#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยอันดามัน ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นดีเปรสชั่น และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าอ่าวเบงกอลตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ้มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งดังกล่าว ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้นและการระบายอากาศดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 15 พ.ค. 66 ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 15 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วน คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 14 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งดังกล่าว ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 8 (137/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566) ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิหนองบัวลำภู นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าอ่าวเบงกอลตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ขโมยจูบ! สาวแจ้งจับครูสอนดำน้ำสุดหื่น แทะโลม-ลวนลาม ใต้ท้องทะเลลึก นักท่องเที่ยวสาวจีน สุดทน แจ้งจับครูสอนดำน้ำสุดหื่น แชตแทะโลม ไล่จูบ ขณะเรียนดำน้ำลึก เกาะมาตากิง เมืองเซมปอร์นา มาเลเซีย ภาพ เพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "World Forum ข่าวสารต่างประเทศ" โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า "มาเลเซีย : ถูกจูบในน้ำลึก นักท่องเที่ยวจีนแจ้งความเอาผิดครูสอนดำน้ำ จูบเธอ 2 ครั้งในน้ำลึก รัฐซาบาห์ นักท่องเที่ยวจีน วัย 25 ปี เธอถูกจูบใต้น้ำลึกถึง 2 ครั้ง ที่แหล่งดำน้ำเกาะมาตากิงในเมืองเซมปอร์นา ตามที่เธอซื้อทัวร์ วันที่ 5 พฤษภาคม เวลาประมาณ 13.00 น. เธอแจ้งความวันที่ 6 ก่อนเดินทางกลับประเทศจีน ครูสอนดำน้ำผู้ต้องหา อายุ 27 ปี ทำงานเป็นไดฟ์มาสเตอร์อิสระ ถูกจับกุมในวันที่ 7 พ.ค. นอกจากจูบ 2 ครั้งแล้ว หลังทริปดำน้ำนักท่องเที่ยวหญิงจ่ายเงิน ด้วยการโอนเงิน ครูสอนดำน้ำได้แอดบัญชีวีแชท มาคุยแทะโลม ชวนออกไปข้างนอกไปหาเขาในคืนนั้น ต่อมาเธอได้นำหลักฐานการคุยแชต หลักฐานจากกล้องวิดีโอใต้น้ำ นำเรื่องราวทั้งหมดไปแจ้งความเอาผิด โดยได้โพสต์เรื่องราวในกลุ่มดำน้ำคนจีน และมีการแชร์จำนวนมาก" https://www.dailynews.co.th/news/2312697/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ทช.ตรวจสอบนักดำน้ำต่างชาติ โพสต์คลิปจับสัตว์แนวปะการัง พบเคยต้องโทษมาแล้วด้วย วันที่ 9 พฤษภาคม นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) กล่าวว่า จากกรณีที่มีการโพสต์คลิปวิดีโอโดย Paradise Flims by Attila Ott ในช่องทาง YouTube ใช้ชื่อว่าคลิปว่า Scuba diving in the paradise, Koh Phangan, Thailand เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อตรวจสอบในคลิปพบภาพผู้โพสต์กำลังดำน้ำในทะเลท้องที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้มือไปจับและสัมผัสปลาจิ้มฟันจระเข้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานจับหรือครอบครองปลาสวยงามโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งภายหลังจากที่ได้ทราบเรื่องทช.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคนเดิมที่เคยโดนดำเนินคดีเมื่อปี พ.ศ. 2563 กระทำความผิดฐานจับสัตว์ทะเลในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นมาถ่ายรูปเล่น หรือการประกอบกิจการใดๆ ในแนวปะการังที่อาจเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบต่อเต่าทะเล ปลาสวยงาม หรือทำให้หอยมือเสือ กัลปังหา ปะการัง ซากปะการัง หรือหินปะการัง ทำลายหรือเสียหาย ตามเลขคดีที่ 637/2563 ประจำวันข้อ 1 เวลา 16.30 น. ของวันที่ 1 กันยายน 2563 กระทั่งวันนี้ (9 พ.ค. 66) นายชลธิชาญ ผลทับทิม ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเกาะพะงัน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความแล้ว พร้อมตรวจสอบแล้วทราบว่า ชื่อ นายแอตติลา ออต สัญชาติฮังการี และได้เรียกตัวมาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในฐานความผิด ?จับหรือครอบครองปลาสวยงาม (ปลาจิ้มฟันจระเข้ สกุล (Genus) Tracyrhamphus) โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 45, 100 จากการสืบสวนบุคคลที่ถูกกล่าวหาของพนักงานสอบสวน พบว่าเป็นบุคคลเดียวกันที่เคยต้องคดีในลักษณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ในพื้นที่เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งถูกตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย และโดนผลักดันออกนอกราชอาณาจักรไปแล้ว ส่วนสาเหตุที่กลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีกนั้น ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาะพะงันให้ข้อมูลว่า บุคคลดังกล่าวได้ยื่นขออุทธรณ์ต่อตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาะพะงัน เพื่อขอกลับเข้ามาดูแลย่า ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มีอายุมาก และมีถิ่นพำนักในพื้นที่เกาะพะงัน ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาะพะงันจึงอนุญาตให้เข้ามาได้ ในส่วนคลิปภาพวิดีโอตามที่ลงโพสต์ในยูทูปครั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งว่าเป็นภาพเก่าซึ่งถ่ายไว้นานแล้ว ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเกาะพะงัน ได้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานและหลักฐานมาแสดงต่อหน้าพนักงานสอบสวนต่อไป สำหรับการดำเนินการในครั้งนี้ ทช.ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ตำรวจภูธรเกาะพะงัน และตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาะพะงัน ในการร่วมมือกันบูรณาการทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำผู้กระทำผิดมารับโทษ และที่สำคัญต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนที่ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลไม่ให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งถูกทำลาย ซึ่งหากพบเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก ให้รีบแจ้งเบาะแสมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร. 1362 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่จะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดำเนินการได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ตนขอเน้นย้ำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสความงามของธรรมชาติทางทะเล ให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของกรมฯ อย่างเคร่งครัด ไม่จับหรือสัมผัส ดูแต่ตา มืออย่าต้อง ไม่เอาอะไรกลับไปนอกจากรูปถ่ายและความทรงจำ ไม่ทิ้งอะไรไว้ นอกจากรอยเท้า ช่วยรักษาความสะอาด เพื่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลไทยจะคงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป "นายอภิชัย รรท.อทช. กล่าวทิ้งท้าย" https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_3970389
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
เตือนระวังแมงกะพรุนพิษบริเวณ 'ชายหาดชลาทัศน์-สมิหลา' สงขลา ยังคงมีการแจ้งเตือน เรื่องแมงกะพรุนพิษบริเวณชายหาดชลาทัศน์และชายหาดสมิหลาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงนี้ ชายฝั่งจังหวัดสงขลา ทะเลเรียบ มีคลื่นลมเพียงเล็กน้อย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งเตือนให้ระวังแมงกะพรุนพิษ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยไว้อย่างชัดเจน วันที่ 6 พ.ค.66 ที่บริเวณชายหาดชลาทัศน์และชายหาดสมิหลา อ.เมือง จ.สงขลา สภาพอากาศในวันนี้ทะเลเรียบ ท้องฟ้าโปร่งใส ทางเทศบาลนครสงขลามีการแจ้งเตือนประชาชนที่จะนำบุตรหลานลงเล่นน้ำทะเลเนื่องจากในช่วงนี้ทะเลเรียบ มีคลื่นลมเพียงเล็กน้อย เหมาะที่จะลงเล่นน้ำทะเล แต่ให้ระมัดระวังแมงกะพรุนพิษ บริเวณชายฝั่งริมชายหาดขณะลงเล่นน้ำทะเล โดยได้ทำแผ่นป้ายแจ้งเตือนขนาดใหญ่ ติดบริเวณแนวชายหาดชลาทัศน์และหาดสมิหลาเพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่มาท่องเที่ยวชายหาดทั้ง 2 แห่ง โดยมีข้อความว่า "แจ้งเตือนภัย!!! ระวังแมงกะพรุนพิษ บริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์และ เลี่ยงลงเล่นน้ำทะเล หากพบเจอห้ามจับ สำหรับผู้ที่ถูกพิษของแมงกะพรุน ให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูเท่านั้น ติดต่อสายด่วน 1132 1669 และ โทร 074-314245 ในขณะเดียวกัน ก็มีประชาชนนำบุตรหลานลงเล่นน้ำทะเลริมชายหาด เนื่องจากในช่วงนี้สภาพอากาศร้อน ริมชายหาดทะเลเรียบ มีคลื่นลมเพียงเล็กน้อย เหมาะที่จะลงเล่นน้ำทะเล มีผู้ปกครองคอยดูแลบุตรหลานอยู่บริเวณริมชายหาดอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งระมัดระวังแมงกะพรุนพิษ บริเวณชายฝั่งริมชายหาดขณะลงเล่นน้ำทะเลด้วย สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 สงขลา ฝากเตือนประชาชนที่ลงเล่นน้ำทะเล หากเจอแมงกะพรุนพิษเข้ามา ก็เลี่ยงที่จะไปสัมผัสมันและต้องคอยระวังแมงกะพรุนพิษ หากเล่นน้ำทะเลแล้วสงสัยว่าถูกแมงกะพรุนพิษ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เรียกให้คนช่วย หรือ เรียกรถพยาบาล (โทร. 1669) 2. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน 3. ห้ามขัดถู บริเวณที่ถูกแมงกะพรุน 4. ราดน้ำส้มสายชูให้ทั่วบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน นานอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด หรือน้ำเปล่า) 5. ในกรณีหมดสติไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ ถ้าไม่มีชีพจร ให้ปั๊มหัวใจก่อนราดน้ำส้มสายชู https://www.naewna.com/likesara/729006
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|