#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17 ? 22 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับในช่วงวันที่ 17 ? 22 เม.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ****************************************************************************************************** พยากรณ์อากาศเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 16 - 17 เมษายน พ.ศ. 2566 ในวันที่ 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 17 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
การเพิ่มของระดับน้ำทะเล คุกคามแม้แต่ประเทศที่มีความพร้อมมากที่สุด เนเธอร์แลนด์ซึ่งมีพื้นที่กว่าหนึ่งในสี่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะปกป้องตนเองจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ถึงแม้จะเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อนาคตก็ยังไม่แน่นอน เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็นไปได้หลายอย่างอาจเกิดขึ้นหลังปี 2593 ตามรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำอาจทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร (1.6 ฟุต) จากระดับปัจจุบันภายในปี 2100 สถานการณ์การปล่อยมลพิษที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้น 2 เมตร (6.6 ฟุต) ในปี 2100 และเพิ่มขึ้น 5 เมตร (16.4 ฟุต) ในปี 2150 ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับมือกับภัยคุกคามจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างจริงจังมากขึ้น และความท้าทายด้านวิศวกรรม การขาดความตระหนักและการศึกษา ความกังวลทางสังคมวัฒนธรรม และข้อจำกัดทางการเงินกำลังขัดขวางการเตรียมการ แต่เมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 Scheveningen ดูแตกต่างไปจากเดิมมากเมื่อพายุยูนีสพัดถล่มแนวชายฝั่งด้วยลมความเร็วสูงและคลื่นที่รุนแรง "ทะเลน่าทึ่งมาก มันดุร้ายและดุร้ายแค่ไหน" โอไบดุลลาห์กล่าว เดินเร็วๆ เหนือชายหาด กล่าว โดยสวมหมวกบีนนี่ของกรีนพีซแก่ที่ม้วนผมเป็นลอน "ตอนนั้นคงไม่อยากออกไปใกล้ทะเลหรอก แต่ฉันเดินออกมาข้างนอกหลังจากเหตุการณ์ของยูนิซ และทรายก็เข้าท่วมถนนและบาร์ริมหาด" พายุยูนิซพัดถล่มเนเธอร์แลนด์ด้วยลมแรงถึง 128 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) และระดับน้ำทะเลสูงถึง 2.2 เมตร (7.2 ฟุต) เหนือความสูงปกติ สร้างความเสียหายให้กับอาคาร ต้นไม้โค่นล้ม และคร่าชีวิตผู้คนไปสามคน แต่ในขณะที่ทรายพัดข้ามชายฝั่ง กระแสน้ำและคลื่นพายุไม่เคยไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง Scheveningen การแทรกแซงเมื่อสองสามทศวรรษที่แล้วที่คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงเช่นนี้ ในปี 2546 ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าแนวชายฝั่ง Scheveningen เป็นหนึ่งใน "จุดอ่อน" ในการป้องกันชายฝั่งของเนเธอร์แลนด์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความตระหนักนี้นำไปสู่โครงการบูรณะมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์เพื่อปกป้องเชเวนนิงเงนและส่วนที่เหลือของกรุงเฮก ซึ่งเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยกว่าครึ่งล้านคนซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ (แม้ว่าจะไม่ใช่เมืองหลวง) และศาลระหว่างประเทศของสหประชาชาติ แห่งความยุติธรรมและเป็นที่ตั้งของราชวงศ์ การแก้ไขรวมถึงการเพิ่มเขื่อนของ Scheveningen เป็น 10 ม. (33 ฟุต) เหนือ NAP สำหรับ Normaal Amsterdams Peil ซึ่งหมายถึงระดับน้ำปกติในอัมสเตอร์ดัม NAP เป็นพื้นฐานในการวัดระดับน้ำทะเลทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีค่าโดยประมาณเท่ากับระดับเฉลี่ยของทะเลเหนือ นอกจากนี้ คนงานได้ติดตั้งทรายที่ขุดไว้บนชายหาดเกือบ 2.4 ล้านลูกบาศก์เมตร (85 ล้านลูกบาศก์ฟุต) เพื่อดันมหาสมุทรถอยห่างจากชายฝั่ง 50 ม. (164 ฟุต) และยกสันทรายขึ้น 4.5 ม. (15 ฟุต) เหนือ NAP เป็นเวลาประมาณ 6,000 ปีที่ระดับน้ำทะเลส่วนใหญ่คงที่ ทำให้มนุษย์สามารถตั้งชุมชนชายฝั่งทั่วโลกได้ แต่เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ ธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งจึงละลาย ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลลงสู่มหาสมุทร การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าน้ำแข็งอาร์กติกละลายเพียงอย่างเดียวปล่อยน้ำประมาณ 14,000 ตันทุก ๆ วินาทีของทุกวัน แม้ว่าน้ำแข็งที่ละลายนี้จะยกระดับขึ้นทุกที่ แต่จะไม่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน ประเทศที่อยู่ห่างจากแผ่นน้ำแข็งละลายของกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาในที่สุดจะเห็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสูงสุดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรและแรงโน้มถ่วงของโลก นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นแล้ว 21-24 เซนติเมตร (8-9 นิ้ว) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 และอัตราดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) พบว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 1 ซม. (0.4 นิ้ว) ระหว่างเดือนมกราคม 2020 ถึง 2022 สร้างสถิติใหม่ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะแน่ใจว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่พวกเขาไม่ค่อยแน่ใจนักว่าจะเกิดขึ้นเร็วแค่ไหนและระดับน้ำทะเลจะถึงจุดที่กำหนดเมื่อใด "มีสถานการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันมาก" เฟอร์ดินานด์ ไดร์มันเซ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่ Deltares ซึ่งเป็นสถาบันในเนเธอร์แลนด์ที่มุ่งเน้นการวิจัยเกี่ยวกับน้ำและใต้ผิวดิน "ก่อนอื่น พวกเราในฐานะมนุษย์จะทำอะไร? จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จริงหรือไม่ และสภาพอากาศจะตอบสนองต่อสิ่งนั้นอย่างไร คาดว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่แน่นอนว่าจะเป็นเท่าใด ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แผ่นน้ำแข็งโดยเฉพาะในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จะตอบสนองอย่างไร" จากรายงานปี 2021 จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ สถานการณ์ที่ปล่อยมลพิษต่ำอาจทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร (1.6 ฟุต) เหนือระดับปัจจุบันภายในปี 2100 ในขณะที่สถานการณ์ที่ปล่อยมลพิษสูงกว่าอาจนำไปสู่ สูงขึ้น 2 ม. (6.6 ฟุต) ภายในปี 2150 ระดับน้ำทะเลอาจสูงกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ 5 ม. (16.4 ฟุต) อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ อธิบายเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นตัวคูณภัยคุกคามที่อาจนำไปสู่การ "อพยพจำนวนมากของประชากรทั้งหมดในระดับพระคัมภีร์" และเพิ่มการแข่งขันเพื่อน้ำจืด ที่ดิน และทรัพยากรอื่น ๆ หากสังคมไม่เร่งด่วน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำที่สุดในโลก ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องเผชิญความท้าทายมากมายหากระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มสูงขึ้น แต่ขณะนี้ประเทศดูมีความพร้อม ท้ายที่สุดแล้ว ชาวดัตช์ใช้ชีวิตท่ามกลางภัยคุกคามจากน้ำท่วมมาเป็นเวลานาน และมีประสบการณ์หลายศตวรรษในการต่อสู้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ทะเยอทะยาน https://www.bangkokbiznews.com/environment/1062241
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ทำไมฤดูร้อนของไทยอากาศร้อนจนแทบอยู่ไม่ได้ ? ................. โดย ธารา บัวคำศรี ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนเป็นธรรมดา นี่เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดินไปหน่อย และหากจะตอบว่าเป็นเพราะโลกร้อนขึ้นอาจจะเหมารวม (oversimplify) ไปนิด เรื่องนี้เราต้องพิจารณาในทางเวลาหลายระดับ อุณหภูมิรายวัน ในช่วงฤดูร้อนของไทย อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันอาจทะลุไปมากกว่า 40 องศา ดังที่เราเคยประสบ ประเทศไทยเจออากาศร้อนสูงขึ้น 12 องศาเซลเซียส มากกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีการทำลายสถิติอุณหภูมิรายวันมากกว่า 50 ครั้ง จากข้อมูลที่ประมวลจากภาพถ่ายจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 ข้อมูลที่บันทึกโดยกรมอุตนิยมวิทยาระหว่างปี 2494-2565 จังหวัดแม่ฮ่องสอนทุบสถิติอากาศร้อนสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียสในวันที่ 28 เมษายน 2559 [1] แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกร้อนมากน้อย ไม่ใช่เป็นตัวเลขอุณหภูมิล้วนๆ แต่คือสิ่งที่เรียกว่า "ดัชนีความร้อน(Heat Index)" คิดจากอุณหภูมิอากาศ(Air Temperature) และเปอร์เซ็นต์ของความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity%) กล่าวง่ายๆ คือเป็นอุณหภูมิที่เรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิอากาศจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเจออุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียสในวันนั้นที่แม่ฮ่องสอน และมีความชื้นสัมพัทธ์ 15% เราจะรู้สึกร้อนประมาณนั้นซึ่งจริงๆ แล้วก็เกินระดับเฝ้าระวัง ทำให้เราอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวได้ [2] แต่เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ขึ้นเป็น 35% ในอุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส ดัชนีความร้อน(ซึ่งไม่มีหน่วย) จะกลายเป็น 54 ที่ทำให้เราเป็นภาวะลมแดด(heat stroke) ในทันที อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี เราสามารถสัมผัสกับอากาศร้อนที่อาจสูงถึง 40?C ในปี 2559 ประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 65 ปี เรารับรู้ถึงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและจากสภาพอากาศสุดขั้ว ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [3] ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทยในทศวรรษล่าสุด (ปี ค.ศ.2020 ? เส้นสีแดง) เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนระหว่างทศวรรษ 1951-1980 (เส้นสีดำและแถบสีเทา)เกือบตลอดทั้งปี เดือนที่ร้อนที่สุดคือเมษายนโดยมีค่าเฉลี่ย 30.6 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562) เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดคือธันวาคมโดยมีค่าเฉลี่ย 23.8 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562 และ 2563) อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยระยะยาวของไทย ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [4] ที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ พ.ศ.2383 (ช่วงรัชกาลที่ 3 ปีที่ 59 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นต้นมา อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส มากกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่ 1.3 องศาเซลเซียส ทำไมเราต้องแคร์การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 1 หรือ 2 องศาเซลเซียส เพราะการผกผันของอุณหภูมิในแต่ละวันของพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ก็มากกว่านั้นอยู่แล้ว คำตอบคือ การบันทึกอุณหภูมิพื้นผิวโลกนั้นแทนค่าเฉลี่ยของพื้นผิวทั้งหมด อุณหภูมิที่เราเจอในพื้นที่และในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นผันผวนขึ้นลงอย่างมากเนื่องจากเหตุการณ์ที่เป็นวัฐจักรซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ (กลางคืนและกลางวัน ฤดูร้อนและฤดูหนาว) แบบแผนของกระแสลมและการตกของฝน/หิมะ/ลูกเห็บ/น้ำค้างที่คาดการณ์ยาก แต่อุณหภูมิผิวโลกขึ้นอยู่ปริมาณพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์และพลังงานที่แผ่กลับออกไปนอกโลก ซึ่งขึ้นอยู่องค์ประกอบของสารเคมีในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซเรือนกระจกที่มีคุณสมบัติกักเก็บความร้อน อุณหภูมิผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาองศาเซลเซียส จึงมีนัยสำคัญยิ่งเนื่องจากต้องใช้ความร้อนมหาศาลในการทำให้มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศและผืนแผ่นดินร้อนขึ้น(ที่ 1 องศาเซลเซียส) ในทางตรงกันข้าม การลดลงของอุณหภูมิผิวโลกเพียง 1 หรือ 2 องศา ในอดีตสามารถทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง (Little Ice Age) การลดลงของอุณหภูมิผิวโลก 5 องศา เพียงพอที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนืออยู่ใต้มวลน้ำแข็งหนาเมื่อ 20,000 ปีก่อน ดังนั้น "โลกร้อน" จึงมิได้หมายถึงอุณหภูมิทุกจุดบนพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศา อุณหภูมิในปีหนึ่งๆ หรือในทศวรรษหนึ่งๆ อาจเพิ่มขึ้น 5 องศาในที่หนึ่ง และลดลง 2 องศาในอีกที่หนึ่ง ฤดูหนาวที่เย็นผิดปกติในภูมิภาคหนึ่งอาจตามมาด้วยฤดูร้อนรุนแรงในเวลาต่อมา หรือฤดูหนาวที่เย็นยะเยือกในที่หนึ่งอาจถ่วงดุลด้วยฤดูหนาวที่อุ่นขึ้นอย่างผิดปกติในอีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก โดยรวม ผืนแผ่นดินจะร้อนขึ้นมากกว่าพื้นผิวมหาสมุทร เนื่องจากมวลน้ำจะค่อยๆ ดูดซับความร้อนและค่อยๆ คายความร้อนออก (มหาสมุทรโลกมีความเฉี่อยทางความร้อนมากกว่าผืนแผ่นดิน) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกจึงแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคพื้นทวีปและแอ่งมหาสมุทร กลับมาที่ประเทศไทย เมื่อใช้แถบสี(Climate Stripe) [5] ด้านล่าง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวระยะยาวในประเทศไทยซึ่งชี้ชัดถึงหน้าตาของภาวะโลกร้อนที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี Berkeley Earth ยังได้ใช้แบบจำลองคาดการณ์อนาคตซึ่งหากไม่มีการลงมือทำอย่างจริงจังของประชาคมโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนถึง พ.ศ.2643 อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 2.5-5.5 องศาเซลเซียส โดยมีค่ากลางที่ 3.8 องศาเซลเซียส ฉากทัศน์วิกฤตความร้อนในประเทศไทย เป็นเวลาหลายพันปีที่เผ่าพันธุ์มนุษย์วิวัฒนาการในพื้นที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปี (Mean Annual Temperature) ระหว่าง 11-15 องศาเซลเซียส โดยเป็นลักษณะของสภาพอากาศของโลกในช่วงแคบๆ แท้ที่จริงแล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่านี้มาก และต้องรับมือกับอุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนที่ท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์ จากการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นความร้อนของไทยในปี 2561 แม้แต่คลื่นความร้อนที่มีกำลังน้อยถึงปานกลางก็สามารถสร้างความเสียหายได้ นอกจากความเครียดจากความร้อนโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงเครื่องปรับอากาศ ยังเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ โรคปอดบวม และโรคติดเชื้ออื่นๆ ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 [6] คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปี 2613 จะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุด ณ ปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี พื้นที่ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ในประเทศไทยทั้งหมดจะต้องเผชิญกับช่วงความร้อนสูงที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อะไรคือมาตรการรับมือในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศต้องขยายตัวมากขึ้น เครือข่ายระบบเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่พอที่จะปกป้องประชากรส่วนใหญ่จะเป็นคำตอบหรือไม่ รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายไม่มีทางเลือกนอกจากพิจารณาถึงแผนการรับมือและปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้งยาวนาน อุทกภัย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เป็นต้น สิ่งสำคัญคือลงมือกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศบนรากฐานของความเป็นธรรมทางสังคม https://www.greenpeace.org/thailand/...mmer-thailand/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรทั่วโลกร้อนพุ่งทำลายสถิติ ข้อมูลล่าสุดว่าด้วยค่าความร้อนเฉลี่ยที่ผิวน้ำทะเล ซึ่งมีการสำรวจและบันทึกด้วยดาวเทียมมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เผยว่าอุณหภูมิของมวลน้ำด้านบนในมหาสมุทรทั่วโลกได้พุ่งสูงขึ้นอีก จนถึงขั้นทำลายสถิติที่เคยบันทึกไว้ทั้งหมดแล้ว เว็บไซต์ข้อมูลสภาพอากาศ ClimateReanalyzer.org ระบุว่าตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนหรือเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรทั่วโลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับทำลายสถิติที่ 21.10 องศาเซลเซียส (69.98 องศาฟาเรนไฮต์) ล้มแชมป์เก่าซึ่งเป็นข้อมูลจากเดือนมี.ค. 2016 ซึ่งวัดระดับอุณหภูมิผิวน้ำสูงสุดได้โดยเฉลี่ยที่ 21.00 องศาเซลเซียส สถิติสูงสุดของปีนี้และสถิติเดิมจากเดือนมี.ค. 2016 ต่างก็ร้อนแรงกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1982-2011 อยู่มากกว่า 1 องศาเซลเซียส ไมเคิล แม็กแฟเดน นักสมุทรศาสตร์จากองค์การบริหารกิจการมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศหรือโนอา (NOAA) ของสหรัฐฯ ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้ผิวน้ำในมหาสมุทรร้อนขึ้นเรื่อย ๆ นั้น มีอยู่สองประการด้วยกัน หนึ่งคือภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ขึ้นไปสะสมตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ส่วนสาเหตุประการที่สองนั้น ได้แก่การสิ้นสุดของปรากฏการณ์ลานีญา 3 ปีซ้อน เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ไม่มีสภาพอากาศหนาวเย็นและฝนตกชุกในแถบแปซิฟิก มาคอยทำหน้าที่ลดระดับอุณหภูมิบริเวณผิวน้ำทะเลลง ขณะนี้ภูมิอากาศในแถบแปซิฟิกอยู่ในช่วงที่ "เป็นกลาง" ระหว่างปรากฏการณ์เอลนีโญกับลานีญา แต่มีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงถึง 60% ว่ากำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาวะร้อนจัดและแห้งแล้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีความรุนแรงกว่าปกติในปีนี้ แม็กแฟเดนมองว่า หากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ร้อนและแล้งจัดเกิดขึ้นจริง นั่นจะยิ่งทำให้อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นไปอีก จนสถิติที่ถูกทำลายลงในปีนี้จะถูกล้มแชมป์อีกอย่างแน่นอนในปี 2024 ก่อนหน้านี้เคยมีผลวิจัยที่ทำนายว่า สภาพอากาศแบบสุดขั้วอย่างเช่นปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา จะเกิดขึ้นบ่อยถี่ยิ่งกว่าเดิมและมีความรุนแรงสูงกว่าปกติถึง 2 เท่า ภายในช่วงสิ้นสุดศตวรรษนี้ อุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือการเกิดคลื่นความร้อนในมหาสมุทร ทำให้สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลหลายชนิดพันธุ์ไม่อาจทานทนได้ ตัวอย่างเช่นการเกิดปะการังฟอกขาว ซึ่งส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อแหล่งอาหารและสถานที่อนุบาลลูกอ่อนของเหล่าสัตว์น้ำ https://www.bbc.com/thai/articles/c6plym805d2o
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|