#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด และระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 13 - 14 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17 ? 19 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 16 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (105/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15 ? 16 เมษายน 2566) ในช่วงวันที่ 15 - 16 เมษายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 15 เมษายน 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด วันที่ 16 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อินโดนีเซียมึน วาฬยักษ์เกยตื้นตายหาดบาหลี 3 ตัวใน 2 สัปดาห์ อินโดนีเซียพบวาฬขนาดใหญ่มาเกยตื้นตายบนเกาะบาหลีถึง 3 ตัวนับตั้งแต่เข้าสู่เดือนเมษายน และจนถึงตอนนี้พวกเขายังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ เจ้าหน้าที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของอินโดนีเซีย เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมาว่า วาฬหัวทุย (sperm whale) ความยาวถึง 17 เมตรตัวหนึ่ง ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบนชายหาด เยห์ เลห์ (Yeh Leh) ในเขตเจมบรานา (Jembrana) ทางตะวันตกของเกาะบาหลี เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พยายามช่วยเหลือแต่ไม่สำเร็จ นายเปอร์มานา ยูดิอาร์โซ หัวหน้ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบอกกับสำนักข่าว เอเอฟพี ว่า เจ้าหน้าที่พยายามดึงซากวาฬขึ้นมาบนชายฝั่ง เพื่อให้ง่ายต่อการชันสูตรศพ และจะฝังซากวาฬเมื่อการตรวจได้ข้อสรุป นี่นับเป็นวาฬตัวที่ 3 ที่เกยตื้นตายบนชายหายเกาะบาหลีนับตั้งแต่เข้าสู่เดือนเมษายน โดยเมื่อวันพุธก่อนหน้านั้น (5 เม.ย.) มีวาฬหัวทุยเพศผู้อีกตัว ความยาวถึง 18 เมตร มาเกยตื้นที่หาดในเขตกลุงกุง (Klungkung) ทางตะวันออกของเกาะบาหลี เจ้าหน้าที่ผลักดันมันกลับลงทะเลสำเร็จครั้งหนึ่ง แต่ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา มันก็กลับมาเกยตื้นอีก และตายลงในที่สุด และเมื่อวันที่ 1 เม.ย. วาฬบรูด้า (Bryde's whale) น้ำหนักมากกว่า 2 ตัน ความยาวอย่างต่ำ 11 เมตร ถูกพบเกยตื้นที่หาดในเขตทาบารัน ตอนกลางเกาะบาหลี โดยซากศพของมันเริ่มเน่าเปื่อยในตอนที่ชาวบ้านไปพบ ทั้งนี้ นายยูดิอาร์โซ ระบุว่า พวกเขาพบบาดแผลในตัวของวาฬหัวทุยตัวล่าสุด พวกเขาจึงพยายามหาสาเหตุว่ามันเกิดจากอะไร "เราช็อกมากกับปรากฏการณ์เมื่อไม่นานมานี้ ที่วาฬหัวทุยขนาดใหญ่ 2 ตัวเกยตื้นที่ชายหาดทางตอนใต้ของเกาะบาหลี เรากำลังหาคำตอบของปรากฏการณ์นี้ด้วยการชันสูตรพลักศพ" นายยูดิอาร์โซกล่าวอีกว่า ในทางทฤษฎีแล้ว มีหลายปัจจัยที่ทำให้วาฬหัวทุยว่ายน้ำมาเกยตื้น ปัจจัยแรกคือ นอกจากการเจ็บป่วยแล้ว มันอาจเกิดจากมลภาวะทางเสียง เช่นคลื่นโซนาร์, แสงไฟ หรือการสั่นไหวที่เกิดจากเรือ นอกจากนั้น ทะเลยังอาจปนเปื้อนด้วยขยะพลาสติก หรือวัตถุเคมีอื่นๆ อนึ่งเมื่อปี 2561 อินโดนีเซียพบซากวาฬหัวทุยเกยตื้นตาย แต่ที่น่าตกใจคือ ในท้องของมันมีถ้วยพลาสติกมากกว่า 100 ถ้วย และถุงพลาสติกอีก 25 ถุง จนทำให้เกิดกระแสความกังวลเรื่องปัญหาการทิ้งขยะลงทะเลของอินโดนีเซีย ซึ่งสร้างขยะในทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน ส่วนปัจจัยที่ 2 อาจเกิดจากแผ่นดินไหว เพราะเมื่อไม่นานมานี้เราตรวจพบแผ่นดินไหวหลายครั้ง บ้างแรงสั่นสะเทือนต่ำกว่า 5 แมกนิจูด และบ้างแรงกว่านั้น มันเกิดขึ้นที่เกาะบาหลี, เกาะชวา, เกาะนูซา เต็งการา ตะวันออก และนูซา เต็งการา ตะวันตก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2679201
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|