบ รื้อ ถอน' ซึ่งเน้นการปรับฟังก์ชั่นการใช้งานประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่

1. การลดพื้นที่อเนกประสงค์บริเวณชั้น 1 โดยใช้งานตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป เพื่อลดผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมฉับพลัน

2. การเพิ่มทางเดินลอยฟ้า (Sky walk) ที่เชื่อมจากอาคารออฟฟิศ เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโดยไม่ต้องเดินลุยน้ำ ซึ่งมีต้นทุนไม่สูงมากถ้าเทียบกับการรื้อผังเมืองเพื่อสร้างใหม่หรือการย้ายมหานคร

3. การเสริมแนวคันกั้นน้ำประสิทธิภาพสูง ไม่มีร่องฟันหลอตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา" คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผย


"ปลูกป่าชายเลน" ข้อเสนอแก้การกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดชายทะเล

"ปัญหาของกลุ่มจังหวัดที่เป็นพื้นที่รอยต่อชายทะเลของภาคกลาง อาทิ กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ที่เริ่มเห็นผลกระทบจากการรุกคืบของน้ำทะเล และการกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้สูญเสียพื้นที่บกตามแนวชายฝั่งไป ซึ่งการการลงพื้นที่พบว่าแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่าง 'ป่าชายเลน' มีไม่มากพอที่จะทำหน้าที่ชะลอความแรงของคลื่น และเพิ่มการตกตะกอน จนนำไปสู่การเกิดแผ่นดินงอกใหม่ได้

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง แต่จากการศึกษาในพื้นที่พบว่า เมื่อจบขั้นตอนการปลูกแล้ว ไม่มีการดูแลติดตามผล ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ปัญหาการระบายน้ำ และของเสียภายในแปลงปลูก เนื่องจากบริเวณป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยโคลนและตะกอน เมื่อสะสมเป็นเวลานานโดยไม่มีการไหลเวียนของน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ในปริมาณมาก ดินตะกอนเกิดการเน่าเสีย จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ที่ปลูก และทำให้กล้าไม้ตายในที่สุด

จากการศึกษายังพบว่า มีการใช้แปลงปลูกป่าชายเลนหลายแห่ง เพื่อปลูกเวียน ปลูกซ้ำ ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าชายเลยไม่ได้เพิ่มขึ้น และในทางกลับกัน บริเวณชายฝั่งถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นทุกปี

คณะวิทย์ มธ. มีคำแนะนำสำหรับการปลูกป่าชายเลน คือ ต้องสร้างความตระหนักรู้กับประชาชนว่า เมื่อปลูกแล้วต้องติดตามการเติบโต หมั่นดูแลการไหวเวียนของน้ำ และระบบนิเวศแปลงปลูก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรทำต่อเนื่อง และวัดผลจากพื้นที่ป่าชายเลนที่เพิ่มขึ้น แทนการวัดด้วยจำนวนต้นที่ปลูกใหม่ โดยแนะนำให้เสริมกิจกรรมการปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น เพื่อเพิ่มเกราะป้องกันแนวป่าชายเลนที่ปลูกใหม่ ซึ่งทั้งการปลูกป่าชายเลนที่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และการเสริมแนวไม้ไผ่กันคลื่นก่อนปะทะแนวป่าปลูกใหม่ จะช่วยลดผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่ง และลดความเสี่ยงน้ำทะเลหนุนของ กทม. และจังหวัดที่มีติดชายฝั่งทะเลได้อีกทางหนึ่ง" คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผย


"ชุมชนปลอดเผา-ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" ข้อเสนอจัดการฝุ่น PM

"ที่มาของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 ว่า ส่วนใหญ่เกิดจาก 'การเผาของภาคเกษตรกรรม' และรองลงมาคือ 'ไฟป่า' และเสนอไอเดียสำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว โดยการเพิ่มแรงจูงใจเพื่อหยุดการเผา ที่ช่วยลด Hot Spot อย่างยั่งยืน และไม่ควรหนุนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าปีต่อปี

แนวทางเพื่อคืนสุขภาพปอดที่ดีให้แก่คนไทย 2 แนวทาง ดังนี้

1. เพิ่มรางวัลจูงใจแก่ชุมชนที่ปลอดการเผา 100 เปอร์เซ็นต์ อาทิ ให้งบประมาณอุดหนุนการซื้อปุ๋ยในราคาพิเศษ, คูปองส่วนลดน้ำมันกลุ่มดีเซลสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ควบคู่กับการลงโทษด้วยการจับปรับ ที่มีกระบวนการที่ล่าช้า และมีประสิทธิภาพน้อยกว่า

2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ อาทิ พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 'ดอยหลวงเชียงดาว' ที่มีแนวทางบริการจัดการที่น่ายกย่องให้เป็นแบบอย่างของวิถีชุมชนกับป่าและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ เน้นสร้างการมีส่วนร่วม ให้คนในชมชนร่วมเป็นเจ้าของ ตั้งกำลังคนในชุนชนทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการทำแนวกันไฟอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มพื้นที่ชุ่มน้ำ ไม่ทำลายทรัพยากร และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จนกลายเป็นพื้นที่ป่าต้นแบบ ที่ไม่มี 'ไฟป่า' เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายปี ซึ่งทำให้ชุมชนสามารถต่อรองเพื่อของบประมาณเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว จนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน" คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผย


https://greennews.agency/?p=34216

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger